หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช

สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ BIT-QGVH-029A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO 1321 นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถเก็บรักษาในสภาพของเมล็ด เก็บรักษาในสภาพของเนื้อเยื่อพืช และเก็บรักษาพืชด้วยไนโตรเจนเหลวในสภาพแช่แข็ง (Cryopreservation) ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
อาชีพนักเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20204.01 คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ 1. ตรวจสอบสภาพของเมล็ดที่เตรียมไว้ 20204.01.01 88808
20204.01 คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ 2. จัดเก็บเมล็ดตามวิธีที่กำหนด 20204.01.02 88809
20204.02 เก็บรักษาในสภาพของเนื้อเยื่อพืช 1. ตรวจสอบลักษณะของเนื้อเยื่อพืชที่เตรียมไว้ 20204.02.01 88810
20204.02 เก็บรักษาในสภาพของเนื้อเยื่อพืช 2. จัดเก็บเนื้อเยื่อพืชตามวิธีที่กำหนด 20204.02.02 88811
20204.03 เก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิแช่แข็ง (Cryopreservation) 1. จัดเตรียมตัวอย่างพืชก่อนการจัดเก็บ 20204.03.01 88812
20204.03 เก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิแช่แข็ง (Cryopreservation) 2. ดำเนินการจัดเก็บตัวอย่างในสภาพแช่แข็งตามวิธีที่กำหนด 20204.03.02 88813

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะในการตรวจสอบสภาพของเมล็ด



- มีทักษะในการจัดเก็บเมล็ดตามวิธีที่กำหนด



- มีทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดเก็บเมล็ดพืชและเนื้อเยื่อ



- มีทักษะในการจัดเก็บพืชในสภาพแช่แข็ง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้ในการเก็บรักษาในสภาพของเมล็ด



- มีความรู้ในการเก็บรักษาในสภาพของเนื้อเยื่อพืช



- มีความรู้ในการเก็บรักษาพืชในสภาพแช่แข็ง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)
 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน หรือ
2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือ
3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือ
4. ผลการสังเกตการณ์จากการปฏิบัติงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ผลการทดสอบความรู้ หรือ
2. ผลการสัมภาษณ์ หรือ
3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น
2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกหรืออัตนัย ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



    1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และความสามารถในการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชแต่ละชนิดตามกระบวนการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย



    2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



    1. เมล็ดพันธุ์ หมายถึง ส่วนของพืชสำหรับนำไปขยายพันธุ์แล้วจะได้ต้นที่เจริญงอกงามตรงตามลักษณะของพืชนั้น



    2. เนื้อเยื่อพืช หมายถึง กลุ่มของเซลล์พืชชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันที่มาทำงานร่วมกันภายใต้โครงสร้างหรืออวัยวะต่างๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ



    3. สาร cryoprotectant หมายถึง สารที่ป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งโดยลดจุดเยือกแข็ง (freezing point) ให้ต่ำลง ตัวอย่างเช่น ทรีฮาโลส (trehalose) น้ำตาลซูโครส (sucrose) กลีเซอรอล (glycerol)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ข้อสอบปรนัย



ยินดีต้อนรับ