หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสุขอนามัยของช้าง

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-MFUT-803A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสุขอนามัยของช้าง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

9332  ควาญช้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการสุขอนามัยของช้าง โดยสามารถอาบน้ำช้างให้สะอาด และตรวจสภาพสุขอนามัยของช้าง เพื่อดูสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 25572.    พรบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 25453.    พรบ. สัตว์พาหนะ พ.ศ. 24824.    พรบ. ควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 25585.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพช้างในปางช้าง พ.ศ. 25636.    ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานปาง (แคมป์) ช้างของประเทศไทย พ.ศ. 25457.    มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว8.    การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10101.01

อาบน้ำช้างให้สะอาด

1. ชำระล้างด้วยน้ำให้ทั่วบริเวณลำตัว
10101.01.01 149386
10101.01

อาบน้ำช้างให้สะอาด

2. ทำความสะอาดบริเวณปากและใบหูและหาง

10101.01.02 149387
10101.01

อาบน้ำช้างให้สะอาด

3. ทำความสะอาดเท้าและซอกเล็บ

10101.01.03 149388
10101.01

อาบน้ำช้างให้สะอาด

4. ทำความสะอาดหลังช้าง

10101.01.04 149389
10101.02

ตรวจสภาพสุขอนามัยของช้าง

1. ตรวจสอบผิวหนังและร่องรอยบาดแผลของช้าง

10101.02.01 149390
10101.02

ตรวจสภาพสุขอนามัยของช้าง

2. ตรวจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช้าง

10101.02.02 149391
10101.02

ตรวจสภาพสุขอนามัยของช้าง

3. สัมผัสแยกแยะความปกติและผิดปกติของช้างได้

10101.02.03 149392
10101.02

ตรวจสภาพสุขอนามัยของช้าง

4. สังเกตมูลของช้าง

10101.02.04 149393

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการทำความสะอาดช้าง

-    ทักษะในการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช้าง

-    ทักษะในการตรวจสุขอนามัยของช้าง

-    ทักษะในการสังเกตความผิดปกติของช้าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีทำความสะอาดช้าง

-    ความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช้าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการทำความสะอาดช้าง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์และสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการจัดการสุขอนามัยของช้าง เริ่มตั้งแต่ อาบน้ำช้างให้สะอาด ชำระล้างด้วยน้ำให้ทั่วบริเวณลำตัว โดยทำความสะอาดบริเวณปากใบ หู  หาง เท้า และซอกเล็บ รวมทั้งบริเวณหลังช้าง ตรวจสุขอนามัยของช้าง โดยตรวจสอบผิวหนัง ผิวพรรณ และร่องรอยบาดแผลของช้าง รอยแผลเป็น รวมทั้งสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช้าง 

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องทำความสะอาดช้างโดยการอาบน้ำให้ช้างและตรวจสภาพสุขอนามัยของช้าง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    การทำความสะอาดช้าง หมายถึง การอาบน้ำ การล้างและขัดเอาสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง ซอกหลืบของอวัยวะทั่วร่างกายของช้างให้สะอาด อาจใช้แปรง หรือวัสดุธรรมชาติ เช่น เปลือกมะพร้าว  เปลือกไม้  ทราย  

2.    อุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดช้าง ได้แก่ สายยาง น้ำทุ่งหรือถังน้ำ แปรงขัดหรือส่วนของพืชที่ใช้สำหรับขัดผิวหนัง

3.    สถานที่ที่ใช้ทำความสะอาดช้าง หมายถึง ลาน, โรง, บ่อ, แม่น้ำ, สระที่มีน้ำสำหรับให้ช้างอาบ ทั้งจากแหล่งธรรมชาติหรือสร้างขึ้น เช่น ลานกลางแจ้งหรือโรงที่มีหลังคาอาบน้ำที่มีท่อน้ำต่อสายยาง หรือฝักบัว, บ่อคอนกรีตที่สร้างขึ้นเพื่อให้ช้างอาบหรือเล่นน้ำจากด้านนอกบ่อ หรือให้ช้างลงเล่นในบ่อได้,แม่น้ำลำคลองตามธรรมชาติ

4.    การตรวจสุขอนามัยของช้าง หมายถึง การตรวจสภาพทั่วไปของช้าง เช่น การเดิน ดูว่าเท้าเจ็บหรือไม่

การกิน สามารถกินอาหารได้ปกติหรือไม่ และการนอน ดูว่าช้างนอนได้ปกติหรือไม่ รวมถึง การตรวจสอบผิวหนังและร่องรอยบาดแผลของช้าง

5.    สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช้าง หมายถึง ร่องรอยที่ผิดไปจากธรรมชาติของอวัยวะนั้นๆ เช่น แผล, รอยขีดข่วน, รอยบวม, พบของเหลวหรือสิ่งอื่นออกจากช่องเปิดของอวัยวะ, มีสีหรือลักษณะที่เปลี่ยนไป, มีกลิ่นที่ไม่ปกติ, มีอุณหภูมิที่ผิดปกติ

6.    การสังเกตมูลช้าง เป็นการสังเกตขนาด และลักษณทั่วไปของมูล เพื่อสังเกตอาหารที่กิน และดูว่ามีพยาธิหรือไม่ ระบบการย่อยเป็นอย่างไร มีลักษณท้องเสียหรือไม่ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ