หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด/กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรและการทำสัญญา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-FDTE-390A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนด/กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรและการทำสัญญา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ ISCO-08        

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง

3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม

2133 นักนิเวศวิทยา

2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการทำเกษตรที่จำเป็น เข้าใจในหลักการทำเกษตรพันธสัญญา และสามารถทำเกษตรแบบพันธสัญญาได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถทำสัญญาซื้อขายผลผลิตทางการเกษตรได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มมาตรฐานอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ    

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    กฎหมายเกี่ยวกับพืช2.    กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์3.    กฎหมายเกี่ยวกับการทำประมง4.    กฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน -    พรบ. การขุดดินถมดิน พ.ศ. 2543-    พรบ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511-    พรบ. การปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 -    พรบ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524-    พรบ. พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551-    พรบ. จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 25585.    ข้อกำหนด/กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายผลผลิตทางการเกษตร6.    พรบ. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา7.    กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
121

มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการทำเกษตร

1. ระบุกฎหมายเกี่ยวกับพืช สัตว์ ประมง

121.01 150952
121

มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการทำเกษตร

2. ระบุกฏหมายเกี่ยวกับที่ดิน

121.02 150953
122

มีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรพันธสัญญา 

1. อธิบายลักษณะการทำเกษตรแบบพันธสัญญา

122.01 150948
122

มีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรพันธสัญญา 

2. ระบุข้อดี/ข้อเสียของการทำเกษตรแบบพันธสัญญา

122.02 150949
123

มีความรู้เกี่ยวกับการทำสัญญาชื้อขายผลผลิตทางการเกษตร

1. อธิบายความสำคัญในการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตทางการเกษตร

123.01 150950
123

มีความรู้เกี่ยวกับการทำสัญญาชื้อขายผลผลิตทางการเกษตร

2. ทำสัญญาซื้อขายผลิตผลิตทางการเกษตรได้

123.02 150951

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการอธิบาย การจัดลำดับความคิด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการทำเกษตรของประเทศไทย

- ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรพันธสัญญา

- ความรู้เกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายผลิตทางการเกษตร ข้อกำหนด/เงื่อนไขในสัญญา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- หลักฐานการทำเกษตรแบบพันธสัญา (ถ้ามี)

- หลักฐานสัญญาซื้อขายผลผลิตทางการเกษตร (ถ้ามี)



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- หลักฐานการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำเกษตรของประเทศไทย/สากล (ถ้ามี)

- หลักฐานการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตร (ถ้ามี)

- หลักฐานการอบรมเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบพันธสัญญา (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

-N/A-



(ง) วิธีการประเมิน

ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย

1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์

2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกสัมภาษณ์ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการทำเกษตรในประเทศไทยและสากล



(ก)    คำแนะนำ 

-N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตร ในหน่วยสมรรถนี้กล่าวถึงเฉพาะกฎหมายที่เป็นองค์ประกอบของการทำงานของนักออกแบบนิเวศระบบเกษตร ประกอบด้วย กฎหมายเกี่ยวกับพืช กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ กฎหมายเกี่ยวกับการประมง และกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน เป็นต้น

การทำเกษตรแบบพันธสัญญา เป็นการทำเกษตรแบบมีข้อตกลงล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร ระหว่างเกษตรกรกับว่าว่าจ้าง โดยต้องดำเนินการภายใต้ข้อกำหนด/เงื่อนไขของผู้ว่าจ้าง ตามรายละเอียดที่ตกลงไว้มีทั้งข้อดีและข้อเสียโดยแบ่งเป็น 



ข้อดี/ข้อเสียของการทำเกษตรแบบพันธสัญญา

-    ต่อเกษตรกร มีข้อดี เช่น ได้รับการสนับสนุนปัจจัยในการผลิตต่างๆ มีหลักประกันราคาผลผลิตและตลาด ในการรับซื้อผลผลิตทางการเกตร ทำให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอน ข้อเสีย เช่น ขาดอำนาจในการเจรจาต่อรอง 

-    ต่อผู้ว่าจ้าง ข้อดี เช่น บริหารจัดการผลิตได้ตามเป้าหมาย ลดความเสี่ยงด้านปริมาณและคุณภาพของวัตถุดิบ และข้อเสีย เช่น มีความเสี่ยงจากการละเมิดสัญญาของเกษตรกรผู้รับจ้าง และไม่สามารถจัดการหรือควบคุมพื้นที่การผลิตของเกษตรกรผู้รับจ้างได้

การทำสัญาซื้อขายผลลิตทางการเกษตร สามารถอธิบายความสำคัญของหัวข้อต่างๆ ในสัญญาได้ เช่น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญา ระยะเวลา รายละเอียดต่างๆ หน้าที่ของคู่สัญญา ราคา เงื่อนไขการชำระเงิน ข้อปฎิบัติกรณีเหตุสุดวิสัย การบอกเลิกสัญญา เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก (ทดสอบความรู้ตามเกณฑ์การปฎิบัติงาน)

-    ข้อสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ