หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการคิดผ่านภาพร่างเพื่อใช้ในการออกแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AL64

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการคิดผ่านภาพร่างเพื่อใช้ในการออกแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบโคมไฟและอุปกรณ์แสงสว่าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างเป็นอย่างดี เข้าใจข้อดี-ข้อจำกัดของกระบวนการขึ้นรูปชิ้นส่วน และการประกอบในระบบการผลิตของอุตสาหกรรมโคมไฟและแสงสว่างเข้าใจระบบการผลิตในระบบอุตสาหกรรมในระดับชำนาญ สามารถทำให้กระบวนการผลิต รวดเร็ว ประหยัดเวลา และปลอดภัยกว่าเดิม เพื่อใช้ในการแนะนำทีมและพิจารณาก่อนทำการผลิตในระบบอุตสาหกรรม มีความชำนาญในอาชีพ ปฏิบัติงานด้านการออกแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง มีทักษะองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการเข้าใจปัจจัยเรื่องการตลาดการออกแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในประเทศเป็นอย่างดี สามารถเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำปรึกษากับบุคลากรได้ สามารถนำข้อมูลของพฤติกรรมและการใช้งานของผู้ใช้โคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างเภทต่างๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์ 2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
       การออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AL641 ระบุพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ประเภทต่างๆ ตามรูปแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง (เช่น แจกัน กรอบรูป ที่ใส่ของ ฯลฯ) 1. สามารถนำข้อมูลของพฤติกรรมและการใช้งานของผู้ใช้โคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างเภทต่างๆ AL641.01 150571
2 พัฒนาต่อยอดจาการนำข้อมูลพฤติกรรมและแก้ปัญหาในการใช้งาน AL641.02 150572
AL642 ออกแบบรูปแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างแต่ละประเภท โดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ 1. มีแนวความคิดที่ใหม่ แปลก แตกต่าง และผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปในทางบวก AL642.01 150573
2. สร้างลูกเล่นประโยชน์ใช้สอยจากการใช้งาน และเหมาะสมกับกระบวนการผลิต AL642.02 150574
AL643 ออกแบบรูปแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างแต่ละประเภท โดยหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี 1. การสร้างภาพร่างเป็นไปตามหลักการองค์ประกอบศิลปะ AL643.01 150575
2 เลือกใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีสีและเหมาะสมกับการออกแบบพัฒนาโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง AL643.02 150576
AL644 ระบุแนวคิดเบื้องต้นด้านเกณฑ์มาตรฐานสากลบนภาพร่างในอุตสาหกรรมแสงไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง 1. ภาพร่างต้องอธิบาย รูปทรง วัสดุ สี ขนาด ประโยชน์ใช้สอย AL644.01 150577
2 เข้าใจมาตรฐานอุตสาหกรรมในการทดสอบคุณสมบัติของโคมอุปกรณ์โคมไฟให้แสงสว่าง AL644.02 150578
AL645 ออกแบบรูปแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างโดยหลักการยศาสตร์ สัดส่วนมนุษย์ 1. เข้าใจมาตรฐานของขนาดสัดส่วนการยศาสตร์ AL645.01 150579
2. สัดส่วนเหมาะสมกับการใช้งานของทุกเพศ ทุกวัย AL645.02 150580
AL646 ออกแบบรูปแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างโดยแนวคิดการเลือกวัสดุ ไม้ เหล็ก หนัง 1.เลือกใช้วัสดุและลดต้นทุนในการออกแบบ AL646.01 150581
2.เลือกใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าและนำเสนอวัสดุใหม่ในการใช้งานและเหมาะสมกับกระบวนการผลิต AL646.02 150582
AL647 ออกแบบรูปแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างโดยแนวคิดที่คำนึงด้านความปลอดภัย 1. วิเคราะห์และเลือกใช้มาตรฐานรับรองคุณภาพและความปลอดภัยในการพัฒนารูปแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างตามมาตรฐานภายในประเทศและต่างประเทศ AL647.01 150583
2 ออกแบบโดยใช้หลักการออกแบบเพื่อมวลชน AL647.02 150584
AL648 ออกแบบรูปแบบโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างโดยแนวคิดที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม 1.การออกแบบพัฒนาโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างถูกออกแบบโดยคำนึ่งถึงสิ่งแวดล้อมการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า AL648.01 150585
2 เลือกวัสดุสำหรับการใช้งานที่เหมาะสมไม่เป็นมลพิษและอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม AL648.02 150586
AL649 ระบุหลักการทำงานของโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ค่าแสง การสะท้อน 1.ระบุหลักการทำงานของโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ค่าแสง การสะท้อน AL649.01 150587
2 เข้าใจมาตรฐานของหลอดไฟแต่ละชนิดในการให้ค่าความสว่างที่ส่งผลต่อการใช้งานแต่ละพื้นที่ AL649.02 150588

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ด้วยกระบวนการผลิตต้นแบบรวดเร็วหรือการพิมพ์ 3 มิติ ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ ออกแบบงาน 3 มิติ Photoshop,Adobe Illustrator,Adobe InDesign ,Rhinoceros,3ds Max,SketchUp, หรือโปรแกรมเทียบเท่าขั้นสูง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง



2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง



3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง



4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำและตรวจสอบรายงาน



2. การจัดทำเป้าหมายการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง



3. เทคโนโลยีการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

       หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



   1. เอกสารรายงานการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง



   2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



   3. แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).



   1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบอุตสาหกรรมโคมไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง



   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



    1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบแสงไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ระดับ 4 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 6 ทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน     (พาวเวอร์พอย) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ จัดลำดับขั้นตอนวางผังการทำงานของเครื่องจักรในระบบการผลิตในอุตสาหกรรมแสงไฟและอุปกรณ์ให้แสงสว่างพร้อมแก้ปัญหา)



(ง) วิธีการประเมิน



   1. พิจารณาหลักฐานความรู้



   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



           - Idea Sketch คือ การนำเสนอแนวความคิดในการออกแบบในระยะเวลาสั้นๆ หรือการนำเสนอแนวความคิดเบื้องต้นตามโจทย์ที่ได้รับ หรือตามปัญหาที่ต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆผ่านการนำเสนอโดยภาพรวม ให้มีความหลากหลายของความคิดโดยมีรูปแบบของการสื่อสารความคิดสร้างสรรค์ด้วยภาพร่างการนำเสนอแนวทางการออกแบบก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและรูปแบบของงานนั้นๆด้วย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจในงานออกแบบนั้นด้วย ว่ามีแนวคิดในการออกแบบไปในแนวทางใดควรคำนึงถึงการอธิบายความหมายรูปแบบอย่างชัดเจนสามารถนำเสนอผ่านทางภาพวาดและตัวอักษร



          - หลักการยศาสตร์ คือ การยศาสตร์ เป็นเรื่องการศึกษาสภาพการทำงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม การทำงานเป็นการพิจารณาว่าสถานที่ทำงานดังกล่าว ได้มีการออกแบบหรือปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วย หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เพื่อทำให้งานที่ต้องปฏิบัติดังกล่าว มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน แทนที่จะบังคับให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทนฝืนปฏิบัติงานนั้น ๆ ตัวอย่างง่าย ๆ ตัวอย่างหนึ่งได้แก่การเพิ่มระดับความสูงของโต๊ะทำงานให้สูงขึ้น เพื่อพนักงานจะได้ไม่ต้องก้มโน้มตัวเข้าใกล้ชิ้นงาน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการยศาสตร์ หรือนักการยศาสตร์ ( Ergonomist )

จึงเป็นผู้ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน และการออกแบบ



            - แนวคิดสร้างสรรค์ที่แปลกและแตกต่างคือ การที่บุคคลสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อาทิตผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าการตีความเกี่ยวกับ ความแปลกและแตกต่าง ขึ่นอยู่กับผู้สร้าสรรค์หรือสังคม หรือแวทวงที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ่น กระประเมินคุณค่าก็ในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่ใช้มักใช้ในการตีความ “ความใหม่” 



         - หลักการองค์ประกอบศิลปะ เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใดๆก็ตามล้วนมีคุณค่ายอู่สองประการคือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และคุณค่าทางด้านเรื่องราว คุณค่าทางด้านรูปทรงเกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่างๆ อันได้แก่ เส้น สี แสง เงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเรียกว่า การจัด



          - หลักการทฤษฎีสี หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและ ผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะ เรื่องราวองสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง



            - การเลือกใช้โปรแกรม :  การเลือกโปรแกรมนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับงานที่ออกแบบด้วย เพราะในตอนนี้ มีโปรแกรมสำหรับออกแบบโมเดล 3 มิติมากมาย ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้กับงานออกแบบในเฉพาะด้าน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอยากออกแบบงานที่เกี่ยวกับ เครื่องจักรและกลไก ก็เลือกโปรแกรมจำพวก Solidwork หรือ Autocad Inventor ถ้าออกแบบงานปั้นโมเดลรูปเหมือนหรือการทำ Animation ก็ไปทางสายโปรแกรม Zbrush หรือไม่ก็ Maya โปรแกรมชนิดนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีเครื่องมือในการขึ้นรูปให้เหมาะกับงานที่ออกแบบ แต่ถ้าใครอยากได้โปรแกรมที่ครอบคลุมเกือบทุกด้าน ก็ต้องไปใช้โปรแกรม Rhino ซึ่งจะมี Plug in หรือส่วนเสริมมาให้ใช้มากมาย สำหรับการออกแบบ ส่วนตัวผู้เขียนนั้น จะถนัดไปทางด้าน เครื่องจักรและกลไก ก็จะเลือกโปรแกรมจำพวก Onshape หรือ Solidwork ในการออกแบบ ดังนั้นการจะเลือกโปรแกรมออกแบบหรืออยากจะเรียนโปรแกรมออกแบบ 3 มิติ เราก็ควรจะต้องรู้แนวของตัวเองก่อนว่าจะไปทางด้านไหน ก็ให้เลือกโปรแกรมที่ถูกพัฒนามาให้ถูกด้าน เพราะจะทำให้การออกแบบโมเดล 3 มิตินั้นง่ายและรวดเร็วมากขึ้น



         -มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก)  : มอก.เป็นคำย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้ หลักในการออกแบบ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานความปลอดภัย



18.2 ข้อสอบสัมภาษณ์ เป็นข้อสอบที่วัดความรู้หลักการและกระบวนการในการออกแบบและผลิตในระบบอุตสาหกรรม หลักการบริจัดการองค์กร



18.3 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ หลักในการออกแบบ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานความปลอดภัย