หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เสนอภาพร่างและแนวคิด (idea) การออกแบบบรรจุภัณฑ์

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AP21

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เสนอภาพร่างและแนวคิด (idea) การออกแบบบรรจุภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
             บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบและมีความคิดสร้างสรรค์ และมีความรู้และเข้าใจในเรื่องกฎระเบียบและข้อบังคับด้านบรรจุภัณฑ์สามารถในการนำองค์รู้และทักษะจากสาขาอาชีพอื่นๆที่มีความหลากหลายมาประยุกติใช้ได้เพื่อในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีทักษะองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ สามารถวิเคราะห์แนวโน้ม ความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และการตลาดบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างดี ระบุพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆและประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านการตลาดในการออกแบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AP211 ระบุพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท 1. วิเคราะห์และนำข้อมูลของพฤติกรรมผู้บริโภคมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ถูกต้อง AP211.01 150179
AP211 ระบุพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท 2.วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการตลาดมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้อง AP211.02 150180
AP212 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ 1. แสดงแนวความคิดที่ใหม่แปลก แตกต่าง และผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปในทางบวก AP212.01 150181
AP212 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ 2. แสดงประโยชน์ใช้สอย หรือลูกเล่นเพิ่มเติมเพื่อดึงดูดลูกค้า AP212.02 150182
AP213 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี 1. สร้างภาพร่างเป็นไปตามหลักการองค์ประกอบศิลปะ AP213.01 150183
AP213 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี 2.เลือกใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีสี AP213.02 150184
AP214 ระบุแนวคิดเบื้องต้นของภาพร่าง 1. อธิบาย รูปทรง วัสดุ สี ขนาด ประโยชน์ใช้สอยของภาพร่างได้อย่างถูกต้อง(ประโยชน์ในการใช้งาน) AP214.01 150185
AP214 ระบุแนวคิดเบื้องต้นของภาพร่าง 2.อธิบายแนวคิดในการออกแบบและตามความต้องการของลูกค้าของภาพร่างได้อย่างถูกต้อง AP214.02 150186
AP215 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยหลักการยศาสตร์ 1.ระบุค่ามาตรฐานของขนาดสัดส่วนการยศาสตร์และเหมาะสมกับการใช้งานตามรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ AP215.01 150187
AP215 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยหลักการยศาสตร์ 2. อธิบายขนาดสัดส่วนมาตรฐานของอาชีพนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ AP215.02 150188
AP216 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยแนวคิดการเลือกวัสดุ 1.เลือกใช้วัสดุที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย เหมาะกับการใช้งานรวมทั้งมีความแข็งแรงทนทาน AP216.01 150189
AP216 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยแนวคิดการเลือกวัสดุ 2. อธิบายหลักการทดสอบความแข็งแรงของกล่องบรรจุภัณฑ์ AP216.02 150190
AP217 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านการตลาด 1.ประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านการตลาดในการออกแบบ AP217.01 150191
AP217 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในการประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านการตลาด 2.วิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งเพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ AP217.02 150192

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

           สามารถนำข้อมูลของพฤติกรรมและการใช้งานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆมาใช้ในการออกแบบมีทักษะในการวาดภาพ เข้าใจหลักการองค์ประกอบศิลปะ และเลือกใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีสี มีแนวความคิดที่ใหม่ แปลก แตกต่าง และผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปในทางบวก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการใช้เครื่องมือพื้นฐานในการออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการใช้เครื่องมือช่างสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



4. ปฏิบัติการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เข้าใจหลักการออกแบบในการออกแบบบรรจุภัณฑ์



2. เข้าใจหลักการขนาดสัดส่วนสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



3. เข้าใจหลักการตลาด พฤติกรรมผู้ใช้สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



4. เข้าใจหลักการคุณสมบัติของวัสดุประเภทต่างๆสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



       1. เอกสารรายงานการออกแบบ การใช้เครื่องมือ สำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



       2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



       3. แฟ้มสะสมงาน



 (ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).



    1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการใช้เครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์



    2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



     1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์ ระดับ 4 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 4 ทุกหน่วยสมรรถนะทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (รูปเล่ม) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ idea Sketch)



(ง) วิธีการประเมิน



    1. พิจารณาหลักฐานความรู้



    2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



     N/A 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



         - Idea Sketch เป็นการนำเสนอแนวความคิดในการออกแบบในระยะเวลาสั้นๆ หรือการนำเสนอแนวความคิดเบื้องต้นตามโจทย์ที่ได้รับ หรือตามปัญหาที่ต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆผ่านการนำเสนอโดยภาพรวม ให้มีความหลากหลายของความคิดโดยมีรูปแบบของการสื่อสารความคิดสร้างสรรค์ด้วยภาพร่างการนำเสนอแนวทางการออกแบบก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและรูปแบบของงานนั้นๆด้วย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจในงานออกแบบนั้นด้วย ว่ามีแนวคิดในการออกแบบไปในแนวทางใดควรคำนึงถึงการอธิบายความหมายรูปแบบอย่างชัดเจนสามารถนำเสนอผ่านทางภาพวาดและตัวอักษร



         - แนวคิดสร้างสรรค์ที่แปลกและแตกต่าง คือการที่บุคคลสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อาทิตผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าการตีความเกี่ยวกับ ความแปลกและแตกต่าง ขึ่นอยู่กับผู้สร้าสรรค์หรือสังคม หรือแวทวงที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ่น กระประเมินคุณค่าก็ในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่ใช้มักใช้ในการตีความ “ความใหม่” 



         - หลักการองค์ประกอบศิลปะ เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใดๆก็ตามล้วนมีคุณค่ายอู่สองประการคือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และคุณค่าทางด้านเรื่องราว คุณค่าทางด้านรูปทรงเกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่างๆ อันได้แก่ เส้น สี แสง เงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเรียกว่า การจัด



         - หลักการทฤษฎีสี หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและ ผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะ เรื่องราวองสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง



        -มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก)  : มอก.เป็นคำย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้ กระบวนการในการออกแบบ



18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะกระบวนการในการออกแบบและวิธีคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน



ยินดีต้อนรับ