หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนากระบวนการคิดผ่านภาพร่างเพื่อใช้ในการออกแบบของเล่น

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AT14

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนากระบวนการคิดผ่านภาพร่างเพื่อใช้ในการออกแบบของเล่น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบของเล่น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถ นำความคิดจากการสร้างภาพร่างและสามารถระบุพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ของเล่นประเภทต่างๆ มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็ก การสร้างภาพร่างเป็นไปตามหลักการองค์ประกอบศิลปะ และเลือกใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีสีและเหมาะสมกับวัยของเด็ก เข้าใจมาตรฐานของขนาดสัดส่วนการยศาสตร์ของเด็กในแต่ละช่วงวัยและนำมาเลือกใช้ในการออกแบบของเล่นอย่างชำนาญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
การออกแบบของเล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
AT141 สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของเล่นแต่ละประเภท 1.ระบุพฤติกรรมการใช้งานของผู้เล่นประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้อง AT141.01 150112
AT141 สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของเล่นแต่ละประเภท 2.สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานผู้ใช้ของเล่นได้ AT141.02 150113
AT141 สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของเล่นแต่ละประเภท 3.เข้าใจและนำข้อมูลของพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยเพื่อนำเป็นแนวทางในออกแบบของเล่นได้ AT141.03 150114
AT142 ออกแบบของเล่นโดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ 1. มีแนวความคิดที่ใหม่ แปลก แตกต่าง และผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปในทางบวก AT142.01 150115
AT142 ออกแบบของเล่นโดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ 2.มีแนวคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็ก AT142.02 150116
AT142 ออกแบบของเล่นโดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ 3.ระบุแนวคิดเบื้องต้นของการออกแบบโดยใช้หลักการแนวคิดสร้างสรรค์ลงบนภาพร่างได้ AT142.03 150117
AT143 ออกแบบของเล่นโดยหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี 1.สามารถสร้างภาพร่างตามหลักการองค์ประกอบศิลปะได้ AT143.01 150118
AT143 ออกแบบของเล่นโดยหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี 2.เลือกใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีสีและเหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก AT143.02 150119
AT143 ออกแบบของเล่นโดยหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี 3.ระบุแนวคิดเบื้องต้นของการออกแบบโดยใช้หลักการองค์ประกอบศิลปะและทฤษฎีสีลงบนภาพร่าง AT143.03 150120
AT144 ออกแบบของเล่นโดยหลักการยศาสตร์ 1. เข้าใจมาตรฐานของขนาดสัดส่วนการยศาสตร์ของเด็กในแต่ละช่วงวัยและนำมาเลือกใช้ในการออกแบบของเล่นอย่างชำนาญ AT144.01 150121
AT144 ออกแบบของเล่นโดยหลักการยศาสตร์ 2. นำหลักการยศาสตร์มาออกแบบของเล่นเล่นอย่างชำนาญและถูกประเภทลักษณะของเล่น AT144.02 150122
AT145 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดการเลือกวัสดุ 1.เลือกใช้วัสดุและลดต้นทุนในการออกแบบของเล่นได้อย่างชำนาญและถูกต้อง AT145.01 150123
AT145 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดการเลือกวัสดุ 2.เลือกใช้วัสดุในการผลิตของเล่นได้อย่างคุ้มค่า AT145.02 150124
AT146 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดที่คำนึงด้านความปลอดภัย 1. เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ สีและของตบแต่งที่คำนึ่งถึงความปลอดภัยในการออกแบบ AT146.01 150125
AT146 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดที่คำนึงด้านความปลอดภัย 2. เลือกใช้มาตรฐานความปลอดภัยในการออกแบบของเล่นได้อย่างถูกต้อง (EN71, มอก., ASTM) AT146.02 150126
AT147 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม 1. ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า AT147.01 150127
AT147 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม 2.ระบุแนวคิดการออกแบบของเล่นโดยใช้แนวคิดที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อมไม่เป็นมลพิษกับสิ่งแวดล้อม AT147.02 150128

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ต้องมีความสามารถในการวาดภาพ และเข้าใจหลักการออกแบบของเล่นเด็ก ในเรื่องของพัฒนาการ ช่วงวัย และมาตรฐานความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำแบบร่างโดยใช้ทักษะทางด้านการวาดภาพ ลงสี กำหนดขนาด



2. ปฏิบัติการจัดทำแบบร่างโดยใช้ทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เข้าใจหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี



2. เข้าใจหลักการเข้าใจหลักการยศาสตร์  สัดส่วนและขนาด



3. เข้าใจหลักการพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ของเล่น



4. เข้าใจหลักการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมและปลอดภัย ตามมาตรฐานความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)



       1. เอกสารรายงานการออกแบบของเล่น ผ่านการเสนอภาพร่างแนวคิดและพัฒนาต่อยอดงาน



       2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง



 (ข) หลักฐานความรู้  (KnowledgeEvidence).



     1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการออกแบบของเล่นผ่านการเสนอภาพร่างแนวคิด



     2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



     1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบของเล่น ระดับ 4 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพระดับ 4 ทุกหน่วยสมรรถนะทดสอบโดยการสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (รูปเล่ม) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ idea Sketch)



(ง) วิธีการประเมิน



    1. พิจารณาหลักฐานความรู้



    2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



     N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     - การออกแบบของเล่นอย่างสร้างสรรค์ คือ สิ่งของที่สามารถจับต้องได้และให้ความเพลินเพลิน และสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินต้องรวมถึงความปลอดภัยจากการเล่นให้พัฒนาอย่างเหมาะสมตามวัยของเด็กและเมื่อเด็กเล่นแล้วเด็กเกิดความสุข



     - ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม คือ เป็นกระบวนการที่รวมแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนออกแบบ โดยพิจารณาตลอดทั้ง วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบ การผลิต การนำไปใช้ และการกำจัดทิ้งหลังการใช้งานเพื่อลดต้นทุนในทุกขั้นตอน มีการรพัฒนาผลิตภัณฑ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน



      - มาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตของเล่น U.S. Consumer Product Safety Commission



       - มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก)  : มอก.เป็นคำย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น 




  • มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71 : (EN = European Norm) Safety of toyเป็นมาตราฐานคุณภาพสินค่ยุโรปนส่วนที่เกี่ยวกับข้องเล่นที่รู้จักกันดีได้แก่ EN71-3:1995 Specification for Migration of Certain Element + A1:2000 และ EN71-9:2005 + A1:2007 Organic Chemical Compounds

  • ASTM : ASTM = American Society for Testing and Materials เป็นมตราฐานคุณภาพสินค้าอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับของเล่นและรู้จักกันดีได้แก่ ASEM F963-08 Standard Consumer Safety


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้กระบวนการและวิธีคิดที่เลือกใช้ในการออกแบบ



18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ ในการนำเสนอกระบวนการและวิธีคิดที่เลือกใช้ในการออกแบบ



           



ยินดีต้อนรับ