หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมความพร้อมของช้างก่อนให้บริการนักท่องเที่ยว

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-OSEC-817A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมความพร้อมของช้างก่อนให้บริการนักท่องเที่ยว

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมของช้างก่อนให้บริการนักท่องเที่ยว โดยสามารถดูแลช้างอยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน และตรวจสอบสภาวะจิตใจและอารมณ์ของช้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50102.01

ดูแลช้างให้อยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน

1. เลือกช้างที่มีสุขภาพแข็งไม่มีบาดแผล

50102.01.01 149504
50102.01

ดูแลช้างให้อยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน

2. ทดสอบการเชื่อฟังคำสั่งของช้าง

50102.01.02 149505
50102.01

ดูแลช้างให้อยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน

3. สังเกตร่องรอยของการล้มตัวลงนอนของช้างว่ามีการพักผ่อนที่เพียงพอ

50102.01.03 149506
50102.01

ดูแลช้างให้อยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน

4. ให้อาหารและน้ำในปริมาณที่เพียงพอ

50102.01.04 149507
50102.02

ตรวจสอบสภาวะจิตใจและอารมณ์ของช้าง

1. สังเกตพฤติกรรมการตอบสนองคำสั่งของช้าง

50102.02.01 149508
50102.02

ตรวจสอบสภาวะจิตใจและอารมณ์ของช้าง

2. สังเกตลักษณะทางกายภาพของช้างที่จะเปลี่ยนแปลงในช่วงใกล้ตกมัน

50102.02.02 149509
50102.02

ตรวจสอบสภาวะจิตใจและอารมณ์ของช้าง

3. ดูประวัติการตกมันของช้างในช่วงปีที่ผ่านมา

50102.02.03 149510

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการควบคุมช้างให้เชื่อฟัง

-    ทักษะในการสังเกตพฤติกรรมและอาการของช้าง

-    ทักษะในการสังเกตอารมณ์ของช้าง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการควบคุมช้างให้เชื่อฟัง

-    ความรู้เกี่ยวกับการสังเกตพฤติกรรมและอาการของช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับการสังเกตอารมณ์ของช้าง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะเตรียมความพร้อมของช้างก่อนให้บริการนักท่องเที่ยว โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการเตรียมความพร้อมของช้างก่อนให้บริการนักท่องเที่ยว เริ่มตั้งแต่ ดูแลช้างอยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน โดยเลือกช้างที่มีสุขภาพแข็งไม่มีบาดแผล มีการพักผ่อนที่เพียงพอ มีการให้อาหารและน้ำในปริมาณที่เพียงพอ สามารถควบคุมช้างให้เชื่อฟังคำสั่ง และไม่แสดงออกถึงอาการผิดปกติ เช่น อาการหงุดหงิด หรืออาการกลัว รวมทั้ง ตรวจสอบสภาวะจิตใจและอารมณ์ของช้าง โดยสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองคำสั่งของช้าง ลักษณะอาการของช้าง เช่นความร่าเริง ความหงุดหงิด ความนิ่ง หรือความกลัวมากที่ผิดปกติ การสังเกตลักษณะทางกายภาพของช้างที่จะเปลี่ยนแปลงในช่วงใกล้ตกมัน รวมทั้งการดูประวัติการตกมันของช้างในช่วงปีที่ผ่านมา

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเตรียมความพร้อมของช้างก่อนให้บริการนักท่องเที่ยว โดย ดูแลช้างอยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน และตรวจสอบสภาวะจิตใจและอารมณ์ของช้าง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    สภาพของช้างที่พร้อมทำงาน หมายถึง ช้างที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ โดยอาจจะมีความผิดปกติเล็กน้อยที่ไม่มีผลต่อประเภทของการทำงานหรือทำกิจกรรมนั้น เช่น ช้างใส่แหย่งให้นักท่องเที่ยวนั่ง ต้องมีกำลังเพียงพอและไม่เจ็บหลัง เจ็บขา เจ็บอก หรือบาดเจ็บบริเวณที่สัมผัสกับอุปกรณ์ และต้องไม่อยู่ในช่วงตกมันหรือตื่นกลัวเป็นต้น , ช้างแสดง ต้องเป็นช้างที่มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ไม่มีแผลที่เห็นเด่นชัด หรือไม่แสดงอาการตื่นกลัวจนทำให้ช้างเชือกอื่นในกลุ่มตื่นตระหนกไปด้วย , ช้างทำกิจกรรมกับนักท่องเที่ยวแบบใกล้ชิด เป็นช้างกลุ่มที่มีข้อจำกัดในเรื่องของอารมณ์ คือต้องเป็นช้างอารมณ์ดีไม่เป็นอันตรายต่อคนแปลกหน้า แต่ร่างกายอาจจะผิดปกติได้โดยสามารถอธิบายต่อนักท่องเที่ยวได้ถึงความผิดปกตินั้น ซึ่งสามารถใช้ความผิดปกตินั้นในการร่วมกิจกรรมกับนักท่องเที่ยวได้

2.    อาการที่ผิดปกติของช้าง เช่น ความผิดปกติของร่างกาย เช่นมีแผล ฝีหนอง ปวด บวม อักเสบของอวัยวะจนส่งผลให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น เดินกะเผลก ไม่ขยับตัว ไม่ก้าวขา ปฏิเสธอุปกรณ์ มองไม่ชัด หูไม่ได้ยินเสียง จนทำให้มีปัญหากับการทำงาน  , ความผิดปกติทางด้านอารมณ์และจิตใจ เช่นการตกมัน การตื่นกลัว การหึงหวง การไม่ยอมรับในผู้ดูแล เป็นต้น 

3.    ลักษณะของช้างที่กำลังจะตกมัน เช่น อารมณ์ผิดปกติไปจากเดิมโดยเฉพาะการไม่ยอมรับในคำสั่งของควาญ มีอารมณ์ฉุนเฉียว เริ่มแสดงอาการเชิงลบต่อช้างหรือคนอื่นๆ ซึ่งจะมีอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายร่วมด้วยคือตีอมข้างขมับเริ่มบวม อวัยวะเพศแข็งตลอดเวลา สามารถสังเกตได้จากส่วนท้ายใต้โคนหางชของช้างจะบวมใหญ่เป็นลำ และมีปัสสาวะบ่อยกระปริบกระปรอย ถ้าช่วงการตกมันชัดเจนจะพบว่ามีน้ำมันสีดำ กลิ่นฉุนออกมาจากรูเปิดข้างขมับ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ