หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการขั้นตอนกระบวนการในการออกแบบเพื่อรองรับระบบการผลิตบรรจุภัณฑ์

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AP27

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการขั้นตอนกระบวนการในการออกแบบเพื่อรองรับระบบการผลิตบรรจุภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบบรรุภัณฑ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สามารถบริหารจัดการบุคลากร เลือกใช้คนกับงานได้มีประสิทธิภาพ รวบรวมข้อมูลแนวโน้มแนวคิดใหม่ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ วิเคราะห์งานออกแบบบรรจุภัณฑ์จากทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับต้นทุนและคุณภาพของงาน เข้าใจกระบวนการออกแบบและผลิตอย่างชำนาญ สามารถ เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างชำนาญ และสามารถสร้างประโยชน์ใช้สอยให้กับผลิตภัณฑ์ กำหนดแผนงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เลือกใช้นวัตกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เพื่อมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO-08 นักออกแบบผลิตภัณฑ์ISCO-08 นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
        การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตราฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AP271 รวบรวมข้อมูลแนวโน้มแนวคิดใหม่ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 1. มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบรรจุภัณฑ์ AP271.01 150238
AP271 รวบรวมข้อมูลแนวโน้มแนวคิดใหม่ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2. เข้าใจทิศทางงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่งผลต่อองค์กร AP271.02 150239
AP271 รวบรวมข้อมูลแนวโน้มแนวคิดใหม่ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3. รวบรวมจัดทำรายงาน แนวโน้มทางด้านการตลาด ของวงการบรรจุภัณฑ์ได้ AP271.03 150240
AP272 จัดเตรียมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลแนวคิดใหม่ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 1.วิเคราะห์งานออกแบบบรรจุภัณฑ์จากทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับต้นทุนและคุณภาพของงาน AP272.01 150241
AP272 จัดเตรียมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลแนวคิดใหม่ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2. จัดเตรียมข้อมูลแนวความคิดใหม่เพื่อใช้ในการออกแบบและนำเสนอได้ AP272.02 150242
AP272 จัดเตรียมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลแนวคิดใหม่ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3.นำข้อมูลมาถ่ายทอดแนวความคิดเพื่อพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ AP272.03 150243
AP273 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความโดดเด่น 1. เข้าใจกระบวนการออกแบบและผลิตอย่างชำนาญ AP273.01 150244
AP273 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความโดดเด่น 2.สามารถต่อยอดงานหรือพัฒนางานให้มีคุณค่า และเพิ่มมูลค่าของงานได้ AP273.02 150245
AP273 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความโดดเด่น 3.ระบุชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับงานบรรจุภัณฑ์ได้ AP273.03 150246
AP274 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความสำคัญต่อประโยชน์ใช้สอย 1.เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างชำนาญและสามารถสร้างประโยชน์ใช้สอยให้กับบรรจุภัณฑ์ได้ AP274.01 150247
AP274 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความสำคัญต่อประโยชน์ใช้สอย 2.สามารถต่อยอดงานหรือพัฒนางานให้มีประโยชน์ใช้สอยเพิ่มเติมและเพิ่มสวยงาม AP274.02 150248
AP274 ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะบางชิ้นส่วนที่แสดงความสำคัญต่อประโยชน์ใช้สอย 3.ระบุวิธีการผลิตชิ้นส่วน และลดขั้นตอนในการทำงาน รวมทั้งมีประโยชน์ใช้สอยเพิ่มขึ้นได้ AP274.03 150249
AP275 ระบุวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ 1.สามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบอย่างเป็นขั้นตอน AP275.01 150250
AP275 ระบุวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ 2.กำหนดแผนงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์พร้อมทั้ง เลือกใช้นวัตกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เพื่อมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ AP275.02 150251
AP275 ระบุวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ 3. ระบุปัญหาพร้อมทั้งวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ได้ AP275.03 150252

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



  2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



 4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำและตรวจสอบรายงานการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. การจัดทำเป้าหมายการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



3. เทคโนโลยีการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



            1. เอกสารรายงานจัดเตรียมนำเสนอและถ่ายทอดข้อมูลแนวคิดใหม่ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์



            2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



            3. แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).



            1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบรวบรวมข้อมูลแนวโน้มแนวคิดใหม่ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์



            2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



           1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ระดับ 7 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 5 ทุกหน่วยสมรรถนะทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (รูปเล่ม) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ



(ง) วิธีการประเมิน



               1. พิจารณาหลักฐานความรู้



               2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



     N/A



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



        - ข้อมูลแนวโน้มทันสมัย  หมายถึง การมีแนวคิดที่สร้างสรรค์ และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่นิยม ทันสมัย ในกระแสหรือปัจจุบัน กำลังเป็นเป็นที่นิยมและมีแนวโน้มว่าจะเป็นที่นิยม



         - แนวคิดสร้างสรรค์ที่แปลกและแตกต่างคือ การที่บุคคลสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อาทิตผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าการตีความเกี่ยวกับ ความแปลกและแตกต่าง ขึ่นอยู่กับผู้สร้าสรรค์หรือสังคม หรือแวทวงที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ่น กระประเมินคุณค่าก็ในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่ใช้มักใช้ในการตีความ “ความใหม่” 



        - นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ



        -มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก)  : มอก.เป็นคำย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น 



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบสัมภาษณ์ เป็นข้อสอบที่วัดความรู้ ทางด้านการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่ายภายในภายนอกประเทศ และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการออกแบบ กระบวนการผลิต



18.2 สังเกตการณ์ปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ และความรู้ ทางด้านการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่ายภายในภายนอกประเทศ และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการออกแบบ กระบวนการผลิต



ยินดีต้อนรับ