หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้าใจภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-MSGW-813A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้าใจภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นของความเข้าใจภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น ที่สามารถอธิบายลักษณะของภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น และอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมในท้องถิ่นได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง หมอช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40101.01

อธิบายลักษณะของภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น

1. อธิบายภูมิปัญญาในการเลี้ยงช้าง 

40101.01.01 149482
40101.01

อธิบายลักษณะของภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น

2. อธิบายภูมิปัญญาในการฝึกช้าง 

40101.01.02 149483
40101.01

อธิบายลักษณะของภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น

3. อธิบายภูมิปัญญาในการดูลักษณะของช้างที่เป็นมงคลและอัปมงคล

40101.01.03 149484
40101.02

อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมในท้องถิ่น

1. อธิบายวิธีการประกอบพิธีกรรมในท้องถิ่น 

40101.02.01 149485
40101.02

อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมในท้องถิ่น

2. อธิบายข้อห้ามในการประกอบพิธีกรรมได้ 

40101.02.02 149486

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการเลี้ยงช้าง

-    ทักษะในการฝึกช้าง

-    ทักษะในการประกอบพิธีกรรมในท้องถิ่น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น

-    ความรู้เกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมในท้องถิ่น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะความเข้าใจภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในที่เกี่ยวกับความเข้าใจภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่ อธิบายลักษณะของ

ภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น ภูมิปัญญาในการเลี้ยงช้าง เช่น การเลี้ยงลูกช้าง การเลี้ยงช้างท้อง การเลี้ยงช้างชรา ภูมิปัญญาในการฝึกช้าง เช่น วิธีการแยกแม่กับลูก การฝึกลูกช้าง และภูมิปัญญาในการดูลักษณะของช้างที่เป็นมงคลและอัปมงคล รวมถึงอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมในท้องถิ่น เช่น พิธีไหว้ศาลปะกำ พิธีเปิดปาเบิกไพร พิธีทำเชือกปะกำ พิธีตั้งชื่อช้าง การบายศรีสู่ขวัญ  พิธีทำบุญให้ช้าง รวมทั้ง อธิบายข้อห้ามในการประกอบพิธีกรรมได้ 

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องอธิบายลักษณะของภูมิปัญญาควาญช้างในท้องถิ่น และข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมในท้องถิ่น รวมถึงข้อห้ามในการประกอบพิธีกรรมได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ภูมิปัญญาควาญช้าง หมายถึง ูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการถ่ายทอด ความรู้ ทักษะและ วิธีปฏิบัติของชาวบ้านที่ได้มาจากประสบการณ์การฝึกเป็นควาญช้างและได้รับการถ่ายทอดการฝึก และดูแลช้าง 

2.    ภูมิปัญญาในการเลี้ยงช้าง เช่น การเลี้ยงลูกช้าง การเลี้ยงช้างท้อง การเลี้ยงช้างชรา

3.    ภูมิปัญญาในการฝึกช้าง เช่น วิธีการแยกแม่กับลูก การฝึกลูกช้าง

4.    การประกอบพิธีกรรมในท้องถิ่น เช่น พิธีไหว้ศาลปะกำ พิธีเปิดปาเบิกไพร พิธีลาไฟ พิธีทำเชือกปะกำ พิธีปลงเชือกปะกำ พิธีตั้งชื่อช้าง การบายศรีสู่ขวัญ  พิธีทำบุญให้ช้าง พิธีบวชนาค พิธีแห่ลูกแก้ว การวังช้าง การจัดเพนียด การโพนช้าง เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ