หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดขอบเขตการทำเกษตรและวางแผนการใช้พื้นที่อย่างยั่งยืน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-CFSA-391A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดขอบเขตการทำเกษตรและวางแผนการใช้พื้นที่อย่างยั่งยืน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ     ISCO-08    

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง

3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม

2133 นักนิเวศวิทยา

2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถกำหนดขอบเขตในการทำเกษตรได้ตามความต้องการ กำหนดระบบเกษตรได้ตามความต้องการ สำรวจพื้นที่เพื่อทำเกษตรและกำหนดชนิดพันธุ์และสัตว์ในพื้นที่ทำเกษตร และวางแผนการใช้พื้นที่ในการทำเกษตรได้อย่างยั่งยืน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตรสาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- กฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน ประกอบด้วย        พรบ. การขุดดินและถามดิน พ.ศ. 2543        พรบ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511        พรบ. การปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518         พรบ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524        พรบ. พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551        พรบ. จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535- กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
211

กำหนดระบบเกษตรที่เจ้าของที่ดินต้องการ

1. รวบรวมข้อมูลความต้องการทำเกษตร

211.01 150954
211

กำหนดระบบเกษตรที่เจ้าของที่ดินต้องการ

2. วิเคราะห์ข้อมูลสภาพพื้นที่และระบบเกษตรที่เจ้าของที่ดินต้องการ

211.02 150955
211

กำหนดระบบเกษตรที่เจ้าของที่ดินต้องการ

3. กำหนดระบบเกษตรในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่และตามความต้องการ

211.03 150956
212

สำรวจพื้นที่เพื่อทำเกษตร กำหนดพันธ์พืชและสัตว์ในพื้นที่ทำเกษตร

1. สำรวจพื้นที่เพื่อทำเกษตร

212.01 150957
212

สำรวจพื้นที่เพื่อทำเกษตร กำหนดพันธ์พืชและสัตว์ในพื้นที่ทำเกษตร

2. วิเคราะห์ลักษณะพันธ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมกับพื้นที่

212.02 150958
212

สำรวจพื้นที่เพื่อทำเกษตร กำหนดพันธ์พืชและสัตว์ในพื้นที่ทำเกษตร

3. กำหนดชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ในพื้นที่ระบบเกษตร

212.03 150959
213

วางแผนการใช้พื้นที่ในการทำเกษตรอย่างยั่งยืน

1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

213.01 150960
213

วางแผนการใช้พื้นที่ในการทำเกษตรอย่างยั่งยืน

2. วางแผนการใช้พื้นที่ในการทำเกษตรอย่างยั่งยืน

213.02 150961

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักการเกษตรกับการทำงาน

- ทักษะในการวิเคราะห์พื้นที่ วางแผน

- ทักษะการคิดเชิงภูมิสังคม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตร เช่น กฎหมายที่ดิน

- ความรู้เกี่ยวกับลักษณะพื้นที่ พืช สัตว์ ประมง ในพื้นที่

- ความรู้เกี่ยวกับระบบเกษตร

- ความรู้เกี่ยวกับการทำฟาร์มเกษตร

- ความรู้เกี่ยวกับภูมิสังคม (Geosocial)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ เช่น การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดขอบเขตการทำเกษตร และการวางแผนการใช้พื้นที่ (ถ้ามี)

- หลักฐานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบเกษตร (ถ้ามี)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- หลักฐานการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำเกษตรของประเทศไทย/สากล (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

-N/A-



(ง) วิธีการประเมิน

    ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย

1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์

2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกสัมภาษณ์ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะ โดยต้องสามารถวางแผนการใช้พื้นที่อย่างยั่งยืน โดยที่ลูกค้าเป็นผู้เลือกระบบเกษตรเองตามความต้องการ



(ก)    คำแนะนำ 

-N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ระบบเกษตรที่เจ้าของที่ดินต้องการ ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง การทำเกษตรตามแนวคิดการทำเกษตรในประเทศไทยและสากล เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เป็นต้น หรืออาจจะเป็นระบบการทำเกษตรอื่นๆ เช่นแบบผสม ซึ่งเจ้าของที่ดินจะเป็นผู้กำหนดระบบเกษตรตามวัตถุประสงค์ และนักออกแบบระบบนิเวศเกษตร จะเป็นผู้ออกแบบตามความต้องการของเจ้าของที่ดิน โดยเพิ่มเติมรายละเอียดและวางแผนในการทำเกษตรอย่างยั่งยืนตามต้องการของลูกค้า เช่น ชนิดพันธุ์พืช พันธ์สัตว์ ลักษณะฟาร์ม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่   

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก (ทดสอบความรู้ตามเกณฑ์การปฎิบัติงาน)

-    ข้อสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ