หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สำรวจข้อมูลเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-AUGF-143B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สำรวจข้อมูลเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ (ISCO 2423) (TSCO 2412.30)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถสำรวจข้อมูลเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service) ทั้งในรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต ฯลฯ โดยสามารถเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา เก็บรวมรวบข้อมูลได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ และวิเคราะห์และสรุปผลการรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และในรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา บริหารจัดการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาในการเก็บข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ และวิเคราะห์ แปลผล และสรุปผลการรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้องผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถสำรวจข้อมูลเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service) ทั้งในรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต ฯลฯ โดยสามารถเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา เก็บรวมรวบข้อมูลได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ และวิเคราะห์และสรุปผลการรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และในรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา บริหารจัดการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาในการเก็บข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์ และวิเคราะห์ แปลผล และสรุปผลการรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักแนะแนว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01111

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต ฯลฯ

1.1 เลือกวิธีการได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา

01111.01 173997
01111

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต ฯลฯ

1.2 เก็บรวมรวบข้อมูลได้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์

01111.02 173998
01111

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต ฯลฯ

1.3 วิเคราะห์และสรุปผลการรวบรวมข้อมูล

01111.03 173999
01112

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา

2.1 เลือกใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา

01112.01 174000
01112

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา

2.2 บริหารจัดการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาในการเก็บข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์

01112.02 174001
01112

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา

2.3 วิเคราะห์ แปลผล และสรุปผลการรวบรวมข้อมูล

01112.03 174002

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการแนะแนวและขอบข่ายของการแนะแนว

2) ทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

           1) ทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล

           2) ทักษะการวิเคราะห์ แปลผล และสรุปผลการรวบรวมข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

           1) ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต ฯลฯ

           2) ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

           หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

           แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ รายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

           ผลการประเมินภาคทฤษฎี และ/หรือ แฟ้มสะสมผลงาน 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

           จัดการประเมินทางภาคทฤษฎี และตรวจแฟ้มสะสมผลงาน

(ง) วิธีการประเมิน

           แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

           ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

           1) การศึกษาและรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการแนะแนวสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต ฯลฯ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา

           2) การเก็บรวบรวมข้อมูลควรคำนึงถึงความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่จะนำมาใช้

           3) การเลือกใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาบางชนิดมีลิขสิทธิ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือทางจิตวิทยาบางชนิด จำเป็นต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่เคยได้รับการฝึกมาแล้ว

           4) ข้อมูลต่าง ๆ ของผู้รับบริการต้องถูกเก็บเป็นความลับ เว้นแต่ผู้รับบริการอนุญาตหรือยินยอมให้เผยแพร่

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

           1) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา อาทิ แบบทดสอบความถนัด (Aptitude Test) แบบทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Test) แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา (Intelligence Test) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test)

           2) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป อาทิ การสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์ (Interviewing) ระเบียนสะสม (Cumulative Record) การเยี่ยมบ้าน (Home Visit) สังคมมิติ (Sociometry) ฯลฯ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีทั่วไป เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต ฯลฯ

           1. แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี  

           2. ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน 

           (ดูรายละเอียดจากคูมือการประเมิน) 

18.2 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา

           1. แบบประเมินความรู้ภาคทฤษฎี 

           2. ตรวจแฟ้มสะสมผลงาน 

           (ดูรายละเอียดจากคูมือการประเมิน) 



ยินดีต้อนรับ