หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำรายงานแนวโน้มของกระแสนิยม พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อตอบสนองการตลาดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AP8B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำรายงานแนวโน้มของกระแสนิยม พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อตอบสนองการตลาดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สามารถประเมินเพื่อแก้ไขวิกฤตปัญหาขององค์กร กำหนดทิศทางและอนาคตและเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรจากความรู้ในการออกแบบและคัดเลือกงานที่ดีคุ้มค่าได้ได้อย่างเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ  รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกระแสนิยมเพื่อใช้ในการนำเสนอ เข้าใจทิศทาง การออกแบบในอดีต ปัจจุบันและอนาคตของการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เข้าใจหลักการทฤษฏีในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สืบค้นและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เข้าใจหลักการออกแบบ และหลักการผลิตในระบบอุตสาหกรรมอย่างชำนาญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป เช่น  Toy Testing EN71, ASTM, DIN, JIT เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AP8B1 จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1. รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกระแสนิยมเพื่อใช้ในการนำเสนอ 150850
AP8B1 จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2. เข้าใจทิศทาง การออกแบบในอดีต ปัจจุบันและอนาคตของการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 150851
AP8B1 จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3. จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมแนวโน้มของการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 150852
AP8B2 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวงการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1. เข้าใจหลักการทฤษฏีในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 150853
AP8B2 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวงการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2. สืบค้นและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 150854
AP8B2 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวงการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3. จัดทำรายงานรวบรวมหลักการและข้อมูลจากการสืบค้น 150855
AP8B3 ถ่ายทอดเรื่องวัสดุ ประยุกต์ใช้หรือหาวัสดุทดแทนปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1.สร้างสภาวะแวดล้อมของสถานที่ในทำงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 150856
AP8B3 ถ่ายทอดเรื่องวัสดุ ประยุกต์ใช้หรือหาวัสดุทดแทนปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2. เลือกใช้วัสดุใหม่สามารถลดต้นทุนและเหมาะสมกับการผลิต 150857
AP8B4 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต 1. สามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบเป็นขั้นตอน 150858
AP8B4 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต 2. เข้าใจหลักการออกแบบ และหลักการผลิตในระบบอุตสาหกรรมอย่างชำนาญ 150859
AP8B4 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต 3. ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต 150860
AP8B4 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต 4. แนะนำแก้ปัญหาในการผลิตกับทีม 150861
AP8B5 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบแนวคิดที่ซับซ้อน 1.ถ่ายทอดหลักการการออกแบบแนวคิดที่ซับซ้อน 150862
AP8B5 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบแนวคิดที่ซับซ้อน 2. พัฒนาต่อยอด เพิ่มประโยชน์จากการวิเคราะห์การใช้งานของผู้ใช้ 150863
AP8B5 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบแนวคิดที่ซับซ้อน 3. สร้างลูกเล่นในการใช้งานเหมะสมกับการตลาด 150864

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกระแสนิยมเพื่อใช้ในการนำเสนอ เข้าใจทิศทาง การออกแบบในอดีต ปัจจุบันและอนาคตของการออกแบบ สร้างสภาวะแวดล้อมของสถานที่ในทำงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบเป็นขั้นตอน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำและตรวจสอบรายงาน

2. การจัดทำเป้าหมายการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

3. เทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)

          1. เอกสารรายงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

          2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง

          3. แฟ้มสะสมงาน

(ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).

          1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

          2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระดับ 5 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพทดสอบโดย การสัมภาษณ์นำเสนอผลงาน (Presentation) ที่มาจากประสบการณ์ในการทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยมีผลงาน,ประวัติการทำงานในเชิงประจักษ์และเป็นที่ยอมรับโดย คัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกในหลายๆด้านและมีความน่าเชื่อถือและคัดกรอง(เป็นการมอบให้จากการสมัครแต่ไม่จำเป็นต้องมีผู้ผ่านการคัดเลือกและสามารถสอบคัดเลือกจากการคัดกรองพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ)

          2. ผู้ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพด้านอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระดับ 5 ไม่สามารถเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้อีกถือว่าระดับนี้เป็นระดับสูงสุด

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาหลักฐานความรู้

          2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด


          - วัฒนธรรมกระแสนิยม หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม โดยวัฒนธรรมสมัยนิยม มักจะมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง

          - แหล่งที่มาของข้อมูล หมายถึง  เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์ ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง

          - สร้างบรรยากาศและการจัดสภาวะแวดล้อม หมายถึง เป็นสภาวะอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม แล้วส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคล เป็นสภาพการณ์ที่ไม่อาจมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่เป็นภาพสะท้อนทางความรู้สึกของบุคคล เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศดี" ในทางตรงกันข้าม เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศไม่ดี"

          - ทดสอบการประเมินผลิตภัณฑ์ หมายถึง ก่อนที่สินค้าทุกชิ้นจะได้รับการประทับโลโก้ จะต้องสามารถนำมาใช้ได้ มันต้องพิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดนี่เป็นสิ่งที่เราปฏิบัติก่อนวางตลาด และต้องพัฒนาเครื่องจักร สำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างแท้จริงเครื่องจักรนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของธรรมเนียมปฏิบัติ ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นวิธีการหลักก่อนติดแบรนด์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          18.1 ข้อสอบสัมภาษณ์ เป็นข้อสอบที่วัดความรู้ หลักการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การบริหารบุคคลและการบริหารอุตสาหกรรม

          18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ หลักการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การบริหารบุคคลและการบริหารอุตสาหกรรม



ยินดีต้อนรับ