หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำภาพ 3 มิติ เพื่อการนำเสนอและเพื่อประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AP88

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำภาพ 3 มิติ เพื่อการนำเสนอและเพื่อประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการออกแบบและประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้นำไปเพื่อพัฒนาองค์กร มีทักษะองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ สามารถวิเคราะห์แนวโน้ม ความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และการตลาดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นอย่างดี มีความชำนาญการทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสามารถเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำปรึกษากับผู้ร่วมงานได้ ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ SolidWorks,Rhinoceros,AutoCAD,3ds Max,SketchUp, Adobe หรือโปรแกรมเทียบเท่า ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในทางด้านGraphic design เพื่อการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและชำนาญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์ 2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
           การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป เช่น  Toy Testing EN71, ASTM, DIN, JIT เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AP881 จัดทำภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรม ด้วยประมวลผลภาพเป็น Jpeg. png. หรือสกุลไฟล์ใกล้เคียง 1. กำหนดรูปแบบงานออกแบบของเล่นที่เป็นลักษณะงาน 3 มิติจากใช้โปรแกรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ AP881.01 150810
AP881 จัดทำภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรม ด้วยประมวลผลภาพเป็น Jpeg. png. หรือสกุลไฟล์ใกล้เคียง 2. สามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหา ในการออกแบบของการเขียนแบบ ออกแบบงาน 3มิติเพื่อการนำเสนอ AP881.02 150811
AP881 จัดทำภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรม ด้วยประมวลผลภาพเป็น Jpeg. png. หรือสกุลไฟล์ใกล้เคียง 3 เลือกมุมมอง จัดแสง เงาและสามารถนำเสนอลูกค้า AP881.03 150812
AP882 จัดการประชุมเพื่อนำเสนอภาพ 3 มิติ ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1. จัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นจากฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ AP882.01 150813
AP882 จัดการประชุมเพื่อนำเสนอภาพ 3 มิติ ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในทางด้านGraphic designเพื่อการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและชำนาญ AP882.02 150814
AP882 จัดการประชุมเพื่อนำเสนอภาพ 3 มิติ ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. มีความสามารถในการพูดเพื่อโน้มน้าวและนำเสนอ AP882.03 150815
AP883 จัดประชุมเพื่อชี้แจง ร่วมวางแผนการผลิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1. จัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นจากฝ่ายผลิตเพื่อหาวิธีการในการผลิต AP883.01 150816
AP883 จัดประชุมเพื่อชี้แจง ร่วมวางแผนการผลิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2.เข้าใจขั้นตอนกระบวนการในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม AP883.02 150817
AP883 จัดประชุมเพื่อชี้แจง ร่วมวางแผนการผลิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. สรุปผล แนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับทีมงาน AP883.03 150818
AP884 นำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคา 1. เลือกใช้วัสดุและลดต้นทุนในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม AP884.01 150819
AP884 นำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคา 2. คิดประมาณราคา ต้นทุนและเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ AP884.02 150820
AP884 นำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคา 3. นำเสนอราคา ประมาณราคานำเสนอลูกค้าเหมาะสม AP884.03 150821
AP885 ขึ้นต้นแบบ (mock up) ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1.สร้างโมเดลต้นแบบได้ตรงตามภาพ 3 มิติโดยเลือกใช้วัสดุได้เหมาะสม AP885.01 150822
AP885 ขึ้นต้นแบบ (mock up) ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2. เข้าใจกระบวนการสร้างต้นแบบ 3 มิติและแก้ปัญหา AP885.02 150823
AP885 ขึ้นต้นแบบ (mock up) ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3.เลือกวัสดุเหมาะสมกับการสร้างต้นแบบเข้าใจเทคนิคในการสร้างต้นแบบและเก็บงานสีผิว AP885.03 150824

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

         ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ SolidWorks,Rhinoceros,AutoCAD,3ds Max,SketchUp, Adobe หรือโปรแกรมเทียบเท่า เลือกใช้วัสดุและลดต้นทุนในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้อย่างชำนาญและถูกต้อง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำและตรวจสอบรายงาน



2. การจัดทำเป้าหมายการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



3. เทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

             หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



      1. เอกสารรายงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



       2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



       3. แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).



       1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



       2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



        1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระดับ 6 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 4 ทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (Presentation)  สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ จัดลำดับขั้นตอนวางผังการทำงานของเครื่องจักรในระบบการผลิตในอุตสาหกรรมพร้อมแก้ปัญหา)



(ง) วิธีการประเมิน



      1. พิจารณาหลักฐานความรู้



      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



        N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          - จัดทำภาพ3 มิติ หมายถึง ภาพที่สามารถแสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งรูปร่างและรูปทรง  ลักษณะการประกอบกันอยู่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ (ภาพประกอบ)  แต่ละชิ้น  ทั้งหมดในภาพเดียวกันทั้งหมด  สามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ภาพ  3  มิติ  สามารถเขียนได้หลายแบบ  ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความเหมาะสมแต่ละแบบ  ซึ่งภาพ 3  มิติ  สามารถแบ่งออกเป็น  3  ประเภทใหญ่ คือ 1. ภาพแอกโซโนเมตริก  (Axonometric)  2. ภาพออบลิค  (Oblique)  

เป็นภาพที่มุมเอียงด้านเดียว 3.  ภาพทัศนียภาพ  (Perspective)



          - การเลือกใช้โปรแกรมประมวลภาพ 3 มิติ :  การเลือกโปรแกรมนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับงานที่ออกแบบด้วย เพราะในตอนนี้

มีโปรแกรมสำหรับออกแบบโมเดล 3 มิติมากมาย ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้กับงานออกแบบในเฉพาะด้าน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอยากออกแบบงานที่เกี่ยวกับ เครื่องจักรและกลไก ก็เลือกโปรแกรมจำพวก Solid work หรือ AutoCAD Inventor ถ้าออกแบบงานปั้นโมเดลรูปเหมือนหรือการทำ Animation ก็ไปทางสายโปรแกรม  Z Brush หรือไม่ก็ Maya โปรแกรมชนิดนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีเครื่องมือในการขึ้นรูปให้เหมาะกับงานที่ออกแบบ แต่ถ้าใครอยากได้โปรแกรมที่ครอบคลุมเกือบทุกด้าน ก็ต้องไปใช้โปรแกรม Rhino ซึ่งจะมี Plug in หรือส่วนเสริมมาให้ใช้มากมาย สำหรับการออกแบบ ส่วนตัวผู้เขียนนั้น จะถนัดไปทางด้าน เครื่องจักรและกลไก ก็จะเลือกโปรแกรมจำพวก On shape หรือ Solid Work ในการออกแบบ ดังนั้นการจะเลือกโปรแกรมออกแบบหรืออยากจะเรียนโปรแกรมออกแบบ 3 มิติ เราก็ควรจะต้องรู้แนวของตัวเองก่อนว่าจะไปทางด้านไหน ก็ให้เลือกโปรแกรมที่ถูกพัฒนามาให้ถูกด้าน เพราะจะทำให้การออกแบบโมเดล 3 มิตินั้นง่ายและรวดเร็วมากขึ้น



           - นำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคา หมายถึง การคำนวณหาปริมาณวัสดุ ค่า แรงและค่าดำเนินการที่ราคาใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด ในการแยกรายการวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายเครื่องมือเครื่องจักร และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานโดยมีผลกับตัวแปรตามในด้านระยะเวลาของการทำงาน ดังนั้นการประมาณราคาจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริง แต่อาจใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งไม่ควรจะผิดพลาดไปจากราคาที่แท้จริงเกินกว่า 10 %



           - จัดทำโมเดลต้นแบบ หมายถึง การสร้างต้นแบบเสมือนจริงโดยใช้วัสดุ และการทำสีตกแต่งให้สวยเหมือนกับของจริงและทำให้ลูกค้าหรือผู้ซื้อเข้าใจงานผลิตภัณฑ์มากขึ้น



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้ หลักการใช้โปรแกรม และขั้นตอนในการสร้างต้นแบบ เรื่องการเลือกใช้วัสดุ



18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ หลักการใช้โปรแกรม และขั้นตอนในการสร้างต้นแบบ เรื่องการเลือกใช้วัสดุ



ยินดีต้อนรับ