หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียน shop drawing และรายการประกอบแบบเพื่อใช้ในการสั่งผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AE43

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียน shop drawing และรายการประกอบแบบเพื่อใช้ในการสั่งผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบ และมีความรู้และเข้าใจเรื่องการตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการพัฒนาสินค้าและเพื่อพัฒนาสินค้ารวมทั้งกระแสเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ๆ เข้าใจ ข้อดี - ข้อจำกัดของกระบวนการขึ้นรูปชิ้นส่วน การประกอบ ในระบบการผลิตของไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเข้าใจระบบการผลิตในระบบอุตสาหกรรมในระดับชำนาญ เพื่อสามารถทำให้กระบวนการผลิต รวดเร็ว ประหยัดเวลา และปลอดภัยกว่าเดิม เพื่อใช้ในการแนะนำทีมและพิจารณาก่อนทำการผลิตในระบบอุตสาหกรรม รวมถึงมีความรู้พื้นฐานเรื่องมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีความชำนาญสามารถเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำปรึกษากับบุคลากรได้ .ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ ภาพ 2 มิติ SolidWorks, AutoCAD, ,SketchUp, Adobe หรือโปรแกรมเทียบเท่า เพื่อใช้ในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม เลือกใช้สัญลักษณ์ในการเขียนแบบอย่างถูกต้อง ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้ว หุ่น นิ้ว ฟุต มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร  เข้าใจหลักการและคำศัพท์เฉพาะในอาชีพออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
        การออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AE431 เขียนแบบ 2 มิติ และระบุรายละเอียด 1. เลือกใช้สัญลักษณ์ในการเขียนแบบอย่างถูกต้อง AE431.01 150378
AE431 เขียนแบบ 2 มิติ และระบุรายละเอียด 2. ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ ภาพ 2 มิติ ด้วยโปรแกรมที่ใช้เขียนแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม AE431.02 150379
AE432 เขียนแบบ 3 มิติ ตามระบบการเขียนแบบ 1. ใช้โปรแกรม ในการ ออกแบบภาพ 3 มิติ ในการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม AE432.01 150380
AE432 เขียนแบบ 3 มิติ ตามระบบการเขียนแบบ 2. ถอดรายการประกอบแบบแยกชิ้นส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ AE432.02 150381
AE433 ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้วได้ (หุ่น นิ้ว ฟุต มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร) 1.ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้วได้หุ่น นิ้ว ฟุต มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร AE433.01 150382
AE433 ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้วได้ (หุ่น นิ้ว ฟุต มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร) 2. แปลงหน่วยวัดเพื่อใช้ในการเขียนแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ AE433.02 150383
AE434 ใช้ศัพท์เฉพาะในอาชีพออกแบบอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 1.เข้าใจหลักการและคำศัพท์เฉพาะในอาชีพออกแบบอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ AE434.01 150384
AE434 ใช้ศัพท์เฉพาะในอาชีพออกแบบอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 2. ระบุรายละเอียดทางเทคนิคของการออกแบบและผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ AE434.02 150385

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ ภาพ 2 มิติ SolidWorks, AutoCAD, SketchUp, Adobe หรือโปรแกรมเทียบเท่า เพื่อใช้ในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ระบุหน่วยการวัด เมตรติกหรือนิ้วได้หุ่น นิ้ว ฟุต มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร เข้าศัพท์เฉพาะในอาชีพออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  



2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  



3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  



4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำและตรวจสอบรายงานการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  



2. การจัดทำเป้าหมายการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  



3. เทคโนโลยีการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

       หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



        1. เอกสารรายงานการออกแบบอุสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  



        2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



        3. แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).



       1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการออกแบบอุสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์



      2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ 3 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 3 ทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (พาวเวอร์พอย) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ  (ใช้คอมพิวเตอร์ และจัดลำดับขั้นตอนวางผังการทำงานของเครื่องจักรในระบบการผลิตในเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์พร้อมแก้ปัญหา)



(ง) วิธีการประเมิน



       1. พิจารณาหลักฐานความรู้



       2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



         N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



           - การเขียนแบบเพื่อผลิต หมายถึง  การถ่ายทอดความคิดของผู้ออกแบบลงบนกระดาษอย่างเป็นระเบียบแบบแผน   เพื่อให้บุคคลได้เข้าใจโดยไม่จำกัดระยะเวลาในการศึกษาทำความเข้าใจ การเขียนแบบเป็นภาษาอย่างหนึ่งที่ใช้กันในงานช่างหรืองานอุตสาหกรรม  เป็นภาษาที่ถ่ายทอดความคิดหรือความต้องการของผู้ออกแบบไปให้ผู้อื่นได้ทราบ   และเข้าใจได้อย่างถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน  โดยแบบที่เขียนขึ้นจะเป็นสื่อกลางที่จะนำความคิดไปสร้างได้อย่างถูกต้อง   อันจะเป็นการประหยัดและได้งานที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการ  อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ตรงกันการเขียนแบบจะต้องเป็นภาษาสากล  โดยเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์  และรูปแบบต่าง ๆ  จะต้องเข้าใจได้ง่าย  แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาวิชาเขียนแบบก็สามารถเข้าใจได้พอสมควร



            เขียนแบบ 3 มิติ ตามระบบการเขียนแบบ Bill of Material (BOM) หมายถึง โครงสร้างสินค้าหรือสูตรการผลิตเป็นข้อมูลสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิต จะแสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ ส่วนประกอบ จำนวนส่วนประกอบ รายการสิ่งที่ผลิตขึ้นจากส่วนการประกอบ รายการวัตถุดิบ ซึ่งเป็นรายการที่สำคัญเพื่อแสดงในการผลิตต่อสินค้า หนึ่งหน่วย



            มาตรฐานในการเขียนแบบ หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงกันระหว่างผู้ผลิต  และผู้ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับขนาดรูปร่าง น้ำหนัก  และส่วนผสมของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำการผลิตขึ้นจากแหล่งผลิตต่าง ๆ ให้มีคุณสมบัติและคุณภาพเหมือนกันสามารถนำมาใช้สับเปลี่ยนทดแทนกันได้



            การเขียนแบบจัดเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญช่างเทคนิคเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทฤษฎีและปฏิบัติ  ช่างเทคนิคที่เขียนแบบจะถ่ายทอดความคิด  และการสเกตซ์ของวิศวกรสถาปนิกมา นักออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นรายละเอียดในงานเขียนแบบ  และการระบุรายการในงานเขียนแบบเพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้สั่งงานกับผู้ปฏิบัติงาน  จึงมีการกำหนดมาตรฐานในงานเขียนแบบขึ้น



            มาตราส่วน หมายถึง การอ่านค่าความยาว  งานเขียนแบบแบ่งการวัดขนาดเป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ  1.ระบบนิ้ว  (ระบบอังกฤษ )  การวัดระบบนี้จะใช้หน่วยเป็นนิ้ว  2.ระบบเมตริก  การวัดระบบนี้ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร  เซนติเมตร  เมตรมาตราส่วน    (SCALE ) หมายถึง อัตราที่ใช้ย่อหรือขยายส่วน การเขียนแบบโดยทั่วไป ภาพที่เขียนแบบจะมีขนาดที่สัมพันธ์พอเหมาะกับขนาดกระดาษเขียนแบบเสมอ เมื่อมองภาพแล้วเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนสมบูรณ์ ฉะนั้นการเลือกใช้มาตราส่วนที่เหมาะสมกับขนาดกระดาษเขียนแบบ ผู้เขียนแบบจึงต้องควรคำนึงถึงมาก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้ ในการใช้โปรแกรมเขียนแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์



18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ ในการใช้โปรแกรมเขียนแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์



ยินดีต้อนรับ