หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการตลาดผลผลิตทางการเกษตร เบื้องต้น

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PPWB-402A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการตลาดผลผลิตทางการเกษตร เบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ   ISCO-08    

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง

3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม

2133 นักนิเวศวิทยา

2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจสอบสินค้าและราคาผลผลิตทางการเกษตร จัดหาช่องทางการขายสินค้าเกษตร สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ทงการเกษตรได้ในเบื้องต้น มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตรสาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ     

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548- พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561)- พรบ. คอมพิวเตอร์- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558- มาตรฐานสินค้าปศุสัตว์         ระดับฟาร์ม: มาตรฐานฟาร์ม (GAP) ปศุสัตว์อินทรีย์ (GFM)         ระดับโรงงาน/โรงฆ่าสัตว์: ใบอนุญาต (ฆจส. 2) GMP, HACCP, มาตรฐานโรงงานส่งออก         ระดับสถานที่จัดจำหน่าย: ใบอนุญาต (ร.10) ปศุสัตว์- มาตรฐานฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม GOOD FARMING MANAGEMENT (GFM)- มาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเกษตร 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
511

ตรวจสอบสินค้าและราคาผลผลิตทางการเกษตร

1. สำรวจตลาดผลผลิตทางเกษตรที่ต้องการขาย

511.01 151049
511

ตรวจสอบสินค้าและราคาผลผลิตทางการเกษตร

2. สำรวจราคาผลผลิตทางการเกษตร

511.02 151050
511

ตรวจสอบสินค้าและราคาผลผลิตทางการเกษตร

3. สรุปข้อมูลสินค้าเกษตร (ปริมาณราคา)

511.03 151051
512

จัดหาช่องทางการขายและขายสินค้าเกษตร

1. สำรวจช่องทางการขายสินค้าและวิเคราะห์ข้อได้เปรียบของแต่ละช่องทาง

512.01 151052
512

จัดหาช่องทางการขายและขายสินค้าเกษตร

2. รวมรวมผลผลิตทางการเกษตรที่มีและจากเครือข่าย

512.02 151053
512

จัดหาช่องทางการขายและขายสินค้าเกษตร

3. เลือกช่องทางการขายและวิธีการขนส่งสินค้าเกษตรที่เหมาะสม

512.03 151054
513

แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเบื้องต้น

1. อธิบายหลักการแปรรูปผลผลิตการเกษตร

513.01 151055
513

แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเบื้องต้น

2. แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการถนอมอาหาร

513.02 151056
513

แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเบื้องต้น

3. แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า ในเบื้องต้น

513.03 151057
514

มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร

1. ปฎิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตร

514.01 151058
514

มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร

2. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตร

514.02 151059

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการสืบค้นข้อมูล

- ทักษะในการคิดประยุกต์ วิเคราะห์ วางแผน

- ทักษะการสื่อสาร และประสานงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับราคาสินค้าทางการเกษตร

- ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการขายสินค้าทางการเกษตร

- ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในเบื้องต้น

- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตร/กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตร ที่เกี่ยวข้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-N/A-



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำเกษตรของประเทศไทย/สากล 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

-N/A-





(ง) วิธีการประเมิน

    ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย

1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์

2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกสัมภาษณ์ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะ 



(ก)    คำแนะนำ 

-N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

- แปรรูผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเบื้องต้น เป็นการแปรรูปเพื่อการถนอมอาหาร หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าอย่างง่าย กระบวนการไม่ซับซ้อน เกษตรกรสามารถทำได้เอง ไม่มีขั้นตอนการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ซับซ้อน

- การถนอมอาหาร เป็นการแปรรูปเพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน เช่น การใช้ความร้อน การหมักโดยเกลือ การตากแห้ง เป็นต้น

- การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในเบื้องต้น เป็นการแปรรูปเพื่อการขายสินค้า โดยต้องมีการรักษาความสะอาดของการแปรรูปให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ มีการบรรจุลงหีบห่อและภาชนะบรรจุเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การแปรรูปผลปลาสลิดพร้อมรับประทาน การทอด เช่นถั่วทอด การหมักน้ำผลไม้ให้เป็นไวน์ การดอง เช่น มะม่วง มะยม

- มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึงปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร ไม่ขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฟาร์ม การใช้สารเคมี แรงงานและสวัสดิการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกษตรกรหรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องควรปฎิบัติตาม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- ข้อข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

- ข้อสัมภาษณ์ สัมภาษณ์ตามหัวข้อย่อยและเกณฑ์การประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ