หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-PPKW-812A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น โดยสามารถจัดการบาดแผลเบื้องต้น จัดหาจัดเตรียมยาที่จะใช้รักษาตามคำแนะนำสัตวแพทย์ รวมทั้งช่วยเหลืองานทางด้านสัตวแพทย์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30102.01

จัดการบาดแผลเบื้องต้น

1. ทำแผล/ล้างแผล ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

30102.01.01 149474
30102.01

จัดการบาดแผลเบื้องต้น

2. ขอความช่วยเหลือ/คำแนะนำการจัดการบาดแผลจากสัตวแพทย์

30102.01.02 149475
30102.02

จัดหาจัดเตรียมยาที่จะใช้รักษาตามคำแนะนำสัตวแพทย์

1. ปรึกษาการใช้ยากับสัตวแพทย์ก่อนทุกครั้ง

30102.02.01 149476
30102.02

จัดหาจัดเตรียมยาที่จะใช้รักษาตามคำแนะนำสัตวแพทย์

2. ป้อนยากินให้ช้างได้

30102.02.02 149477
30102.02

จัดหาจัดเตรียมยาที่จะใช้รักษาตามคำแนะนำสัตวแพทย์

3. ทายาที่ใช้ภายนอกให้ช้างได้

30102.02.03 149478
30102.02

จัดหาจัดเตรียมยาที่จะใช้รักษาตามคำแนะนำสัตวแพทย์

4. เก็บรักษายาให้ถูกต้องและบำรุงรักษาเวชภัณฑ์ในการรักษาเบื้องต้น

30102.02.04 149479
30102.03

ช่วยเหลืองานทางด้านสัตวแพทย์

1. บังคับช้างให้อยู่นิ่งเพื่อเอื้อต่อการรักษา

30102.03.01 149480
30102.03

ช่วยเหลืองานทางด้านสัตวแพทย์

2. ช่วยเหลืองานหัตถการกับสัตวแพทย์

30102.03.02 149481

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น

-    ทักษะในการจัดการบาดแผลเบื้องต้น

-    ทักษะในการป้อนยาให้ช้าง

-    ทักษะในการทายาภายนอกให้ช้าง

-    ทักษะในการบังคับช้างให้อยู่นิ่งเพื่อเอื้อต่อการรักษา

-    ทักษะในการช่วยเหลืองานหัตถการกับสัตวแพทย์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีจัดการบาดแผลเบื้องต้น เช่น แผลสด แผลหนอง แผลฝี เป็นต้น

-    ความรู้เกี่ยวกับการป้อนยาให้ช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับการทายาภายนอกให้ช้าง เช่น ยานวด ยาหยอดตา ยาแช่เท้า เป็นต้น

-    ความรู้เกี่ยวกับการบังคับช้างให้อยู่นิ่งเพื่อเอื้อต่อการรักษา เช่น การยกเท้า การนอนหมอบ การนอนตะแคง การยืนนิ่ง การอ้าปาก เป็นต้น

-    ความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลืองานหัตถการกับสัตวแพทย์ เช่น     การดูแลและเปลี่ยนน้ำเกลือ การเก็บตัวอย่างปัสสาวะและมูล เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์และสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ จัดการบาดแผลเบื้องต้น โดย สามารถทำแผล/ล้างแผล ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ และขอความช่วยเหลือ/คำแนะนำ การจัดการบาดแผลจากสัตวแพทย์ การจัดหาจัดเตรียมยาที่จะใช้รักษาตามคำแนะนำสัตวแพทย์ โดยปรึกษาการใช้ยากับสัตวแพทย์ก่อนทุกครั้ง การป้อนยาให้ช้าง การทายาภายนอกให้ช้าง การใช้ยานวด การใช้ยาหยอดตาและล้างตา และการใช้ยาแช่เท้า การเก็บรักษายาให้ถูกต้องและบำรุงรักษาเวชภัณฑ์ในการรักษาเบื้องต้น รวมถึงการช่วยเหลืองานทางด้านสัตวแพทย์ โดยการบังคับช้างให้อยู่นิ่งเพื่อเอื้อต่อการรักษา เช่น การยกเท้า การนอนหมอบ การนอนตะแคง การยืนนิ่ง การอ้าปาก การกังคอ เป็นต้น และช่วยเหลืองานหัตถการกับสัตวแพทย์ เช่น การดูแลและเปลี่ยนน้ำเกลือ การเก็บตัวอย่างปัสสาวะและมูล การเฝ้าสังเกตการณ์ตามที่ได้รับการแนะนำ เป็นต้น

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น โดย จัดการบาดแผลเบื้องต้น จัดหาจัดเตรียมยาที่จะใช้รักษาตามคำแนะนำสัตวแพทย์ และช่วยเหลืองานทางด้านสัตวแพทย์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    การปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้น หมายถึง การระบุขอความช่วยเหลือ/คำแนะนำ การจัดการปฐมพยาบาลช้างเบื้องต้นจากสัตวแพทย์ เช่น การล้างตัว การลดอุณหภูมิ การนวดตัว การล้วงทวาร 

2.    การจัดการบาดแผลเบื้องต้น หมายถึง การจัดการบาดแผลในรูปแบบต่างๆเมื่อผ่านการจำแนกชนิดบาดแผลได้แล้ว เช่น 

       2.1 แผลสด - การห้ามเลือด การล้างแผล การใส่ยา การปิดแผล

       2.2 แผลหนอง เนื้อตาย - การห้ามเลือด การขัดแผล การล้างแผล การใส่ยา การปิดแผล

       2.3 แผลฝี - การนวด การเปิดผ่า การห้ามเลือด การล้างแผล การใส่ยา การปิดแผล

       2.4 แผลอื่นๆ เช่น แผลติดแมลง แผลทะลุ

3.    การใช้ยาภายนอกให้ช้าง เช่น ยานวด ยาหยอดตาและล้างตา ยาแช่เท้า

4.    การบังคับช้างให้อยู่นิ่งเพื่อเอื้อต่อการรักษา ได้แก่ เช่น การยกเท้า การนอนหมอบ การนอนตะแคง การยืนนิ่ง การอ้าปาก การกังคอ เป็นต้น รวมถึงการควบคุมดูแลช้างไม่ให้เกิดอัตรายต่อตัวช้าง และผู้ปฏิบัติงานโดยรอบ

5.    การช่วยเหลืองานหัตถการกับสัตวแพทย์ เช่น การดูแลและช่วยเหลือในการทำหัตการที่ต่อเนื่อง เช่น การดูและและเปลี่ยนน้ำเกลือ การเก็บตัวอย่างปัสสาวะและมูล การเฝ้าสังเกตการณ์ตามที่ได้รับการแนะนำ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ