หน่วยสมรรถนะ
เสนอภาพร่างและแนวคิด (idea) การออกแบบของเล่น
สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | AT11 |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | เสนอภาพร่างและแนวคิด (idea) การออกแบบของเล่น |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2564 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพนักออกแบบของเล่น |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบของเล่นได้ โดยสามารถออกแบบของเล่นและเสนอภาพร่างแนวคิดจะได้ภาพร่างที่ผ่านกระบวนการคิด พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หลักทฤษฏีในการออกแบบ หลักการยศาสตร์ การเลือกใช้วัสดุ และหลักการด้านการพัฒนาและพฤติกรรมเด็กตามช่วงวัย |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
การออกแบบของเล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่าน มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71 , ASTM |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
AT111 ระบุพฤติกรรมของผู้ใช้ของเล่นแต่ละประเภทตามช่วงวัย | 1. ระบุพฤติกรรมของผู้ใช้ของเล่นแต่ละประเภทได้ | AT111.01 | 150083 |
AT111 ระบุพฤติกรรมของผู้ใช้ของเล่นแต่ละประเภทตามช่วงวัย | 2. นำข้อมูลของพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยมาใช้เป็นแนวทางสร้างภาพร่างในออกแบบของเล่นได้ | AT111.02 | 150084 |
AT111 ระบุพฤติกรรมของผู้ใช้ของเล่นแต่ละประเภทตามช่วงวัย | 3.นำเสนอแนวคิดเบื้องต้นในการออกแบบของเล่นจากพฤติกรรมการใช้ของเล่นได้ | AT111.03 | 150085 |
AT112 ออกแบบของเล่นโดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ (แปลกใหม่) | 1. เสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบของเล่น(ที่ใหม่ แปลก แตกต่าง) | AT112.01 | 150086 |
AT112 ออกแบบของเล่นโดยหลักการแนวคิดสร้างสรรค์ (แปลกใหม่) | 2. เสนอแนวคิดที่มีผลลัพธ์เป็นไปในทางบวก | AT112.02 | 150087 |
AT113 ออกแบบของเล่นโดยใช้หลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี | 1.อธิบายหลักการออกแบบของเล่นโดยหลักการองค์ประกอบศิลปะได้ | AT113.01 | 150088 |
AT113 ออกแบบของเล่นโดยใช้หลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี | 2.อธิบายหลักการออกแบบของเล่นโดยหลักการทฤษฎีสี | AT113.02 | 150089 |
AT113 ออกแบบของเล่นโดยใช้หลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี | 3.สร้างภาพร่างตามหลักการองค์ประกอบศิลปะ | AT113.03 | 150090 |
AT113 ออกแบบของเล่นโดยใช้หลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี | 4. เลือกใช้สีได้ถูกต้องตามหลักการทฤษฎีสี | AT113.04 | 150091 |
AT113 ออกแบบของเล่นโดยใช้หลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี | 5. เลือกใช้สีที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก | AT113.05 | 150092 |
AT114 ออกแบบของเล่นโดยหลักการยศาสตร์ (สัดส่วนร่างกายเด็กตามช่วงวัย) | 1.อธิบายลักษณะทางกายภาพของของเล่นได้ (รูปทรง วัสดุ สี ขนาด) | AT114.01 | 150093 |
AT114 ออกแบบของเล่นโดยหลักการยศาสตร์ (สัดส่วนร่างกายเด็กตามช่วงวัย) | 2.เสนอแนวคิดในการออกแบบของเล่นเบื้องต้นได้ | AT114.02 | 150094 |
AT114 ออกแบบของเล่นโดยหลักการยศาสตร์ (สัดส่วนร่างกายเด็กตามช่วงวัย) | 3. ระบุประโยชน์ใช้สอยลงบนภาพร่าง | AT114.03 | 150095 |
AT115 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดการเลือกวัสดุที่เหมาะสม | 1.ระบุค่ามาตรฐานของขนาดสัดส่วนการยศาสตร์ของเด็กในแต่ละช่วงวัยที่ใช้ในการออกแบบออกแบบของเล่นได้ | AT115.01 | 150096 |
AT115 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดการเลือกวัสดุที่เหมาะสม | 2. อธิบายหลักการยศาสตร์ในการใช้งานสำหรับการออกแบบของเล่นได้ | AT115.02 | 150097 |
AT116 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดการเลือกวัสดุ | 1. เลือกใช้วัสดุที่ปลอดภัยไม่อันตรายเหมาะกับช่วงวัยของเด็ก | AT116.01 | 150098 |
AT116 ออกแบบของเล่นโดยแนวคิดการเลือกวัสดุ | 2. อธิบายมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อการออกแบบของเล่นเด็กได้ (EN71 มอก. ASTM) | AT116.02 | 150099 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ต้องมีความสามารถในการวาดภาพ และเข้าใจหลักการออกแบบของเล่นเด็ก ในเรื่องของพัฒนาการตามช่วงวัยและมาตรฐานความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการจัดทำแบบร่างโดยใช้ทักษะทางด้านการวาดภาพ ลงสี กำหนดขนาด 2. ปฏิบัติการจัดทำแบบร่างโดยใช้ทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยการทำ Idea Sketch (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. เข้าใจหลักการองค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีสี 2. เข้าใจหลักการเข้าใจหลักการยศาสตร์ สัดส่วนและขนาดของมนุษย์ (วัยเด็ก) 3. เข้าใจหลักการพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ของเล่น 4. เข้าใจหลักการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมและปลอดภัย ตามมาตรฐานความปลอดภัย |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารรายงานการออกแบบของเล่นผ่านการเสนอภาพร่างแนวคิด 2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง (ข) หลักฐานความรู้ (KnowledgeEvidence). 1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการออกแบบของเล่นผ่านการเสนอภาพร่างแนวคิด 2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบของเล่น ระดับ 3 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพ ระดับ 3 ทุกหน่วยสมรรถนะ ทดสอบโดย การสัมภาษณ์ นำเสนอผลงาน (รูปเล่ม) สอบข้อเขียนแบบปรนัย และอัตนัย สอบปฏิบัติ (ใช้คอมพิวเตอร์และ idea Sketch) (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ N/A (ข) คำอธิบายรายละเอียด - Idea Sketch เป็นการนำเสนอแนวความคิดในการออกแบบในระยะเวลาสั้นๆ หรือการนำเสนอแนวความคิดเบื้องต้นตามโจทย์ที่ได้รับ หรือตามปัญหาที่ต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆ ผ่านการนำเสนอโดยภาพรวม ให้มีความหลากหลายของความคิด โดยมีรูปแบบของการสื่อสารความคิดสร้างสรรค์ด้วยภาพร่างการนำเสนอแนวทางการออกแบบก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและรูปแบบของงานนั้นๆด้วย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจในงานออกแบบนั้นด้วย ว่ามีแนวคิดในการออกแบบไปในแนวทางใดควรคำนึงถึงการอธิบายความหมายรูปแบบอย่างชัดเจนสามารถนำเสนอผ่านทางภาพวาดและตัวอักษร - หลักการยศาสตร์ คือ เป็นเรื่องการศึกษาสภาพการทำงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม การทำงานเป็นการพิจารณาว่าสถานที่ทำงานดังกล่าว ได้มีการออกแบบหรือปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วย หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เพื่อทำให้งานที่ต้องปฏิบัติดังกล่าว มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน แทนที่จะบังคับให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทนฝืนปฏิบัติงานนั้น ๆ ตัวอย่างง่าย ๆ ตัวอย่างหนึ่งได้แก่การเพิ่มระดับความสูงของโต๊ะทำงานให้สูงขึ้น เพื่อพนักงานจะได้ไม่ต้องก้มโน้มตัวเข้าใกล้ชิ้นงาน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการยศาสตร์ หรือนักการยศาสตร์ ( Ergonomist ) จึงเป็นผู้ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ทำงาน และการออกแบบ - แนวคิดสร้างสรรค์ที่แปลกและแตกต่าง หมายถึงการที่บุคคลสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อาทิตผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าการตีความเกี่ยวกับ ความแปลกและแตกต่าง ขึ่นอยู่กับผู้สร้าสรรค์หรือสังคม หรือแวทวงที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ่น กระประเมินคุณค่าก็ในทำนองเดียวกัน คุณสมบัติที่ใช้มักใช้ในการตีความ “ความใหม่” - หลักการองค์ประกอบศิลปะ เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใดๆก็ตามล้วนมีคุณค่ายอู่สองประการคือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และคุณค่าทางด้านเรื่องราว คุณค่าทางด้านรูปทรงเกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่างๆ อันได้แก่ เส้น สี แสง เงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเรียกว่า การจัด - หลักการทฤษฎีสี หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและ ผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะ เรื่องราวองสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง - ระเบียบความปลอดภัยของเล่น ได้บัญญัติความเสี่ยงของของเล่นไว้ 6 ด้าน และสารเคมีก็เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ผู้ผลิตต้องป้องกัน โดยสินค้าจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน EN 71-3 ที่มีการกำหนดขีดจากัด ปริมาณการรั่วไหล สูงสุดของธาตุ 8 ชนิดจาก (พลวง สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว ปรอท และ เซเลเนียม) วัสดุของเล่น เป็นต้น - มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น -มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71 (EN = European Norm) Safety of toy เป็นมาตราฐานคุณภาพสินค้ายุโรปนส่วนที่เกี่ยวกับข้องเล่นที่รู้จักกันดีได้แก่ EN71-3:1995 Specification for Migration of Certain Element + A1:2000 และ EN71-9:2005 + A1:2007 Organic Chemical Compounds - ASTM : ASTM = American Society for Testing and Materials เป็นมตราฐานคุณภาพสินค้าอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับของเล่นและรู้จักกันดีได้แก่ ASEM F963-08 Standard Consumer Safety |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 ข้อสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบเพื่อวัดความรู้ ทุกด้านที่ใช้ในการออกแบบ 18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะ ทุกด้านที่ใช้ในการออกแบบ |