หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สังเกตและประเมินสุขภาพช้างเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-UXXS-811A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สังเกตและประเมินสุขภาพช้างเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้น โดยสามารถสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้างได้ สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง รวมทั้งสังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้างที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพของช้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
- สัตวบาล (ช้าง)- ผู้ช่วยสัตวแพทย์ (ช้าง) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30101.01

สังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง

1. สังเกตและประเมินผิวหนังของช้างเพื่่อตรวจหาความผิดปกติที่ปรากฎเห็นภายนอก

30101.01.01 149462
30101.01

สังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง

2. สังเกตและประเมินเล็บและฝ่าตีน

30101.01.02 149463
30101.01

สังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง

3. สังเกตและประเมินตาช้างว่ามีความผิดปกติในดวงตาหรือไม่

30101.01.03 149464
30101.02

สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง

1. สังเกตถึงท่าทางและการแสดง ออกของช้างว่าเป็นปกติหรือไม่

30101.02.01 149465
30101.02

สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง

2. สังเกตการกินอาหารและน้ำ การขับถ่าย ในเชิงของปริมาณและความถี่

30101.02.02 149466
30101.02

สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง

3. สังเกตการการนอน

30101.02.03 149467
30101.02

สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง

4. สังเกตพฤติกรรมที่เกิดจากโรค

30101.02.04 149468
30101.03

สังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้าง

1. สังเกตและประเมินลักษณะทางกายภาพของสิ่งขับถ่ายของช้างได้

30101.03.01 149469
30101.03

สังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้าง

2. สังเกตสารคัดหลั่งที่ออกจากร่างกายที่ผิดแผกไปจากปกติ

30101.03.02 149470
30101.04

สังเกตและประเมินสภาพแวดล้อม และกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของช้าง

1. ตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมและกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของช้าง

30101.04.01 149471
30101.04

สังเกตและประเมินสภาพแวดล้อม และกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของช้าง

2. ประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อสวัสดิภาพของช้างได้

30101.04.02 149472
30101.04

สังเกตและประเมินสภาพแวดล้อม และกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของช้าง

3. ลดความเสี่ยงเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของช้างได้

30101.04.03 149473

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการสังเกตและประเมินลักษณะกายภาพภายนอกของตัวช้าง เช่น การระบุถึงอวัยวะ และ/หรือ ส่วนของร่างกาย และ/หรือ ตำแหน่ง กายภาพภายนอกช้างที่พึ่งต้องสังเกตและประเมินได้  การบ่งชี้ถึง บาดแผล; ตำแหน่ง ขนาด ลักษณะและองค์ประกอบของบาดแผล เช่น เลือด หนอง เนื้อตาย สี กลิ่น หนอนแมลง ความสกปรก บ่งชี้ถึง สิ่งแปลกปลอมหรือความผิดปกติอื่นๆ ที่สามารถเห็นได้จากภายนอก เช่น กิ่งไม้ เศษไม้ เศษวัสดุต่างๆ ที่อาจจะปรากฎบนร่างกายของช้าง การสั่นกระตุก เกร็ง ชัก ของส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของร่างกาย เป็นต้น

-    ทักษะในการสังเกตและประเมินพฤติกรรมช้าง

-    ทักษะในการสังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้าง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสังเกตและประเมินลักษณะกายภาพภายนอกของตัวช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสังเกตและประเมินพฤติกรรมช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้าง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้น โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์และสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ สังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง โดยสังเกตและประเมินผิวหนังของช้างเพื่่อตรวจหาความผิดปกติที่ปรากฎเห็นภายนอก เช่น บาดแผล ปรสิตภายนอก ฝี การบวม การช้ำ สิ่งแปลกปลอมหรือความผิดปกติต่างที่เห็นได้จากภายนอก เป็นต้น   สังเกตและประเมินเล็บและฝ่าตีน เช่น เล็บยาวผิดปกติหรือไม่ มีรอยแตกหรือบาดแผลหรือไม่ สีของเล็บ ไรเล็บหนาหรือแตกหรือมีแผล ความหนาของชั้นฝ่าตีน เป็นต้น รวมทั้งสังเกตและประเมินตาช้างว่ามีความผิดปกติในดวงตาหรือไม่ เช่น น้ำตาไหลผิดปกติ มีขนตายาวผิดปกติหรือไม่ การสังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง โดยสังเกตถึงท่าทางและการแสดงออกของช้าง การกินอาหารและน้ำ การขับถ่าย ในเชิงของปริมาณและความถี่ การนอน และพฤติกรรมที่เกิดจากโรค เช่น อาการคัน อาการเจ็บปวด อาการทางระบบประสาท เป็นต้น รวมถึงการสังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้าง โดยสังเกตและประเมินลักษณะทางกายภาพของสิ่งขับถ่ายของช้าง เช่น ปัสสาวะ โดยสังเกต สี ความขุ่นใส ตระกอน กลิ่น และสิ่งแปลกปลอม หรือมูล โดยสังเกตลักษณะเนื้อมูล กลิ่น สี สิ่งแปลกปลอม และอาหารที่ไม่ย่อย เป็นต้น รวมทั้งการสังเกตสารคัดหลั่งที่ออกจากร่างกาย เช่น น้ำตา น้ำลาย เมือกจากอวัยวะสืบพันธุ์ เลือด เป็นต้น ที่ผิดแผกไปจากปกติ 

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้น โดยสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง และสังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้างได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    การสังเกตและประเมินลักษณะกายภาพภายนอกของตัวช้าง ได้แก่

-    การระบุถึงอวัยวะ และ/หรือ ส่วนของร่างกาย และ/หรือ ตำแหน่ง กายภาพภายนอกช้างที่พึ่งต้องสังเกตและประเมินได้

-    การบ่งชี้ถึง บาดแผล; ตำแหน่ง ขนาด ลักษณะและองค์ประกอบของบาดแผล เช่น เลือด หนอง เนื้อตาย สี กลิ่น หนอนแมลง ความสกปรก ฯลฯ

-    การบ่งชี้ถึง ฝี; ตำแหน่ง ขนาด อาการร้อน บวม แดง ของการอักเสบ เจ็บ

-    การบ่งชี้ถึง การบวม; ตำแหน่ง ขนาด อาการร้อน บวม แดง ของการอักเสบ เจ็บ

-    การบ่งชี้ถึง การช้ำ; ตำแหน่ง ขนาด สี อาการร้อน บวม แดง ของการอักเสบ เจ็บ

-    การบ่งชี้ถึง ปรสิตภายนอก; ลักษณะปรสิตที่พบได้ ตำแหน่ง ปริมาณ

-    การบ่งชี้ถึง สิ่งแปลกปลอมหรือความผิดปกติอื่นๆ ที่สามารถเห็นได้จากภายนอก เช่น กิ่งไม้ เศษไม้ เศษวัสดุต่างๆ ที่อาจจะปรากฎบนร่างกายของช้าง การสั่นกระตุก เกร็ง ชัก ของส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของร่างกาย

-    การบ่งชี้ถึงลักษณะของเล็บที่ผิดปกติไป เช่น การแตก การร้าว การเกิดสัน การเจริญที่ผิดปกติยึดยาวหรือผิดทิศทาง ไรเล็บหนา พื้นเล็บมีรอยและแผล เป็นต้น

-    การบ่งชี้ถึงลักษณะของฝ่าตีนที่ผิดปกติไป เช่น ฝ่าตีนหนาหรือบาง พื้นฝ่าเท้ามีรอยและแผล เป็นต้น 

-    การบ่งชี้ถึงความผิกปกติที่อาจจะเกิดขึ้นกับตาช้าง เช่น น้ำตาไหลอย่างมาก ฟองน้ำตา ตาปิด หนังตากระตุก แผล ตาขุ่น ตาแห้ง สิ่งแปลกปลอม

2.    ความผิดปกติบริเวณผิวหนังของช้างที่ปรากฎเห็นภายนอก ได้แก่ บาดแผล ปรสิตภายนอก ฝี การบวม การช้ำ หรือสิ่งแปลกปลอมหรือความผิดปกติต่างที่เห็นได้จากภายนอก เช่น  การยืนไม่เต็มฝ่าตีน การยืนโก้งตัว การยืนโดยใช้งวงช่วยค้ำยัน การยืนเอียงด้านใดด้านหนึ่งหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรยางค์หรือร่างกายกายไม่อยู่ในแนวปกติ การเดินกระแพรก ไม่วางเท้าในขณะเดิน เดินช้าหรือไวกว่าปกติ ไม่อยากเดิน การเดินเอียง มีเสียงผิดปกติขณะเดิน การไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่ปกติ เช่น ยืนหลับกลางวัน ไม่โบกสบัดหูหรือหาง การใช้งวงเหรือพ่นลม น้ำ ดิน ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดของร่างกาย ร้องเมื่อมีการขยับหรือสัมผัสส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เป็นต้น

3.    ความผิดปกติบริเวณเล็บและฝ่าตีน เช่น เล็บยาวผิดปกติ มีรอยแตกหรือบาดแผล สีของเล็บ ไรเล็บหนา แตกหรือมีแผล ความหนาของชั้นฝ่าตีน เป็นต้น

4.    ความผิดปกติบริเวณดวงตาของช้าง เช่น น้ำตาไหลผิดปกติ หรือมีขนตายาวผิดปกติ

5.    พฤติกรรมที่เกิดจากโรคของช้าง ได้แก่ อาการคัน อาการเจ็บปวด อาการทางระบบประสาท เป็นต้น

6.    สิ่งผิดปกติจากตัวช้าง ได้แก่ สิ่งขับถ่ายของช้าง เช่น ปัสสาวะ ที่มีความผิดปกติของสี ความขุ่นใส ตระกอน กลิ่น หรือ สิ่งแปลกปลอม เป็นต้น มูลช้าง ที่อาจมีความผิดปกติของลักษณะเนื้อมูล กลิ่น สี สิ่งแปลกปลอม หรืออาหารที่ไม่ย่อย เป็นต้น และสารคัดหลั่งที่ออกจากร่างกายอื่นๆ เช่น น้ำตา น้ำลาย เมือกจากอวัยวะสืบพันธุ์ น้ำเชื้อ หรือเลือด ที่ผิดแผกไปจากปกติ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ