หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ฝึกและควบคุมช้าง

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-IMBL-807A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ฝึกและควบคุมช้าง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการฝึกและควบคุมช้าง โดยสามารถเข้าหาช้างได้อย่างปลอดภัย ฝึกหัดช้างขั้นพื้นฐาน ควบคุมช้างบนพื้น และควบคุมบังคับบนคอช้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง ครูฝึกช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20102.01

เข้าหาช้างได้อย่างปลอดภัย

1. เลือกวิธีในการเข้าหาช้างได้ถูกต้องตามพฤติกรรมของช้าง

20102.01.01 149427
20102.01

เข้าหาช้างได้อย่างปลอดภัย

2. อธิบายวิธีเข้าหาช้างจากด้านหน้า

20102.01.02 149428
20102.01

เข้าหาช้างได้อย่างปลอดภัย

3. อธิบายวิธีเข้าหาช้างจากด้านข้าง

20102.01.03 149429
20102.01

เข้าหาช้างได้อย่างปลอดภัย

4. อธิบายวิธีเข้าหาช้างจากด้านหลัง

20102.01.04 149430
20102.02

ฝึกหัดช้างขั้นพื้นฐาน

1. ฝึกช้างให้รู้จักคำสั่ง

20102.02.01 149431
20102.02

ฝึกหัดช้างขั้นพื้นฐาน

2. ฝึกช้างให้ปฏิบัติตามท่ามาตรฐาน 

20102.02.02 149432
20102.02

ฝึกหัดช้างขั้นพื้นฐาน

3. ฝึกช้างให้สามารถรับการตรวจรักษาพยาบาล 

20102.02.03 149433
20102.02

ฝึกหัดช้างขั้นพื้นฐาน

4. ฝึกช้างให้คุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ควบคุม 

20102.02.04 149434
20102.03

ควบคุมช้างบนพื้น

1. สื่อสารกับช้างได้ขณะเดินไปด้วยกัน

20102.03.01 149435
20102.03

ควบคุมช้างบนพื้น

2. สื่อสารกับช้างได้ขณะยืนอยู่ห่างออกไปในระยะที่พอได้ยินเสียง

20102.03.02 149436
20102.03

ควบคุมช้างบนพื้น

3. แสดงท่าทางเพื่อสื่อสารกับช้างได้ในระยะสายตา

20102.03.03 149437
20102.04

ควบคุมบังคับบนคอช้าง

1. ทรงตัวบนคอช้างได้

20102.04.01 149438
20102.04

ควบคุมบังคับบนคอช้าง

2. เข้าใจสัญญาณท่าทางลักษณะของช้าง

20102.04.02 149439
20102.04

ควบคุมบังคับบนคอช้าง

3. ใช้อุปกรณ์บังคับช้างบนคอช้างได้อย่างปลอดภัย

20102.04.03 149440

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการเข้าหาช้าง

-    ทักษะในการฝึกหัดช้างขั้นพื้นฐาน

-    ทักษะในการควบคุมช้างบนพื้น

-    ทักษะในการควบคุมช้างบนพื้น

-    ทักษะในการควบคุมช้างบนพื้น

-    ทักษะในการสื่อสารกับช้าง

-    ทักษะในการใช้อุปกรณ์บังคับช้าง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเข้าหาช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการควบคุมช้างบนพื้น

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการควบคุมช้างบนพื้น

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการควบคุมช้างบนพื้น

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสื่อสารกับช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้อุปกรณ์บังคับช้าง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการฝึกและควบคุมช้าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์และสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการฝึกและควบคุมช้าง เริ่มตั้งแต่ เข้าหาช้างได้อย่างปลอดภัย โดยเลือกวิธีในการเข้าหาช้างได้ถูกต้องตามพฤติกรรมของช้าง จากด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ฝึกหัดช้างขั้นพื้นฐาน โดยฝึกช้างให้ปฏิบัติตามท่ามาตรฐาน เช่น ยืนนิ่ง นอนตะแคง  นอนหมอบ อ้าปาก ยกเท้า เป็นต้น และฝึกช้างให้สามารถรับการตรวจรักษาพยาบาล เช่น จับใบหู ล้วงทวารหนัก หยอดตา เป็นต้น รวมทั้งฝึกช้างให้คุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ควบคุม เช่น โซ่/เชือก เป็นต้น การควบคุมช้างบนพื้น โดยสามารถสื่อสารกับช้างได้ขณะเดินไปด้วยกัน หรือขณะยืนอยู่ห่างออกไปในระยะที่พอได้ยินเสียง  รวมถึงการควบคุมบังคับบนคอช้าง โดยต้องทรงตัวบนคอช้างได้ เข้าใจสัญญาณท่าทางลักษณะของช้าง และใช้อุปกรณ์บังคับช้างบนคอช้างได้อย่างปลอดภัย



(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องฝึกและควบคุมช้าง สามารถเข้าหาช้างได้อย่างปลอดภัย ฝึกหัดช้างขั้นพื้นฐาน ควบคุมช้างบนพื้น และควบคุมบังคับบนคอช้าง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    หลักการเข้าหาช้าง หมายถึง หลักความปลอดภัยในการทำงานกับช้าง หรือ เมื่อจะเข้าหาช้าง เช่น ไม่ยืนหน้าช้าง หรือ เดินตัดหน้าช้างในระยะใกล้ ไม่เข้าหาช้างในด้านที่มองไม่เห็น เช่น ด้านหลัง หรือ ด้านที่ตาบอด เนื่องจากมีความระแวงมากขึ้น เข้าหาช้างทางด้านขวา (เป็นส่วนมาก) เนื่องมาจากช้างถูกฝึกให้ควาญเข้าทางด้านขวา เป็นต้น

2.    ท่าฝึกช้างมาตรฐาน เช่น ยืนนิ่ง นอนตะแคง  นอนหมอบ อ้าปาก ยกเท้า เป็นต้น

3.    อุปกรณ์ควบคุมช้าง เช่น โซ่ เชือก สายปะกน มีด ตะขอ หอก ปะอก เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ