หน่วยสมรรถนะ
พัฒนากระบวนการคิดผ่านภาพร่างเพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | AE44 |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | พัฒนากระบวนการคิดผ่านภาพร่างเพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2564 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพนักออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบและมีความรู้และเข้าใจเรื่องการตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการพัฒนาสินค้าและเพื่อพัฒนาสินค้ารวมทั้งกระแสอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบใหม่ๆ เข้าใจข้อดี-ข้อจำกัดของกระบวนการขึ้นรูปชิ้นส่วน การประกอบ ในระบบการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเข้าใจระบบการผลิตในระบบอุตสาหกรรมในระดับชำนาญ เพื่อสามารถทำให้กระบวนการผลิต รวดเร็ว ประหยัดเวลา และปลอดภัยกว่าเดิม เพื่อใช้ในการแนะนำทีมและพิจารณาก่อนทำการผลิตในระบบอุตสาหกรรม รวมถึงมีความรู้พื้นฐานเรื่องมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีความชำนาญสามารถเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำปรึกษากับบุคลากรได้ สามารถนำข้อมูลของพฤติกรรมและการใช้งานของผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ มาใช้ในการออกแบบ มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ นำหลักการยศาสตร์มาการออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างชำนาญและถูกประเภท |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
การออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
AE441 ระบุพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท | 1. สามารถนำข้อมูลของพฤติกรรมและการใช้งานของผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆมาใช้ในการออกแบบ | AE441.01 | 150386 |
AE441 ระบุพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภท | 2 พัฒนาต่อยอดการออกแบบโดยวิเคราะห์ปัญหาจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคมาออกแบบ | AE441.02 | 150387 |
AE442 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ | 1. มีแนวความคิดที่ใหม่ แปลก แตกต่างและผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปในทางบวก | AE442.01 | 150388 |
AE442 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ | 2. มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ | AE442.02 | 150389 |
AE443 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี | 1. การสร้างภาพร่างเป็นไปตามหลักการองค์ประกอบศิลปะ | AE443.01 | 150390 |
AE443 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี | 2 เลือกใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีสีและเหมาะสมกับการออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ | AE443.02 | 150391 |
AE444 ระบุแนวคิดเบื้องต้นบนภาพร่าง เรื่องวัสดุ อุปกรณ์ รูปทรง สี ขนาด | 1. ภาพร่างต้องอธิบาย รูปทรง วัสดุ สี ขนาดประโยชน์ใช้สอย | AE444.01 | 150392 |
AE444 ระบุแนวคิดเบื้องต้นบนภาพร่าง เรื่องวัสดุ อุปกรณ์ รูปทรง สี ขนาด | 2 ออกแบบโดยเลือกวัสดุ รูปทรงเหมาะสมกับกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรม | AE444.02 | 150393 |
AE445 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยหลักการยศาสตร์ | 1. เข้าใจมาตรฐานของขนาดสัดส่วนการยศาสตร์ | AE445.01 | 150394 |
AE445 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยหลักการยศาสตร์ | 2. นำหลักการยศาสตร์มาการออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เหมาะสมกับ เพศ อายุ และสัดส่วนการใช้งาน | AE445.02 | 150395 |
AE446 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยแนวคิดการเลือกวัสดุ | 1. เลือกใช้วัสดุเหมาะสมกับต้นทุนในการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ | AE446.01 | 150396 |
AE446 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยแนวคิดการเลือกวัสดุ | 2. บริหารจัดการวัสดุอย่างคุ้มค่าในการผลิตและออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ | AE446.02 | 150397 |
AE447 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยแนวคิดที่คำนึงด้านความปลอดภัย | 1. ใช้หลักการมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อทดสอบ ความแข็งแรง อันตรายที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้มาทดสอบผลิตภัณฑ์ | AE447.01 | 150398 |
AE447 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยแนวคิดที่คำนึงด้านความปลอดภัย | 2 ใช้หลักการออกแบบเพื่อมวลชนในการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ | AE447.02 | 150399 |
AE448 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยแนวคิดที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม | 1. การออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ถูกออกแบบโดยคำนึ่งถึงสิ่งแวดล้อม การใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า | AE448.01 | 150400 |
AE448 ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์โดยแนวคิดที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม | 2 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีสารพิษหรือเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม | AE448.02 | 150401 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
สามารถนำข้อมูลของพฤติกรรมและการใช้งานของผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆมาใช้ในการออกแบบเข้าใจหลักการองค์ประกอบศิลปะ และเลือกใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีสีและเหมาะสมกับการออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เลือกใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าในการผลิตการออกแบบพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การจัดทำและตรวจสอบรายงานการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 2. การจัดทำเป้าหมายการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 3. เทคโนโลยีการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารรายงานการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ระดับชำนาญ 2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง 3. แฟ้มสะสมงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence). 1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชำนาญ 2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1.ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ 4 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 4 ทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (พาวเวอร์พอย) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และจัดลำดับขั้นตอนวางผังการทำงานของเครื่องจักรในระบบการผลิตในเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์พร้อมแก้ปัญหา) (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ N/A (ข) คำอธิบายรายละเอียด - Idea Sketch คือ การนำเสนอแนวความคิดในการออกแบบในระยะเวลาสั้นๆ หรือการนำเสนอแนวความคิดเบื้องต้นตามโจทย์ที่ได้รับ หรือตามปัญหาที่ต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆผ่านการนำเสนอโดยภาพรวม ให้มีความหลากหลายของความคิดโดยมีรูปแบบของการสื่อสารความคิดสร้างสรรค์ด้วยภาพร่างการนำเสนอแนวทางการออกแบบก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและรูปแบบของงานนั้นๆด้วย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจในงานออกแบบนั้นด้วย ว่ามีแนวคิดในการออกแบบไปในแนวทางใดควรคำนึงถึงการอธิบายความหมายรูปแบบอย่างชัดเจนสามารถนำเสนอผ่านทางภาพวาดและตัวอักษร - หลักการยศาสตร์ คือ การยศาสตร์ เป็นเรื่องการศึกษาสภาพการทำงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม การทำงานเป็นการพิจารณาว่าสถานที่ทำงานดังกล่าว ได้มีการออกแบบหรือปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วย หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เพื่อทำให้งานที่ต้องปฏิบัติดังกล่าว มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน แทนที่จะบังคับให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทนฝืนปฏิบัติงานนั้น ๆ ตัวอย่างง่าย ๆ ตัวอย่างหนึ่งได้แก่การเพิ่มระดับความสูงของโต๊ะทำงานให้สูงขึ้น เพื่อพนักงานจะได้ไม่ต้องก้มโน้มตัวเข้าใกล้ชิ้นงาน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการยศาสตร์ หรือนักการยศาสตร์ ( Ergonomist ) จึงเป็นผู้ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน และการออกแบบ - แนวคิดสร้างสรรค์ที่แปลกและแตกต่างคือ การที่บุคคลสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อาทิตผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าการตีความเกี่ยวกับ ความแปลกและแตกต่าง ขึ่นอยู่กับผู้สร้าสรรค์หรือสังคม หรือแวทวงที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ่น กระประเมินคุณค่าก็ในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่ใช้มักใช้ในการตีความ “ความใหม่” - หลักการองค์ประกอบศิลปะ เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใดๆก็ตามล้วนมีคุณค่ายอู่สองประการคือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และคุณค่าทางด้านเรื่องราว คุณค่าทางด้านรูปทรงเกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่างๆ อันได้แก่ เส้น สี แสง เงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเรียกว่า การจัด - หลักการทฤษฎีสี หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและ ผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะ เรื่องราวองสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง -มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) : มอก.เป็นคำย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้ หลักในการออกแบบ เพื่อมวลชน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และมาตรฐานอุตสาหกรรม 18.2 ข้อสอบสัมภาษณ์ เป็นข้อสอบที่วัดความรู้หลักในการออกแบบ เพื่อมวลชน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และมาตรฐานอุตสาหกรรม 18.3 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะหลักในการออกแบบ เพื่อมวลชน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และมาตรฐานอุตสาหกรรม และนำมาประยุกต์ในงานออกแบบ |