หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำอุปกรณ์ใช้กับช้าง

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-REXT-815A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำอุปกรณ์ใช้กับช้าง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำอุปกรณ์ใช้กับช้าง โดยสามารถทำอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง และทำอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง หมอช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40103.01

ทำอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง

1. อธิบายวิธีการทำ จัดเตรียม และใช้อุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง

40103.01.01 149494
40103.01

ทำอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง

2. อธิบายวิธีการทำ จัดเตรียม และใช้อุปกรณ์ด้วยมือ

40103.01.02 149495
40103.01

ทำอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง

3. อธิบายวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมช้างทำงานประจำวัน

40103.01.03 149496
40103.02

ทำอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง

1. อธิบายวิธีการทำอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง

40103.02.01 149497
40103.02

ทำอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง

2. อธิบายวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง

40103.02.02 149498

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการทำอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง

-    ทักษะในการดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมช้างทำงานประจำวัน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำอุปกรณ์ใช้กับช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะทำอุปกรณ์ใช้กับช้าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการทำอุปกรณ์ใช้กับช้าง เริ่มตั้งแต่ ทำอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง โดยอธิบายวิธีการทำอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง เช่น ตะขอ สายรัดประโคน แหย่ง วิธีการทำอุปกรณ์ด้วยมือ และวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมช้างทำงานประจำวัน รวมทั้ง ทำอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง โดยอธิบายวิธีการทำอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง เช่น ขอเบ็ด จะแคะ และวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องทำอุปกรณ์ใช้กับช้าง โดยอธิบายวิธีการทำอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง และอุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้างได้ 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    อุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันกับช้าง เช่น ตะขอ  สายรัดประโคน แหย่ง 

2.    อุปกรณ์ที่ใช้แก้ไขพฤติกรรมช้าง เช่น ขอเบ็ด จะแคะ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ