หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการการตรวจประเมินคุณภาพขององค์กร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-SIIL-372A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการการตรวจประเมินคุณภาพขององค์กร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3341) นักพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ประสานงานด้านคุณภาพระหว่างส่วนงานภายในและภายนอกหน่วยงาน  ตรวจประเมินคุณภาพภายในหน่วยงาน  จัดทำรายงานการประเมินภายใน  โดยบริหารจัดการการตรวจประเมินคุณภาพขององค์กรอย่างมีจรรยาบรรณ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10105.01

ประเมินคุณภาพภายในหน่วยงาน

1.สำรวจและตรวจสอบความต้องการของผู้ป่วยและญาติในหน่วยงาน

10105.01.01 149581
10105.01

ประเมินคุณภาพภายในหน่วยงาน

2.ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการบริการของหน่วยงาน

10105.01.02 149582
10105.01

ประเมินคุณภาพภายในหน่วยงาน

3.ประเมินคุณภาพของหน่วยงาน

10105.01.03 149583
10105.01

ประเมินคุณภาพภายในหน่วยงาน

4.ประเมินการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน

10105.01.04 149584
10105.01

ประเมินคุณภาพภายในหน่วยงาน

5.ดำเนินการประเมินด้านต่างๆ อย่างมีระบบ โดยใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพ

10105.01.05 149585
10105.02

จัดทำรายงานการประเมินภายใน

1.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินต่างๆ 

10105.02.01 149586
10105.02

จัดทำรายงานการประเมินภายใน

2.สรุปและจัดทำรายงานการประเมินภายในหน่วยงาน

10105.02.02 149587
10105.03

ประสานงานด้านคุณภาพระหว่างส่วนงานภายในและภายนอกหน่วยงาน

1.ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอก

10105.03.01 149588
10105.03

ประสานงานด้านคุณภาพระหว่างส่วนงานภายในและภายนอกหน่วยงาน

2.ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารที่ใช้ในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

10105.03.02 149589
10105.04

บริหารจัดการการตรวจประเมินคุณภาพขององค์กรอย่างมีจรรยาบรรณ

1.กำหนดบทบาทผู้ตรวจประเมินอย่างเหมาะสมตามทักษะความสามารถ

10105.04.01 149590
10105.04

บริหารจัดการการตรวจประเมินคุณภาพขององค์กรอย่างมีจรรยาบรรณ

2.ดำเนินการตรวจประเมินด้วยความถูกต้องและเป็นกลาง 

10105.04.02 149591

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะสื่อสาร เช่น มาตรฐานระบบคุณภาพ ตัวชี้วัด และวิธีนำเสนอตัวชี้วัด การประเมิน



สภาพปัญหา สถานการณ์ในงาน การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า(RCA) และการเลือกใช้เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ ได้แก่เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ เช่น 5ส การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องโดยทุกคนมีส่วนร่วม(Kaizen) การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(CQI) การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า(RCA) การกำจัดความสูญเปล่า(Lean) และการประยุกต์ใช้เครื่องมือพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล



2. การเรียนรู้จากความผิดพลาด (learning from mistake)



      3. มีความเข้าใจในกระบวนการต่างๆ เช่น การประสานงาน การประเมินและสรุปผลการดำเนินการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน



     2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ



     3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ



     4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. ผลการสังเกตการณ์จากการปฏิบัติงาน



      2. ผลการทดสอบความรู้



      3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือ



      4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการ



รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น



2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการ



ประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนจำลองสถานการณ์ภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถปฏิบัติงานในการประสานงานการประเมิน



คุณภาพและจัดทำรายงานการประเมินต่อผู้บริหารภายในหน่วยงานได้ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย



2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ใน



หน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



บริหารจัดการการตรวจประเมินคุณภาพขององค์กร ตามมาตรฐานระบบคุณภาพ ตัวชี้วัด และวิธีนำเสนอตัวชี้วัด การประเมินสภาพปัญหา สถานการณ์ในงาน การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า(RCA) และการเลือกใช้เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ ได้แก่เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ เช่น 5ส การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องโดยทุกคนมีส่วนร่วม(Kaizen) การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(CQI) การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า(RCA) การกำจัดความสูญเปล่า(Lean) และการประยุกต์ใช้เครื่องมือพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ตามระบบคุณภาพที่โรงพยาบาลดำเนินการ อาทิ HA JCI ISO เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้



          2. ประเมินทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกจากการสังเกตการปฏิบัติงาน



          3. ใช้เอกสาร/หลักฐาน



ยินดีต้อนรับ