หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้าใจนิเวศเกษตรและหลักการทำเกษตรในประเทศไทยและสากล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PHPZ-389A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้าใจนิเวศเกษตรและหลักการทำเกษตรในประเทศไทยและสากล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ  ISCO-08

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง

3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม

2133 นักนิเวศวิทยา

2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความเข้าใจระบบนิเวศ สามารถวิเคราะห์ระบบนิเวศและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ สามารถวิเคราะห์วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินิเวศในพื้นที่ มีความเข้าใจในหลักการทำเกษตรยั่งยืนของประเทศไทยและสากล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มมาตรฐานอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ    

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
111

วิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร

1. เข้าใจความหมายและบทบาทหน้าที่ของระบบนิเวศ

111.01 150945
111

วิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร

2. วิเคระห์ระบบนิเวศในพื้นที่ทำเกษตร

111.02 150946
111

วิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร

3. วิเคราะห์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ทำเกษตร

111.03 150947
112

วิเคราะห์วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินิเวศในพื้นที่

 1. วิเคราะห์ชุมชนในพื้นที่ทำการเกษตร

112.01 150918
112

วิเคราะห์วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินิเวศในพื้นที่

2. ศึกษาภูมินิเวศและวัฒนธรรมท้องถิ่น

112.02 150919
113

เข้าใจหลักการทำเกษตรยั่งยืนในประเทศไทยและต่างประเทศ

1. เข้าใจแนวคิดการทำเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย
113.01 150942
113

เข้าใจหลักการทำเกษตรยั่งยืนในประเทศไทยและต่างประเทศ

2. อธิบายแนวคิดเกษตรยั่งยืนของต่างประเทศ
113.02 150943
113

เข้าใจหลักการทำเกษตรยั่งยืนในประเทศไทยและต่างประเทศ

3. ประยุกต์ใช้หลักการทำเกษตรยั่งยืน

113.03 150944

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการการคิดวิเคราะห์

-    ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักการทำเกษตร

-    ทักษะในการอธิบาย การเรียงลำดับขั้นตอน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในพื้นที่ทำเกษตร

-    ความรู้เกี่ยวกับภูมินิเวศและวัฒนธรรมท้องถิ่น

-    ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเกษตรยั่งยืนในประเทศไทยและสากล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    หลักฐานการทำงานกับชุมชนในท้องถิ่น (ถ้ามี)

-    หลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ (ถ้ามี)

-    เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เจ้าหน้าที่สอบพิจารณา) เช่น แบบบันทึกรายละเอียดการทำงานที่สอดคล้องกับ UOC (บันทึกด้วยตนเองพร้อมมีผู้รับรองเอกสาร) (ถ้ามี)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำเกษตรของประเทศไทย/สากล (ถ้ามี)

-    ใบรับรองผลการเรียน (ที่มีรายละเอียดหน่วยการเรียนสอดคล้องตาม UOC) (ถ้ามี)

-    เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เจ้าหน้าที่สอบพิจารณา) เช่น แบบบันทึกรายละเอียดการทำงานที่สอดคล้องกับ UOC (บันทึกด้วยตนเองพร้อมมีผู้รับรองเอกสาร) (ถ้ามี)



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-N/A-



(ง) วิธีการประเมิน

ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย

1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์

2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจนิเวศเกษตรของพื้นที่ วิเคราะห์ภูมินิเวศและวัฒนธรรมท้องถิ่น และแสดงถึงความเข้าใจในหลักการทำเกษตรยั่งยืนและการประยุกต์ใช้ สามารถอธิบายการทำเกษตรแบบพันธสัญญาได้ รูปแบบต่างๆ ข้อดีและข้อจำกัด และวิธีการทำเกษตรแบบพันธสัญญา



(ก)    คำแนะนำ 

- N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ลักษณะทางภูมินิเวศเกษตร เป็นการศึกษาอาณาเขตและภูมิประเทศ ลักษณะทิวเขา ลักษณะพื้นที่ราบ ลักษณะลุ่มน้ำและลำน้ำ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะดิน

การจัดแผนผังภูมินิเวศเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเชิงนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนเมืองและชุมชนชนบทของประเทศไทย มีการพัฒนาและจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามศักยภาพและความเหมาะสมทางภูมินิเวศ

ตัวอย่างระบบเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย 5 รูปแบบ 

-    เกษตรอินทรีย์ (Organic farming) เน้นการผลิตที่ไม่ใช้สารอนินทรีย์เคมี หรือเคมีสังเคราะห์ แต่สามารถใช้อินทรีย์เคมีได้ เช่น สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอมหรือสารสกัดชีวภาพเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ทรัพยากรดิน

-    เกษตรธรรมชาติ (Natural farming) เน้นการทำเกษตรที่ไม่รบกวนธรรมชาติ หรือรบกวนให้น้อยที่สุด โดยการไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และไม่กำจัดวัชพืช แต่สามารถมีการคลุมดินและใช้ปุ๋ยพืชสดได้

-    เกษตรทฤษฎีใหม่ (New theory agriculture) เน้นการจัดการทรัพยากรน้ำในไร่นาให้เพียงพอ

เพื่อผลิตพืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวเอาไว้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งมีการผลิตอื่น ๆ เพื่อบริโภคและจำหน่ายส่วนที่เหลือแก่ตลาด เพื่อสร้างรายได้อย่างพอเพียง

-    เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated farming) เน้นกิจกรรมการผลิตมากกว่าสองกิจกรรมขึ้นไปในเวลาเดียวกันและกิจกรรมเหล่านี้เกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินที่มีจำกัดในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

-    วนเกษตรหรือไร่นาป่าผสม (Agroforestry) เน้นการมีต้นไม้ใหญ่และพืชเศรษฐกิจหลายระดับที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อการใช้ประโยชน์ป่าไม้ของพืชหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน และเป็นการเพิ่มพื้นที่ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำกัดได้อีกทางหนึ่ง

เกษตรยั่งยืนในต่างประเทศ เช่น แนวคิดการทำเกษตรแบบ permaculture ของต่างประเทศ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก (ทดสอบความรู้ตามเกณฑ์การปฎิบัติงาน)

- ข้อสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์ 

 



ยินดีต้อนรับ