หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการอาหารช้าง

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HBQT-821A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการอาหารช้าง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการอาหารช้าง โดยสามารถจัดหาจัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง เตรียมอาหารที่มีคุณภาพ ดูแลเก็บรักษาอาหารช้าง และสังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10102.01

จัดหาจัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง

1. เลือกประเภทของอาหารที่ช้างสามารถกินได้

10102.01.01 149401
10102.01

จัดหาจัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง

2. ให้อาหารช้างตามชนิด ปริมาณ และสัดส่วนที่เหมาะสมกับช้าง

10102.01.02 149402
10102.01

จัดหาจัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง

3. แบ่งมื้ออาหารช้างให้เหมาะสมกับช้าง

10102.01.03 149403
10102.01

จัดหาจัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง

4. ให้น้ำช้างตามคุณภาพ ปริมาณ และความถี่ให้เหมาะสมกับช้าง

10102.01.04 149404
10102.02

เตรียมอาหารที่มีคุณภาพให้ช้าง

1. เลือกอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเหมาะสมกับช้าง

10102.02.01 149405
10102.02

เตรียมอาหารที่มีคุณภาพให้ช้าง

2. เลือกอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการกับช้าง

10102.02.02 149406
10102.02

เตรียมอาหารที่มีคุณภาพให้ช้าง

3. เลือกอาหารเสริมที่เหมาะสมให้กับช้าง

10102.02.03 149407
10102.03

ดูแลเก็บรักษาอาหารช้าง

1. เก็บรักษาอาหารสดได้อย่างเหมาะสม

10102.03.01 149408
10102.03

ดูแลเก็บรักษาอาหารช้าง

2. ดูแลอาหารแห้ง อาหารเม็ด ในสภาวะที่เหมาะสม

10102.03.02 149409
10102.03

ดูแลเก็บรักษาอาหารช้าง

3. เก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสม

10102.03.03 149410
10102.04

สังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้าง

1. สังเกตพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติของช้าง

10102.04.01 149411
10102.04

สังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้าง

2. สังเกตพฤติกรรมการกินน้ำที่ผิดปกติของช้าง

10102.04.02 149412
10102.04

สังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้าง

3. รายงานความผิดปกติจากพฤติกรรมการกินของช้างให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง

10102.04.03 149413

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการสรรหาและคัดเลือกอาหารช้าง

-    ทักษะในการเตรียมอาหารช้าง

-    ทักษะในการเก็บรักษาอาหารช้าง

-    ทักษะในการสังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารของช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษาอาหารช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารและน้ำของช้าง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา    (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม    (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการจัดการอาหารช้าง  โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์และสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการจัดการอาหารช้าง เริ่มตั้งแต่จัดหาจัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง โดยให้อาหารช้างตามชนิด ปริมาณ และสัดส่วนที่เหมาะสมกับช้าง สามารถแบ่งมื้ออาหารช้างให้เหมาะสมกับช้าง ให้น้ำช้างตามคุณภาพ ปริมาณ และความถี่ให้เหมาะสมกับช้าง และเตรียมอาหารที่มีคุณภาพ โดยเลือกอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการกับช้าง ดูแลเก็บรักษาอาหารช้าง โดยเก็บรักษาอาหารสดได้อย่างเหมาะสมและดูแลอาหารแห้ง อาหารเม็ด ในสภาวะที่เหมาะสม รวมทั้ง สังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้าง เพื่อรายงานความผิดปกติจากพฤติกรรมการกินของช้างให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดการอาหารช้าง โดยการจัดหาจัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง เตรียมอาหารที่มีคุณภาพให้ช้าง ดูแลเก็บรักษาอาหารช้าง และสังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้าง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    การแบ่งมื้ออาหารที่เหมาะสมกับช้าง หมายถึง การให้อาหารช้างโดยแบ่งชนิดของอาหารและเว้นระยะเวลาในสัดส่วนที่ช้างสามารถกินหรือใช้ประโยชน์ได้พอดีกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน โดยที่ไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายช้างเอง     

2.    หลักโภชนาการอาหารช้าง หมายถึง ประโยชน์ที่ช้างจะได้รับในด้านสารอาหารที่ครบถ้วน โดยไม่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายทั้งระยะสั้นและระยะยาว        

3.    อาหารเสริมของช้าง  หมายถึง อาหารที่ไม่มีตามธรรมชาติหรือไม่ได้กินอยู่เป็นประจำในสภาวะการเลี้ยงดูปกติ โดยมากมักจะเป็นอาหารที่ไม่ได้เน้นเยื่อใย เช่น ผลไม้ตามฤดูกาล อาหารเม็ด ธัญพืช เกลือแร่ วิตามิน

4.    อาหารสด  หมายถึง กลุ่มพืชอาหารที่ไม่ผ่านขบวนการแปรรูปใดๆโดยการเก็บเกี่ยวมาแล้วนำมาให้ช้างกินโดยตรง เช่น หญ้าสด ต้นข้าวโพดสด กิ่งไม้ ใบไม้สด พืชผักผลไม้สด 

5.    อาหารแห้ง หมายถึง กลุ่มพืชอาหารที่ผ่านขบวนการแปรรูปและทำให้แห้ง เช่น หญ้าแพงโกล่าแห้ง ฟางข้าว สมุนไพรแท่ง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ