หน่วยสมรรถนะ
จัดการขั้นตอนกระบวนการในการออกแบบเพื่อรองรับระบบการผลิตไลฟ์สไตร์โปรดักส์
สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | AL57 |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดการขั้นตอนกระบวนการในการออกแบบเพื่อรองรับระบบการผลิตไลฟ์สไตร์โปรดักส์ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2564 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
นักออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ และสามารถเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับชำนาญมีประสบการณ์ทำงานเป็นที่ยอมรับของวงการวิชาชีพ เป็นผู้ที่กำหนดทิศทางนโยบายขององค์กร กำหนดตลาดเทรน แฟร์ชั่น และมีความเข้าใจในด้านตลาดด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ ทั้งภายในและภายนอกประเทศสามารถพูดจูงใจ และชี้แนะ คัดเลือกและบริหารจัดการคน วัตถุดิบ เวลาและการผลิตได้ มีความสามารถในการจูงใจ มีภาวะผู้นำในระดับสูง กล้าตัดสินใจมีคุณธรรมจริยธรรม เข้าใจทิศทางงานออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ส่งผลต่อองค์กร มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไลฟ์สไตร์โปรดักส์ จัดเตรียมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลแนวคิดใหม่ในการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์เข้าใจกระบวนการออกแบบและผลิตอย่างชำนาญสามารถ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
การออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
AL571 รวบรวมข้อมูลแนวโน้มแนวคิดใหม่ของการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 1.มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 150519 | |
AL571 รวบรวมข้อมูลแนวโน้มแนวคิดใหม่ของการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 2.เข้าใจทิศทางงานออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ส่งผลต่อองค์กร | 150520 | |
AL571 รวบรวมข้อมูลแนวโน้มแนวคิดใหม่ของการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 3. รวบรวมจัดทำรายงานเทรน แนวโน้ม ทางด้านการตลาดของวงการไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 150521 | |
AL572 จัดเตรียมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลแนวคิดใหม่ในการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 1. วิเคราะห์งานออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์จากทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับต้นทุนและคุณภาพของงาน | 150522 | |
AL572 จัดเตรียมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลแนวคิดใหม่ในการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 2. จัดเตรียมข้อมูลแนวความคิดใหม่เพื่อใช้ในการออกแบบและนำเสนอ | 150523 | |
AL572 จัดเตรียมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลแนวคิดใหม่ในการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 3. นำข้อมูลมาถ่ายทอดแนวความคิดเพื่อพัฒนาการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 150524 | |
AL573 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความโดดเด่น | 1.เข้าใจกระบวนการออกแบบและผลิตอย่างชำนาญสามารถ | 150525 | |
AL573 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความโดดเด่น | 2. ต่อยอดงานหรือพัฒนางานให้มีคุณค่า และมูลค่ามากขึ้น | 150526 | |
AL573 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความโดดเด่น | 3. ระบุชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับงาน | 150527 | |
AL574 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความสำคัญต่อประโยชน์ใช้สอย | 1.เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างชำนาญและสามารถสร้างประโยชน์ใช้สอยให้กับผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตร์โปรดักส์ | 150528 | |
AL574 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความสำคัญต่อประโยชน์ใช้สอย | 2. ต่อยอดงานหรือพัฒนางานให้มีประโยชน์ใช้สอยเพิ่มเติมและสวยงาม | 150529 | |
AL574 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความสำคัญต่อประโยชน์ใช้สอย | 3. ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนและลดขั้นตอนในการทำงานและมีประโยชน์ใช้สอยเพิ่มขึ้น | 150530 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไลฟ์สไตร์โปรดักส์ วิเคราะห์งานออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์จากทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับต้นทุนและคุณภาพของงาน เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างชำนาญและสามารถสร้างประโยชน์ใช้สอยให้กับผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตร์โปรดักส์ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ 2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ 3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ 4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การจัดทำและตรวจสอบรายงาน 2. การจัดทำเป้าหมายการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ 3. เทคโนโลยีการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารรายงานการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ระดับเชี่ยวชาญ 2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง 3. แฟ้มสะสมงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence). 1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ 2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ ระดับ 5 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพทดสอบโดย การสัมภาษณ์นำเสนอผลงาน (พาวเวอร์พอย) คัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกในหลายๆด้านและมีความน่าเชื่อถือและคัดกรองพิจารณา (เป็นการมอบให้จากการสมัครแต่ไม่จำเป็นต้องมีผู้ผ่านการคัดเลือก) 2. ผู้ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพด้านอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ ระดับ 5 ไม่สามารถเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ ได้อีกถือว่าระดับนี้เป็นระดับสูงสุด (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ N/A (ข) คำอธิบายรายละเอียด - ข้อมูลแนวโน้มทันสมัย หมายถึง มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่นิยม ทันสมัย ในกระแสหรือปัจจุบัน กำลังเป็นเป็นที่นิยมและมีแนวโน้มว่าจะเป็นที่นิยม - แนวคิดสร้างสรรค์ที่แปลกและแตกต่างคือ การที่บุคคลสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อาทิตผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าการตีความเกี่ยวกับ ความแปลกและแตกต่าง ขึ่นอยู่กับผู้สร้าสรรค์หรือสังคม หรือแวทวงที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ่น กระประเมินคุณค่าก็ในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่ใช้มักใช้ในการตีความ “ความใหม่” - นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ -มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) : มอก.เป็นคำย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 ข้อสอบสัมภาษณ์ เป็นข้อสอบที่วัดความรู้ หลักการกระบวนการออกแบบ ผลิตและบริหารจัดการบุคลากร และบริหารองค์กร 18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ หลักการกระบวนการออกแบบ ผลิตและบริหารจัดการบุคลากร และบริหารองค์กร
|