หน่วยสมรรถนะ
จัดทำรายงานแนวโน้มของกระแสนิยม พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อตอบสนองการตลาด
สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | AT18 |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดทำรายงานแนวโน้มของกระแสนิยม พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อตอบสนองการตลาด |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2564 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
นักออกแบบของเล่น |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถ ออกแบบของเล่น และจัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการของเล่น ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวงการของเล่น สร้างบรรยากาศและการจัดสภาวะแวดล้อมเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการออกแบบ ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต ทดสอบการประเมินผลิตภัณฑ์ของเล่นต้นแบบ เพื่อใช้ในการพัฒนาหน่วยงาน องค์กรและผลิตภัณฑ์ของเล่น |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
การออกแบบของเล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
AT181 จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการของเล่น | 1. รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกระแสนิยมเพื่อใช้ในการนำเสนอได้ | AT181.01 | 150166 |
AT181 จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการของเล่น | 2. เข้าใจทิศทาง การออกแบบในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการออกแบบของเล่นได้อย่างถูกต้อง | AT181.02 | 150167 |
AT181 จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการของเล่น | 3.จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยแนวโน้มของการออกแบบของเล่นได้ | AT181.03 | 150168 |
AT182 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการของเล่น | 1.วิเคราะห์งานออกแบบของเล่นจากทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับต้นทุนและคุณภาพของงานได้ | AT182.01 | 150169 |
AT182 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการของเล่น | 2.จัดเตรียมข้อมูลแนวความคิดใหม่เพื่อใช้ในการออกแบบและนำเสนอได้ | AT182.02 | 150170 |
AT182 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการของเล่น | 3.นำข้อมูลมาถ่ายทอดแนวความคิดเพื่อพัฒนาการออกแบบของเล่นได้ | AT182.03 | 150171 |
AT183 สร้างบรรยากาศและการจัดสภาวะแวดล้อมเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการออกแบบ | 1.สามารถสร้างสภาวะแวดล้อมของสถานที่ในทำงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบของเล่นเด็ก | AT183.01 | 150172 |
AT183 สร้างบรรยากาศและการจัดสภาวะแวดล้อมเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการออกแบบ | 2.วางหน่วยงาน กลุ่มงานที่มีความสอดคล้องกันให้อยู่ด้วยกันและสามารถประสานงานได้อย่างเหมาะสม | AT183.02 | 150173 |
AT184 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต | 1. สามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบเป็นขั้นตอน | AT184.01 | 150174 |
AT184 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต | 2. เข้าใจหลักการออกแบบ และหลักการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้อย่างชำนาญ | AT184.02 | 150175 |
AT184 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต | 3. ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิตได้ | AT184.03 | 150176 |
AT185 ทดสอบการประเมินผลิตภัณฑ์ของเล่นต้นแบบ | 1. สามารถทดสอบความแข็งแรงและความปลอดภัยของชิ้นงานของเล่นให้ได้ตามมาตรฐาน | AT185.01 | 150177 |
AT185 ทดสอบการประเมินผลิตภัณฑ์ของเล่นต้นแบบ | 2.วิเคราะห์ Simulation พร้อมทั้งแก้ปัญหาที่เจอจากการทดสอบได้อย่างถูกต้อง | AT185.02 | 150178 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ต้องมีความสามารถในการวาดภาพ และเข้าใจหลักการออกแบบของเล่นเด็ก ในเรื่องของพัฒนาการ ช่วงวัย และมาตรฐานความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกระแสนิยมเพื่อใช้ในการนำเสนอ .เข้าใจหลักการทฤษฏีในการออกแบบของเล่นสามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบเป็นขั้นตอน |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการของเล่น 2. ปฏิบัติการจัดทำถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. เข้าใจหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี 2. เข้าใจหลักการเข้าใจหลักการยศาสตร์ สัดส่วนและขนาด 3. เข้าใจหลักการพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ของเล่น 4. เข้าใจหลักการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมและปลอดภัย ตามมาตรฐานความปลอดภัย 5. เข้าใจหลักการกระแสนิยมในวงการของเล่นและหลักการทดสอบผลิตภัณฑ์ของเล่น |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารรายงานการจัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการของเล่นและการทดสอบผลิตภัณฑ์ของเล่น 2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง 3. แฟ้มสะสมงาน (ข) หลักฐานความรู้ (KnowledgeEvidence). 1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการออกแบบของเล่นผ่านการเสนอรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการของเล่นและการทดสอบผลิตภัณฑ์ของเล่น 2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบของเล่น ระดับ 5 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 5 ทุกหน่วยสมรรถนะทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (รูปเล่ม) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ idea Sketch) (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ N/A (ข) คำอธิบายรายละเอียด - วัฒนธรรมกระแสนิยม หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม โดยวัฒนธรรมสมัยนิยม มักจะมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง - แหล่งที่มาของข้อมูล หมายถึงเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์ ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง - สร้างบรรยากาศและการจัดสภาวะแวดล้อม เป็นสภาวะอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม แล้วส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคล เป็นสภาพการณ์ที่ไม่อาจมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่เป็นภาพสะท้อนทางความรู้สึกของบุคคล เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศดี" ในทางตรงกันข้าม เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศไม่ดี" - ทดสอบการประเมินผลิตภัณฑ์ เป็นการทดสอบก่อนที่สินค้าทุกชิ้นจะได้รับการประทับโลโก้ จะต้องสามารถนำมาใช้ได้ มันต้องพิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดนี่เป็นสิ่งที่เราปฏิบัติก่อนวางตลาด และต้องพัฒนาเครื่องจักร สำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างแท้จริงเครื่องจักรนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของธรรมเนียมปฏิบัติ ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นวิธีการหลักก่อนติดแบรนด์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 ข้อสอบสัมภาษณ์ เป็นข้อสอบที่วัดความรู้ ทางด้านการตลาดและการจัดจำหน่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ 18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ ในการนำเสนอ โน้มน้าวจิตใจและการเจรจาต่อรอง |