หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำภาพ 3 มิติ ภาพคลี่ เพื่อนำเสนอลูกค้าและเพื่อประกอบการผลิตบรรจุภัณฑ์

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AP25

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำภาพ 3 มิติ ภาพคลี่ เพื่อนำเสนอลูกค้าและเพื่อประกอบการผลิตบรรจุภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สามารถบริหารจัดการบุคลากร เลือกใช้คนกับงานได้มีประสิทธิภาพ กำหนดรูปแบบงานออกแบบของเล่นที่เป็นลักษณะงาน 3 มิติจากใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบ หรือโปรแกรมเทียบเท่า ขั้นสูง สามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหา ในการออกแบบของการเขียนแบบ ออกแบบงาน 3 มิติเพื่อการนำเสนอ จัดการประชุมเพื่อนำเสนอภาพ 3 มิติ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคา และสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก และผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AP251 จัดทำภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรม โดยประมวลผลภาพเป็น Jpeg. png. หรือสกุลไฟล์ใกล้เคียง 1. กำหนดรูปแบบงานออกแบบของเล่นที่เป็นลักษณะงาน 3มิติ จากใช้โปรแกรม ในการเขียนแบบหรือโปรแกรมเทียบเท่า หรือขั้นสูงได้ AP251.01 150219
AP251 จัดทำภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรม โดยประมวลผลภาพเป็น Jpeg. png. หรือสกุลไฟล์ใกล้เคียง 2. ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหา ในการออกแบบของการเขียนแบบ ออกแบบงาน 3มิติเพื่อการนำเสนอได้ AP251.02 150220
AP252 จัดการประชุมเพื่อนำเสนอภาพ 3 มิติ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1. จัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นจากฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายการตลาดฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อได้ AP252.01 150221
AP252 จัดการประชุมเพื่อนำเสนอภาพ 3 มิติ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในทางด้าน Graphic design เพื่อการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและชำนาญ AP252.02 150222
AP252 จัดการประชุมเพื่อนำเสนอภาพ 3 มิติ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. พูดเพื่อโน้มน้าวและนำเสนอได้ AP252.03 150223
AP253 จัดประชุมเพื่อชี้แจงและร่วมวางแผนการผลิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1.จัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นจากฝ่ายผลิตเพื่อหาวิธีการในการผลิตได้ AP253.01 150224
AP253 จัดประชุมเพื่อชี้แจงและร่วมวางแผนการผลิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2. ระบุขั้นตอนกระบวนการในการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง AP253.02 150225
AP253 จัดประชุมเพื่อชี้แจงและร่วมวางแผนการผลิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. พูดเพื่อโน้มน้าวและนำเสนอได้ AP253.03 150226
AP254 นำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคา 1. ประมาณราคาบรรจุภัณฑ์จากแบบได้ AP254.01 150227
AP254 นำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคา 2. บอกขั้นตอนกระบวนการในการผลิตรู้วิธีลดต้นทุนและสามารถแนะนำลูกค้าได้ AP254.02 150228
AP255 สร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ 1. สร้างต้นแบบและเลือกใช้วัสดุในการขึ้นต้นแบบได้อย่างถูกต้อง AP255.01 150229
AP255 สร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ 2. แนะนำขั้นตอนหรือวิธีการทำต้นแบบเพื่อเสนอลูกค้าได้ AP255.02 150230
AP255 สร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ 3. ระบุขั้นตอนกระบวนการในการผลิต AP255.03 150231

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

       สามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหา ในการออกแบบของการเขียนแบบ ออกแบบงาน 3 มิติเพื่อการนำเสนอจัดทำภาพ  3 มิติ  ด้วยโปรแกรม ด้วยประมวลผลภาพเป็น Jpeg. png.หรือสกุลไฟล์ใกล้เคียงนำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคาสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์      



4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์    

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เข้าใจหลักการออกแบบในการออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. เข้าใจหลักการขนาดสัดส่วนสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



3. เข้าใจหลักการตลาด พฤติกรรมผู้ใช้สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



4. เข้าใจหลักการคุณสมบัติของวัสดุประเภทต่างๆสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

            หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



     1. เอกสารรายงานการใช้เครื่องมือ และการใช้โปรแกรมสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



     2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



     3. แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence)



    1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



    2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



     1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ระดับ 4 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 4 ทุกหน่วยสมรรถนะทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (รูปเล่ม) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ idea Sketch)



(ง) วิธีการประเมิน



     1. พิจารณาหลักฐานความรู้



     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



    - การเลือกใช้โปรแกรมประมวลภาพ 3 มิติ การเลือกโปรแกรมนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับงานที่ออกแบบด้วย เนื่องจากโปรแกรมสำหรับออกแบบโมเดล 3 มิติ ในปัจจุบันมีหลายโปรแกรม ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้กับงานออกแบบในเฉพาะด้าน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอยากออกแบบงานที่เกี่ยวกับ เครื่องจักรและกลไก ก็เลือกโปรแกรมจำพวก Solid work หรือ AutoCAD Inventor ถ้าออกแบบงานปั้นโมเดลรูปเหมือนหรือการทำ Animation ก็ไปทางสายโปรแกรม Z Brush หรือไม่ก็ Maya โปรแกรมชนิดนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีเครื่องมือในการขึ้นรูปให้เหมาะกับงานที่ออกแบบ แต่ถ้าใครอยากได้โปรแกรมที่ครอบคลุมเกือบทุกด้าน ก็ต้องไปใช้โปรแกรม Rhino ซึ่งจะมี Plug in หรือส่วนเสริมมาให้ใช้มากมาย สำหรับการออกแบบ ส่วนตัวผู้เขียนนั้น จะถนัดไปทางด้าน เครื่องจักรและกลไก ก็จะเลือกโปรแกรมจำพวก On shape หรือ Solid Work ในการออกแบบ ดังนั้นการจะเลือกโปรแกรมออกแบบหรืออยากจะเรียนโปรแกรมออกแบบ 3 มิติ เราก็ควรจะต้องรู้แนวของตัวเองก่อนว่าจะไปทางด้านไหน ก็ให้เลือกโปรแกรมที่ถูกพัฒนามาให้ถูกด้าน เพราะจะทำให้การออกแบบโมเดล 3 มิตินั้นง่ายและรวดเร็วมากขึ้น



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



        - จัดทำภาพ 3 มิติ หมายถึง ภาพที่สามารถแสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งรูปร่างและรูปทรง  ลักษณะการประกอบกันอยู่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ (ภาพประกอบ)  แต่ละชิ้น  ทั้งหมดในภาพเดียวกันทั้งหมด  สามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ภาพ  3  มิติ  สามารถเขียนได้หลายแบบ  ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความเหมาะสมแต่ละแบบ  ซึ่งภาพ 3  มิติ  สามารถแบ่งออกเป็น  3  ประเภทใหญ่ คือ



      1. ภาพแอกโซโนเมตริก  (Axonometric) 



      2. ภาพออบลิค  (Oblique)  เป็นภาพที่มุมเอียงด้านเดียว



      3. ภาพทัศนียภาพ  (Perspective)



         - นำเสนอต้นทุนจากการประมาณราคา หมายถึง การคำนวณหาปริมาณวัสดุ ค่า แรงและค่าดำเนินการที่ราคาใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด ในการแยกรายการวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายเครื่องมือเครื่องจักร และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานโดยมีผลกับตัวแปรตามในด้านระยะเวลาของการทำงาน ดังนั้นการประมาณราคาจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริง แต่อาจใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งไม่ควรจะผิดพลาดไปจากราคาที่แท้จริงเกินกว่า 10 %



            - จัดทำโมเดลต้นแบบ หมายถึง การสร้างต้นแบบเสมือนจริงโดยใช้วัสดุ และการทำสีตกแต่งให้สวยเหมือนกับของจริงและทำให้ลูกค้าหรือผู้ซื้อเข้าใจงานผลิตภัณฑ์มากขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้ การใช้โปรแกรมในการเขียนแบบสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์[



18.2 สังเกตการณ์ปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ และความรู้ การใช้โปรแกรมในการเขียนแบบสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และประมาณราคา ขึ้นต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อนำเสนอลูกค้า



ยินดีต้อนรับ