หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตกแต่งและช่วยผ่าศพ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-UMVJ-404A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตกแต่งและช่วยผ่าศพ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 5163) นักดูแลเกี่ยวกับศพ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ตรวจสอบและเตรียมความพร้อมของพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับการชันสูตรศพ ตรวจสภาพและทำความสะอาดศพ รวมทั้งช่วยแพทย์ผ่าและตกแต่งศพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักดูแลเกี่ยวกับศพ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10607.01

เตรียมวัสดุ อุปกรณ์  สำหรับการชันสูตรศพ

1. ตรวจสอบและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน

10607.01.01 149851
10607.01

เตรียมวัสดุ อุปกรณ์  สำหรับการชันสูตรศพ

2. เตรียมพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการชันสูตรศพ 

10607.01.02 149852
10607.02

เป็นผู้ช่วยแพทย์ในการชันสูตรศพ

1. ตรวจสอบสภาพทั่วไป ภายนอก ร่องรอยบาดแผลต่างๆ ของศพก่อนการชันสูตร

10607.02.01 149853
10607.02

เป็นผู้ช่วยแพทย์ในการชันสูตรศพ

2. ทำความสะอาดศพก่อนชันสูตร

10607.02.02 149854
10607.02

เป็นผู้ช่วยแพทย์ในการชันสูตรศพ

3. ช่วยเหลือแพทย์ในการผ่าศพ

10607.02.03 149855
10607.03

ตกแต่งบาดแผล เย็บศพให้เข้าสภาพเดิม

1. ทำความสะอาดศพหลังการชันสูตร 

10607.03.01 149856
10607.03

ตกแต่งบาดแผล เย็บศพให้เข้าสภาพเดิม

2. ตกแต่งบาดแผลของศพให้เรียบร้อย

10607.03.02 149857

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการตกแต่งและทำความสะอาดบาดแผล



 2. มีทักษะในการผ่าศพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับการตกแต่งและทำความสะอาดบาดแผล



          2. มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผ่าศพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1. แสดงวิธีตกแต่งและทำความสะอาดบาดแผล



     2. แสดงวิธีการเย็บบาดแผลอย่างเป็นระเบียบ



     3. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ



     4. ผลการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1. ความรู้เรื่องการตกแต่งและทำความสะอาดบาดแผล



     2. ความรู้เรื่องการเย็บบาดแผล



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการ



รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือกหรืออัตนัย



ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนจำลองสถานการณ์ภายใต้การจำลอง



สถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับ



การตกแต่งศพและตกแต่งหรือช่วยแพทย์ในการชันสูตรศพได้ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย



2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ใน



หน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



   1. ชันสูตร หมายถึง ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุหรือหลักฐานข้อเท็จจริง



   2. อุปกรณ์ที่ใช้ชันสูตรศพ หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องช่วย หรือเครื่องประกอบสำหรับการนำไปใช้เพื่อผ่าศพ เช่น เลื่อยมือ  เลื่อยไฟฟ้า  กรรไกร มีด  ผ้ากันเปื้อน  แว่นป้องกันตา  รองเท้าบู๊ท และพลาสติกห่อศพ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้



2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน  



3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ