หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-DMWO-146B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ (ISCO 2423) (TSCO 2412.30)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถทำการสัมภาษณ์เบื้องต้น (Intake Interview) เพื่อทราบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ รวมถึงสามารถให้คำปรึกษา (Counseling Service) ทั้งในรูปแบบการให้คำปรึกษารายบุคคลและรายกลุ่ม ครอบคลุมตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการให้คำปรึกษา ดำเนินการให้คำปรึกษา ตลอดจนยุติการปรึกษาหรือประสานส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งสามารถบันทึกและติดตามผลการให้คำปรึกษาทั้งแบบรายบุคคลและแบบรายกลุ่มได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักแนะแนว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01141

สัมภาษณ์เบื้องต้น (Intake Interview)

1.1 สัมภาษณ์เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

01141.01 174014
01141

สัมภาษณ์เบื้องต้น (Intake Interview)

1.2 สัมภาษณ์เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้น

01141.02 174015
01142

ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาและอาชีพ

2.1 เริ่มต้นกระบวนการให้คำปรึกษา

01142.01 174016
01142

ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาและอาชีพ

2.2 ดำเนินการให้คำปรึกษา

01142.02 174017
01142

ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาและอาชีพ

2.3 ยุติการให้คำปรึกษาหรือประสานส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

01142.03 174018
01142

ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาและอาชีพ

2.4 บันทึกและติดตามผลการให้คำปรึกษา

01142.04 174019

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างของการให้การให้คำปรึกษา การแนะแนวกับการแนะนำ  ธรรมชาติความแตกต่างระหว่างบุคคล และสาเหตุของปัญหา

2) ทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

           1) ทักษะการสัมภาษณ์เบื้องต้น

           2) ทักษะการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา

           3) ทักษะการประสานส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

           4) ทักษะการคิดเชิงระบบ 

           5) ทักษะการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

           1) ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการให้คำปรึกษา

           2) ความรู้เกี่ยวกับกลวิธีและเทคนิคที่ใช้ในการให้คำปรึกษา

           3) ความรู้เกี่ยวกับแหล่งหรือบุคคลที่เหมาะสมกับการส่งต่อผู้รับบริการ

           4) ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกและติดตามผลการให้คำปรึกษา

           5) ความรู้เรื่องจรรยาบรรณในการให้คำปรึกษา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

           หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

           แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

           ผลการประเมินภาคทฤษฎี และ/หรือ แฟ้มสะสมผลงาน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

           จัดการประเมินทางภาคทฤษฎี และตรวจแฟ้มสะสมผลงาน

(ง) วิธีการประเมิน

           แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

           ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

           บริการให้คำปรึกษามีขอบเขตการปฏิบัติงานทั้งการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลและการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ทั้งด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม โดยคำนึงถึงหลักจรรยาบรรณในการให้คำบริการปรึกษา รวมทั้งการส่งต่อผู้มาขอรับบริการให้แก่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกรณีที่มีความจำเป็น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

           1) การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Intake Interview) เป็นการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจากผู้รับบริการ และให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งยังไม่ได้มีปัญหาที่ลึกซึ้งหรือยุ่งยากมากนัก

           2) บริการให้คำปรึกษา คือ กระบวนการช่วยเหลือผู้ขอรับการปรึกษา ที่มีปัญหาหรือความต้องการอยากจะปรึกษา ทั้งในด้านการศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม หรือปัญหาอื่น ๆ โดยผู้ให้คำปรึกษาใช้เทคนิคและทักษะการให้คำปรึกษาต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ในการทำความเข้าใจและตัดสินใจแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 

           3) การให้คำปรึกษารายบุคคล คือ รูปแบบของการให้ความช่วยเหลือแบบตัวต่อตัว ประกอบด้วย 

ผู้ให้คำปรึกษา 1 คน และผู้รับบริการ 1 คน

           4) การให้คำปรึกษากลุ่ม คือ รูปแบบของการให้ความช่วยเหลือที่มีผู้ให้คำปรึกษา 1 คน และอาจมีผู้ร่วมให้คำปรึกษาอีก 1 คน (Co-counselor) และมีผู้มาขอรับบริการ 4 – 12 คน โดยจำนวนของผู้รับบริการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับช่วงวัยและลักษณะของปัญหา

           5) เทคนิคและทักษะการให้คำปรึกษา คือ วิธีการที่ผู้ให้คำปรึกษานำมาใช้กับผู้รับบริการ เพื่อให้การดำเนินการให้คำปรึกษาบรรลุเป้าหมาย อาทิ การสร้างสัมพันธภาพ การฟัง การเงียบ การตั้งคำถาม การทวนความ การสะท้อนความรู้สึก การให้ข้อมูล การสรุปความ

           6) จรรยาบรรณในการให้คำปรึกษา คือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติในการให้คำปรึกษา อาทิ ความเคารพในสิทธิ์และศักดิ์ศรี การไม่เลือกปฏิบัติ การเก็บรักษาความลับ

           7) การส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คือ การส่งต่อผู้รับบริการให้กับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในกรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้รับบริการควรได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาโรงเรียน นักพฤติกรรมบำบัด นักการศึกษาพิเศษ ฯลฯ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Intake Interview)

           1. แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี 

           2. ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน 

           (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน) 

18.2 การให้คำปรึกษาด้านการศึกษาและอาชีพ

           1. แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี 

           2. ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน 

           (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน) 



ยินดีต้อนรับ