หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามและประเมินผล (Follow-up and Evaluation Service)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-SCYX-148B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามและประเมินผล (Follow-up and Evaluation Service)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ (ISCO 2423) (TSCO 2412.30)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถติดตามและประเมินผลการแนะแนว (Follow-up Service) โดยสามารถใช้เครื่องมือในการติดตามผล ตั้งแต่เริ่มติดต่อและนัดหมายผู้รับบริการแนะแนว เลือกใช้เครื่องมือได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการติดตามผล เก็บรวมรวบข้อมูลได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการติดตามผล พร้อมทั้งนำข้อมูลที่ได้ไปประเมินและสรุปผล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลจัดทำเป็นรายงานการติดตามผลการแนะแนวได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักแนะแนว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01161

ติดตามและประเมินผล ผู้มารับบริการ

1.1 ติดต่อและนัดหมายผู้รับบริการ

01161.01 174026
01161

ติดตามและประเมินผล ผู้มารับบริการ

1.2 เลือกใช้เครื่องมือได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการติดตามผล

01161.02 174027
01161

ติดตามและประเมินผล ผู้มารับบริการ

1.3 เก็บรวมรวบข้อมูลได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการติดตามผล

01161.03 174028
01161

ติดตามและประเมินผล ผู้มารับบริการ

1.4 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

01161.04 174029
01161

ติดตามและประเมินผล ผู้มารับบริการ

1.5 จัดทำรายงานการติดตามผล

01161.05 174030
01162

ติดตามและประเมินผลการให้บริการแนะแนว

2.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการติดตามและประเมินผลการให้บริการแนะแนว

01162.01 174031
01162

ติดตามและประเมินผลการให้บริการแนะแนว

2.2 เลือกใช้เครื่องมือได้ตรงตามวัตถุประสงค์

01162.02 174032
01162

ติดตามและประเมินผลการให้บริการแนะแนว

2.3 เก็บรวมรวบข้อมูลได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์

01162.03 174033
01162

ติดตามและประเมินผลการให้บริการแนะแนว

2.4 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

01162.04 174034
01162

ติดตามและประเมินผลการให้บริการแนะแนว

2.5 จัดทำรายงานการติดตามผล

01162.05 174035

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการแนะแนวและขอบข่ายของการแนะแนว

2) ทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

           1) ทักษะการใช้เครื่องมือในการติดตามผล

           2) ทักษะการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

           3) ทักษะการสรุปความ และการจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

           1) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดำเนินการติดตามผล

           2) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามผลประเภทต่าง ๆ 

           3) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงานสรุป


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

           หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

           แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

           ผลการประเมินภาคทฤษฎี และ/หรือ แฟ้มสะสมผลงาน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

           จัดการประเมินทางภาคทฤษฎี และตรวจแฟ้มสะสมผลงาน

(ง) วิธีการประเมิน

           แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

           ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

           การติดตามและประเมินผล เป็นบริการสุดท้ายที่มีขอบเขตในการประเมินความสำเร็จ ความล้มเหลว เจตคติ ข้อคิดเห็น ความต้องการ รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ของบุคคลที่ได้รับบริการแนะแนว โดยเลือกใช้เครื่องมือติดตามผลอย่างเหมาะสม เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงหรือพัฒนาบุคคลและการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

           เครื่องมือในการติดตามผล อาทิ การสัมภาษณ์ การสังเกต แบบสอบถาม การอภิปรายกลุ่ม การเขียนข้อความ การจัดสัมมนา 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ติดตามและประเมินผล ผู้มารับบริการ

           1. แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี 

           2. ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน 

           (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)  

18.2 ติดตามและประเมินผลการให้บริการแนะแนว

           1. แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี 

           2. ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน 

           (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



ยินดีต้อนรับ