หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับแต่งภาพแบบพื้นฐาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-MDIT-125A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับแต่งภาพแบบพื้นฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ปรับแต่งภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถ เตรียมอุปกรณ์การปรับแต่งภาพ   วิธีการปรับแต่งภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจถ่ายภาพ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B2021 เตรียมอุปกรณ์การปรับแต่งภาพ 1.1 จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 148788
B2021 เตรียมอุปกรณ์การปรับแต่งภาพ 1.2เลือกใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งภาพ 148789
B2022 ปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน 2.1ปรับขนาดของภาพ 148790
B2022 ปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน 2.2 ปรับโทนสีของภาพ 148791
B2022 ปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน 2.3 ตัดต่อแก้ไขภาพ 148792

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

B201  เตรียมงานก่อนการปรับแต่งภาพ 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. เตรียมและเลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการปรับแต่งภาพ

2. เตรียมและเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบ เครื่องเช่นสแกนเนอร์  

3. เลือกใช้โปรแกรมพื้นฐาน เช่นPhotoshop Illustrator ขึ้นอยู่กับใบสั่งงานที่ได้รับ   

4. ปรับขนาดของภาพ ปรับโทนสีของภาพ ตัดต่อแก้ไขภาพตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้ใบสั่งงานในการจำลองสถานการณ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. หลักการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน

2. หลักการเลือกใช้โปรแกรมเพื่อการปรับแต่งภาพ                                                                             

3. หลักการปรับขนาดของภาพและหลักการปรับโทนสีของภาพหลักการตัดต่อแก้ไขภาพ

4. ทฤษฎีแม่สีแสง  (RGB)

5. ทฤษฎีแม่สีทางวัตถุธาตุ  (BRY)

6. ทฤษฎีแม่สีทางการพิมพ์ (CMYK)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. ผลงานประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน หรือ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน 

          4. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

          2. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือรับรองผลการอบรม หรือ

          3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ 

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการปรับแต่งภาพแบบพื้นฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้  

     (ง) วิธีการประเมิน 

          1. ให้พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

          2. ให้พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

     สภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งภาพแบบพื้นฐาน   

     (ก) คำแนะนำ 

          1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องเตรียมอุปกรณ์การปรับแต่งภาพ

          2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. การเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับใบสั่งงานที่ได้รับ

          2. การเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบ เครื่องเช่นสแกนเนอร์  ขึ้นอยู่กับใบสั่งงานที่ได้รับ

          3. การเลือกใช้โปรแกรมพื้นฐาน เช่นPhotoshop Illustrator ขึ้นอยู่กับใบสั่งงานที่ได้รับ    

          4. การปรับขนาดของภาพ การปรับโทนสีของภาพ การตัดต่อแก้ไขภาพตามความต้องการของลูกค้า 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน  

    1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์        

    2. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือการประเมิน 

    1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์        

    2. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ