หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำรายงานแนวโน้มของกระแสนิยม พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อตอบสนองการตลาดบรรจุภัณฑ์

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AP28

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำรายงานแนวโน้มของกระแสนิยม พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อตอบสนองการตลาดบรรจุภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    นักออกแบบบรรจุภัณฑ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดตลาดและมีความเข้าใจภาพรวมและสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวโน้มในเรื่องการตลาดเพื่อวางกลยุทธ์ในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สามารถบริหารจัดการบุคลากร เลือกใช้คนกับงานได้มีประสิทธิภาพ จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการบรรจุภัณฑ์สืบค้นและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวงการบรรจุภัณฑ์ นำความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าทางธุรกิจและถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
   ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์ 2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
       การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตราฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AP281 จัดทำกระแสนิยมในวงการบรรจุภัณฑ์ 1. รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกระแสนิยมเพื่อใช้ในการนำเสนอได้ AP281.01 150253
AP281 จัดทำกระแสนิยมในวงการบรรจุภัณฑ์ 2. เข้าใจทิศทางการออกแบบในอดีตปัจจุบันและอนาคตของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ AP281.02 150254
AP281 จัดทำกระแสนิยมในวงการบรรจุภัณฑ์ 3. จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมแนวโน้มของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ AP281.03 150255
AP282 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการบรรจุภัณฑ์ 1. เข้าใจหลักการทฤษฏีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ AP282.01 150256
AP282 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการบรรจุภัณฑ์ 2..สืบค้นและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ AP282.02 150257
AP282 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการบรรจุภัณฑ์ 3. จัดทำรายงานรวบรวมหลักการและข้อมูลจากการสืบค้นได้ AP282.03 150258
AP283 นำความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าทางธุรกิจ 1. สามารถคิดต่อยอดเพื่อผสานแนวคิดใหม่ร่วมกับทีม AP283.01 150259
AP283 นำความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าทางธุรกิจ 2.เข้าใจช่องทางการตลาดเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์กับงานผลิตภัณฑ์ใหม่ AP283.02 150260
AP284 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ 1. สามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบอย่างเป็นขั้นตอน AP284.01 150261
AP284 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ 2. บอกหลักการออกแบบ และหลักการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้อย่างชำนาญ AP284.02 150262
AP284 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ 3. สามารถถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิตได้ AP284.03 150263
AP285 ประเมินการทดสอบผลิตภัณฑ์ของบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ 1.สามารถทดสอบความแข็งแรง และความปลอดภัยของกล่องบรรจุภัณฑ์ได้ AP285.01 150264
AP285 ประเมินการทดสอบผลิตภัณฑ์ของบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ 2. วิเคราะห์ Simulationพร้อมทั้งแก้ปัญหาที่เกิดจากการทดสอบและแนะนำทีมงานได้ AP285.02 150265

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        เข้าใจหลักการทฤษฏีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์  สร้างสภาวะแวดล้อมของสถานที่ในทำงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบของบรรจุภัณฑ์ สามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบเป็นขั้นตอน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์                                          



4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำและตรวจสอบรายงานการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. การจัดทำเป้าหมายการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



3. เทคโนโลยีการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



1. เอกสารรายงานการจัดทำรายงานรวบรวมหลักการและข้อมูลจากการสืบค้นสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



3. แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).



1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบและสามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบเป็นขั้นตอนสำหรับออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ระดับ 3 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 5 ทุกหน่วยสมรรถนะทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (รูปเล่ม) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ idea Sketch)



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
(ก) คำแนะนะN/A(ข) คำอธิบายรายละเอียด- วัฒนธรรมกระแสนิยม หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม โดยวัฒนธรรมสมัยนิยม มักจะมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง            - แหล่งที่มาของข้อมูล หมายถึง  เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์ ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง            - สร้างบรรยากาศและการจัดสภาวะแวดล้อม เป็นสภาวะอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมแล้วส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคล เป็นสภาพการณ์ที่ไม่อาจมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่เป็นภาพสะท้อนทางความรู้สึกของบุคคลเมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศดี" ในทางตรงกันข้าม เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศไม่ดี"            - ทดสอบการประเมินผลิตภัณฑ์ หมายถึง ก่อนที่สินค้าทุกชิ้นจะได้รับการประทับโลโก้ จะต้องสามารถนำมาใช้ได้ มันต้องพิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดนี่เป็นสิ่งที่เราปฏิบัติก่อนวางตลาด และต้องพัฒนาเครื่องจักร สำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างแท้จริงเครื่องจักรนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของธรรมเนียมปฏิบัติ ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นวิธีการหลักก่อนติดแบรนด์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์            - มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก)  : มอก.เป็นคำย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิตและวิธีการทดสอบเป็นต้น 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบสัมภาษณ์ เป็นข้อสอบที่วัดความรู้ การวางแผนด้านการตลาด กระบวนการออกแบบผลิต และมีความคิดริเริมในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่



18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะการวางแผนด้านการตลาด กระบวนการออกแบบ ผลิต และมีความคิดริเริมในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่



                       



ยินดีต้อนรับ