หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลระบบเวชสถิติและสารสนเทศทางการแพทย์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-XBDB-389A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลระบบเวชสถิติและสารสนเทศทางการแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3252) นักเวชสถิติ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะจัดระบบและดูแลเอกสารหรือฐานข้อมูลทางเวชสถิติ รวมทั้งใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและรหัสต่างๆ ทางเวชสถิติ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเวชสถิติ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10405.01

ดูแลระบบเวชสถิติ

1.       จัดการข้อมูลผู้ป่วยนอกรายบุคคลในแบบแฟ้มและอิเล็กทรอนิกส์

10405.01.01 149753
10405.01

ดูแลระบบเวชสถิติ

2.  จัดทำข้อมูลพร้อมตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยใน รายบุคคลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG)

10405.01.02 149754
10405.02

ดูแลสารสนเทศทางการแพทย์

1.       ควบคุมระบบฐานข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์ 

10405.02.01 149755
10405.02

ดูแลสารสนเทศทางการแพทย์

2.       ตรวจสอบคุณภาพแฟ้มข้อมูลมาตรฐานกองทุน และรายงานผลการวิเคราะห์ระบบข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

10405.02.02 149756
10405.02

ดูแลสารสนเทศทางการแพทย์

3. ให้คำปรึกษาแนะนำการใช้โปรแกรมเพื่อจัดการข้อมูล  

10405.02.03 149757

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะในการจัดการระบบเวชสถิติ

  2. ทักษะในการจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ระบบข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

  3. ทักษะในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางเวชสถิติ

  4. ทักษะคำนวณกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม



 



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ในเรื่องโปรแกรมสำเร็จรูปทางเวชสถิติ

  2. ความรู้เรื่องระบบฐานข้อมูล

  3. ความรู้คำนวณกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

  2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง

  3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการทดสอบความรู้

  2. หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการ



รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น




  1. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้สอบครบทุกหน่วยสมรรถนะของระดับนี้  


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถบริหารจัดการระบบงานเวชสถิติได้อย่าง



ทั่วถึง สามารถดูแลฐานข้อมูลเวชสถิติได้อย่างปลอดภัย และมีทักษะในการใช้รหัสโรคผู้ป่วย รหัสหัตถการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย




  1. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ใน



หน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. แฟ้มข้อมูลมาตรฐานกองทุน หมายถึง แฟ้มมาตรฐาน 43 แฟ้ม ตามลักษณะงานการให้บริการ



2. โปรแกรมเพื่อจัดการข้อมูล หมายถึง  โปรแกรมสำหรับการสร้าง จัดการ และรวบรวมข้อมูล จากไฟล์



ต่างๆ โดยมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสร้างระบบสารสนเทศต่างๆ ได้ เพื่อให้ข้อมูลถูกจัดเก็บในรูป แฟ้มข้อมูล เช่น Crystal Report, HosXP, MySQL ,DB2, Access เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบแบบทดสอบความรู้



2. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



 



 



 



ยินดีต้อนรับ