หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-BSRR-818A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว โดยสามารถอธิบายหลักการเข้าหาช้างให้กับนักท่องเที่ยว อธิบายข้อมูลการทำกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว และให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับช้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50103.01

อธิบายหลักการเข้าหาช้างให้กับนักท่องเที่ยว

1. แนะนำวิธีการส่งเสียงเรียกชื่อช้างเพื่อสร้างความคุ้นเคย

50103.01.01 149511
50103.01

อธิบายหลักการเข้าหาช้างให้กับนักท่องเที่ยว

2. แนะนำวิธีการสัมผัสช้างอย่างอ่อนโยนปราณี

50103.01.02 149512
50103.01

อธิบายหลักการเข้าหาช้างให้กับนักท่องเที่ยว

3. แนะนำวิธีการเข้าหาในด้านที่ช้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน และไม่ทำให้ช้างตกใจ

50103.01.03 149513
50103.01

อธิบายหลักการเข้าหาช้างให้กับนักท่องเที่ยว

4. แนะนำข้อควรระวังที่อาจทำให้ช้างหงุดหงิด

50103.01.04 149514
50103.01

อธิบายหลักการเข้าหาช้างให้กับนักท่องเที่ยว

5. แนะนำข้อควรระวังการโบกสะบัดของใบหู หาง และการเข้าหาช้างที่มีงายาว

50103.01.05 149515
50103.02

อธิบายข้อมูลการทำกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว

1. แนะนำขีดจำกัดในการรับน้ำหนักของช้าง

50103.02.01 149516
50103.02

อธิบายข้อมูลการทำกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว

2. อธิบายการปฏิบัติตัวบนหลังช้างทั้งแบบนั่งแหย่งและไม่มีแหย่ง

50103.02.02 149517
50103.02

อธิบายข้อมูลการทำกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว

3. อธิบายการขึ้นลงช้างอย่างปลอดภัย 

50103.02.03 149518
50103.02

อธิบายข้อมูลการทำกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว

4. อธิบายเส้นทางเดิน และข้อควรระวังกรณีมีการขึ้นเขาหรือลงเนินที่ค่อนข้างชัน

50103.02.04 149519
50103.03

ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับช้าง

1. อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของช้าง

50103.03.01 149520
50103.03

ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับช้าง

2. อธิบายข้อมูลทางชีววิทยาของช้างได้

50103.03.02 149521

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการเข้าหาช้าง

-    ทักษะในการพาช้างทำกิจกรรมร่วมกับนักท่องเที่ยว

-    ทักษะในการอธิบายข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยว

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักการเข้าหาช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการพาช้างทำกิจกรรม

-    ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับช้าง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์และสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว เริ่มตั้งแต่ อธิบายหลักการเข้าหาช้างให้กับนักท่องเที่ยว โดยแนะนำวิธีการส่งเสียงเรียกชื่อช้างเพื่อสร้างความคุ้นเคย วิธีการสัมผัสช้างอย่างอ่อนโยนปราณี วิธีการเข้าหาในด้านที่ช้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน และไม่ทำให้ช้างตกใจ เช่น ด้านข้าง และเตือนถึงการเข้าหาช้างที่ไม่ควรทำ เช่นการเข้าหาด้านหลังหรืออยู่ระหว่างตาที่เป็นจุดอับการมองเห็น ข้อควรระวังที่อาจทำให้ช้างหงุดหงิด เช่น ไม่ทำท่าหลอกล่อด้วยอาหาร และข้อควรระวังการโบกสะบัดของใบหู หาง และการเข้าหาช้างที่มีงายาว รวมถึง อธิบายข้อมูลการทำกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว โดยอธิบายการคำนึงถึงความเหมาะสมของน้ำหนักตัวของนักท่องเที่ยวเทียบกับขนาดของช้าง เช่น น้ำหนักนักท่องเที่ยว ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวช้าง การปฏิบัติตัวบนหลังช้างทั้งแบบนั่งแหย่งและไม่มีแหย่ง  การขึ้นลงช้างอย่างปลอดภัย และเส้นทางเดิน และข้อควรระวังกรณีมีการขึ้นเขาหรือลงเนินที่ค่อนข้างชัน รวมทั้งให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับช้าง เช่น พฤติกรรมของช้าง และข้อมูลทางชีววิทยาของช้าง เป็นต้น



(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว โดย อธิบายหลักการเข้าหาช้างให้กับนักท่องเที่ยว อธิบายข้อมูลการทำกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว และให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับช้าง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    วิธีการเข้าหาช้างสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น การไม่เข้าหาช้างด้านหลังหรืออยู่ระหว่างตาที่เป็นจุดอับการมองเห็น

2.    ข้อควรระวังที่อาจทำให้ช้างหงุดหงิด เช่น การไม่ทำท่าหลอกล่อช้างด้วยอาหาร 

3.    ข้อควรระวังการโบกสะบัดของใบหู หาง หมายถึง หมายถึง ช้างปกติจะโบกหูสบัดหางตลอดเวลา ดังนั้นการเข้าหาช้างจะต้องระวังไม่ให้ได้รับอันตรายจากพฤติกรรมนี้... เช่น หากต้องการเข้าด้านข้างใกล้หูจะต้องให้ควาญช้างช่วยจับหูให้นิ่ง เช่นกันถ้าต้องการเข้าหาช้างด้านหลังเพื่อทำหัตถการเช่นล้วงสวนทวาร ก็ต้องให้ควาญจับหางให้นิ่งเพื่อไม่ให้ช้างสะบัดหางมาโดนผู้ปฏิบัติงาน

4.     การเข้าหาช้างที่มีงายาว งาเป็นอวัยวะที่สามารถทำอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ง่ายดังนั้นหากเข้าหาช้างด้านหน้าต้องระวังส่วนนี้เป็นพิเศษ ได้แก่ ถ้าต้องการเข้าข้างด้านหน้าจะต้องควบคุมช้างให้อยู่นิ่ง หากจำเป็นต้องให้ช้างเข้าซอง หรือมัดคอช้างติดเสาหรือต้นไม้ใหญ่ เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนหน้าช้างให้ได้มากที่สุดลดการสะบัดหรือพุ่งไปด้านหน้าเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

5.    การคำนึงถึงความเหมาะสมของน้ำหนักตัวของนักท่องเที่ยวเทียบกับขนาดของช้าง เช่น น้ำหนักตัวของนักท่องเที่ยวไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวช้าง

6.    ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับช้าง หมายถึง ข้อมูลประจำตัวช้าง เช่น ชื่อ อายุ เพศ วันเกิด พ่อ- แม่ พี่น้อง นิสัย พฤติกรรม ประเภทของการทำงาน ประวัติการทำงาน ประวัติการได้มา ฯลฯ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ