หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียน shop drawing และรายการประกอบแบบเพื่อใช้ในการสั่งผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AP83

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียน shop drawing และรายการประกอบแบบเพื่อใช้ในการสั่งผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

 นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีทักษะในการปฏิบัติงาน  ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ ภาพ 2 มิติ SolidWorks, AutoCAD, ,SketchUp, Adobe หรือโปรแกรมเทียบเท่า เพื่อใช้ในการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเลือกใช้สัญลักษณ์ในการเขียนแบบอย่างถูกต้อง ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้วได้ หุ่น นิ้ว ฟุต มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
       การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป เช่น  Toy Testing EN71, ASTM, DIN, JIT เป็นต้น 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AP831 เขียนแบบ 2 มิติ และระบุรายละเอียด 1. เลือกใช้สัญลักษณ์ในการเขียนแบบอย่างถูกต้อง AP831.01 150752
AP831 เขียนแบบ 2 มิติ และระบุรายละเอียด 2. ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ ภาพ 2 มิติ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม AP831.02 150753
AP831 เขียนแบบ 2 มิติ และระบุรายละเอียด 3. เลือกมุมมองการจัดแสง เงาเหมาะสมและสามารถนำเสนอลูกค้าได้ AP831.03 150754
AP832 เขียนแบบ 3 มิติ ตามระบบการเขียนแบบ 1. ใช้โปรแกรม ในการ ออกแบบภาพ 3 มิติ ถอดชิ้นส่วนเพื่อใช้ในการผลิต AP832.01 150755
AP832 เขียนแบบ 3 มิติ ตามระบบการเขียนแบบ 2 ทำตารางรายการประกอบแบบ เพื่อใช้ในการผลิต สั่งวัสดุ AP832.02 150756
AP833 ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้ว 1 ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้วได้ หุ่น นิ้ว ฟุต มิลลิเมตร เซนติเมตรเมตร AP833.01 150757
AP833 ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้ว 2 แปลงหน่วยวัดและระบุหน่วยในการบอกขนาดเหมาะสมในการผลิต AP833.02 150758

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ ภาพ 2 มิติ SolidWorks, AutoCAD, ,SketchUp, Adobe หรือโปรแกรมเทียบเท่า เพื่อใช้ในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม เลือกใช้สัญลักษณ์ในการเขียนแบบอย่างถูกต้อง ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้วได้ หุ่น นิ้ว ฟุต มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำและตรวจสอบรายงาน



2. การจัดทำเป้าหมายการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



3. เทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



      1. เอกสารรายงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



      2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



     3. แฟ้มสะสมงาน



 (ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).



     1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม



     2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



      1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระดับ 3 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 3 ทุกหน่วยสมรรถนะทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (รูปเล่ม) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ idea Sketch)



 (ง) วิธีการประเมิน



    1. พิจารณาหลักฐานความรู้



    2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



           - การเขียนแบบเพื่อผลิต หมายถึง  การถ่ายทอดความคิดของผู้ออกแบบลงบนกระดาษอย่างเป็นระเบียบ  แบบแผน   เพื่อให้บุคคลได้เข้าใจโดยไม่จำกัดระยะเวลาในการศึกษาทำความเข้าใจ การเขียนแบบเป็นภาษาอย่างหนึ่งที่ใช้กันในงานช่างหรืองานอุตสาหกรรม  เป็นภาษาที่ถ่ายทอดความคิดหรือความต้องการของผู้ออกแบบไปให้ผู้อื่นได้ทราบ   และเข้าใจได้อย่างถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน   โดยแบบที่เขียนขึ้นจะเป็นสื่อกลางที่จะนำความคิดไปสร้างได้อย่างถูกต้อง   อันจะเป็นการประหยัดและได้งานที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการ   อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ตรงกันการเขียนแบบจะต้องเป็นภาษาสากล  โดยเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์   และรูปแบบต่าง ๆ   จะต้องเข้าใจได้ง่าย   แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาวิชาเขียนแบบก็สามารถเข้าใจได้พอสมควร



            เขียนแบบ 3 มิติ ตามระบบการเขียนแบบ Bill of Material (BOM) หมายถึง โครงสร้างสินค้าหรือสูตรการผลิตเป็นข้อมูลสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิต จะแสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ ส่วนประกอบ จำนวนส่วนประกอบ รายการสิ่งที่ผลิตขึ้นจากส่วนการประกอบ รายการวัตถุดิบ ซึ่งเป็นรายการที่สำคัญเพื่อแสดงในการผลิตต่อสินค้า หนึ่งหน่วย



            มาตรฐานในการเขียนแบบ หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงกันระหว่างผู้ผลิต  และผู้ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับขนาดรูปร่าง น้ำหนัก  และส่วนผสมของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำการผลิตขึ้นจากแหล่งผลิตต่าง ๆ ให้มีคุณสมบัติและคุณภาพเหมือนกันสามารถนำมาใช้สับเปลี่ยนทดแทนกันได้



            การเขียนแบบจัดเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญช่างเทคนิคเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทฤษฎีและปฏิบัติ  ช่างเทคนิคที่เขียนแบบจะถ่ายทอดความคิด  และการสเกตซ์ของวิศวกรสถาปนิกมา นักออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นรายละเอียดในงานเขียนแบบ  และการระบุรายการในงานเขียนแบบเพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้สั่งงานกับผู้ปฏิบัติงาน  จึงมีการกำหนดมาตรฐานในงานเขียนแบบขึ้น



           มาตราส่วน หมายถึง การอ่านค่าความยาว  งานเขียนแบบแบ่งการวัดขนาดเป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ



             1. ระบบนิ้ว( ระบบอังกฤษ )  การวัดระบบนี้จะใช้หน่วยเป็นนิ้ว



             2. ระบบเมตริก  การวัดระบบนี้ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร  เซนติเมตร  เมตรมาตราส่วน   ( SCALE ) หมายถึง อัตราที่ใช้ย่อหรือขยายส่วน การเขียนแบบโดยทั่วไป ภาพที่เขียนแบบจะมีขนาดที่สัมพันธ์พอเหมาะกับขนาดกระดาษเขียนแบบเสมอ เมื่อมองภาพแล้วเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนสมบูรณ์ ฉะนั้นการเลือกใช้มาตราส่วนที่เหมาะสมกับขนาดกระดาษเขียนแบบ ผู้เขียนแบบจึงต้องควรคำนึงถึงมาก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้ ในการใช้โปรแกรมในการเขียนแบบเพื่อการผลิต



18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะในการใช้โปรแกรมในการเขียนแบบเพื่อการผลิต



ยินดีต้อนรับ