หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการที่อยู่อาศัยของช้าง

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-QWCM-822A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการที่อยู่อาศัยของช้าง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการที่อยู่อาศัยของช้าง โดยสามารถเตรียมพื้นที่พักอาศัยของช้าง และเลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10103.01

เตรียมพื้นที่พักอาศัยของช้าง

1. เลือกที่พักสำหรับมัดช้างให้เหมาะสมกับช้างแต่ละเชือก

10103.01.01 149414
10103.01

เตรียมพื้นที่พักอาศัยของช้าง

2. เตรียมหลักสำหรับมัดช้างได้อย่างปลอดภัย

10103.01.02 149415
10103.01

เตรียมพื้นที่พักอาศัยของช้าง

3. เลือกสภาพพื้นที่ทำเลในการผูกล่ามช้างได้อย่างปลอดภัย

10103.01.03 149416
10103.01

เตรียมพื้นที่พักอาศัยของช้าง

4. ดูแลความสะอาดของพื้นที่อยู่อาศัยของช้างให้เหมาะสม

10103.01.04 149417
10103.02

เลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง

1. กำหนดระยะห่างตามระยะปลอดภัย

10103.02.01 149418
10103.02

เลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง

2. เลือกที่พักให้เหมาะสมกับช้างแต่ละประเภท

10103.02.02 149419
10103.02

เลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง

3. ตระหนักถึงความปลอดภัยของช้างที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่ช้างอยู่อาศัย

10103.02.03 149420
10103.02

เลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง

4. เตรียมที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ

10103.02.04 149421

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการสรรหาและเลือกที่พักอาศัยให้ช้าง

-    ทักษะในการเลือกทำเลในการผูกล่ามช้าง

-    ทักษะในการกำหนดระยะห่างตามระยะปลอดภัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของช้างที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่ช้างอยู่อาศัย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา    (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม    (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการจัดการที่อยู่อาศัยของช้าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์และสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการจัดการที่อยู่อาศัยของช้าง เริ่มตั้งแต่ เตรียมพื้นที่พักอาศัยของช้าง โดยเลือกที่พักให้เหมาะสมกับช้างแต่ละเชือก เลือกสภาพวัสดุ พื้นผิว มิติของที่พักอาศัย โรงเรือน ที่ปลอดภัยสำหรับช้าง เลือกสภาพพื้นที่ทำเลในการผูกล่ามช้างได้อย่างปลอดภัย ดูแลความสะอาดของของพื้นที่อยู่อาศัยของช้าง และเลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง โดยกำหนดระยะห่างตามระยะปลอดภัย และเลือกที่พักให้เหมาะสมกับช้างแต่ละประเภท รวมทั้งตระหนักถึงความปลอดภัยของช้างที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่ช้างอยู่อาศัยได้

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดการที่อยู่อาศัยของช้างโดยเตรียมพื้นที่พักอาศัยของช้างและเลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ที่อยู่อาศัยของช้าง หมายถึง สถานที่อยู่และพักอาศัยของช้าง ทั้งระหว่างทำงาน ระหว่างวันและช่วงพักกลางคืน เช่น โรงเรือนช้าง, ลานโล่งมีหลักมัด, ชายป่ามีหลักมัดหรือมัดตามต้นไม้ใหญ่, คอก  

2.    ทำเลในการผูกล่ามช้าง หมายถึง สถานที่ที่เหมาะสมต่อการผูกล่ามหรือให้ช้างพักอาศัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งต่อตัวช้างและมนุษย์ ได้แก่ พื้นที่ๆมีร่มเงา ช้างสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำและอาหารได้ ระบายของเสียได้ง่าย อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อยู่ใกล้ทางสัญจรของประชาชน ไม่อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนปฏิกูล ไม่อยู่ใกล้แหล่งสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวช้าง ไม่อยู่ใกล้แหล่งสัตว์มีพิษ ไม่อยู่ในพื้นที่สูงชัน ไม่อยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น

3.    ที่พักอาศัยที่ปลอดภัยกับช้าง หมายถึง สถานที่ที่ให้ช้างพักอาศัยที่เสี่ยงต่ออันตรายน้อยที่สุด เช่น ไม่อยู่ในพื้นที่สูงหรือลาดชันเกินไป, ไม่อยู่ใกล้หรืออยู่ในลำห้วยที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลาก, ไม่อยู่ในพื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า, ไม่อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติเช่นฟ้าผ่า พายุถล่ม อากาศหนาว อากาศร้อน, ห่างไกลจากสัตว์มีพิษ เช่นรังต่อ, รังผึ้ง, รังมดหรือสัตว์มีพิษอื่น, ไม่อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงจากสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น สารเคมี สิ่งก่อสร้างเป็นต้น

4.    ระยะห่างตามระยะปลอดภัย หมายถึง ระยะห่างที่ช้างแต่ละเชือกอยู่อาศัยต้องพิจารณาจากประเภทและนิสัยหรือพฤติกรรมของช้างนั้นๆ เช่นช้างเพศผู้ที่ไม่ถูกกัน หรือช้างที่ผูกล่ามใกล้กันต้องมีระยะที่ไม่สามารถสัมผัสกันได้, ระยะโซ่ต้องไม่ทำให้ช้างมาพัวพันจนอาจจะเกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะช้างตกมันจะมีความพิเศษเนื่องจากมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวขึ้น กลิ่นน้ำมันอาจจะดึงดูดหรือกระตุ้นให้ช้างเพศผู้อื่นๆเข้ามาหาจนอาจจะเกิดอันตรายได้ถ้าอยู่ในระยะที่ใกล้จนเกินไป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ