หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถ่ายภาพมาโคร

สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PHO-DLCV-092A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถ่ายภาพมาโคร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างภาพทั่วไป



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพมาโคร สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพมาโครและเทคนิคสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพมาโคร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจถ่ายภาพ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A1021 เลือกใช้เทคนิคสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพมาโคร 1.1เลือกปรับค่ารูรับแสงได้ตามลักษณะงานถ่ายภาพมาโคร 148565
A1021 เลือกใช้เทคนิคสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพมาโคร 1.2ความไวชัตเตอร์ได้ตามลักษณะงานถ่ายภาพมาโคร 148566
A1021 เลือกใช้เทคนิคสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพมาโคร 1.3ความไวแสงค่าสมดุลสีขาว ได้ตามลักษณะงานถ่ายภาพมาโคร 148567
A1022 เลือกใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพมาโคร 2.1เลือกใช้เลนส์ให้เหมาะกับลักษณะงาน 148568
A1022 เลือกใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพมาโคร 2.2เลือกใช้อุปกรณ์ในการควบคุมคุณภาพและทิศทางของแสงสำหรับถ่ายภาพมาโคร 148569
A1022 เลือกใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพมาโคร 2.3เลือกใช้อุปกรณ์เสริมให้เหมาะกับลักษณะงาน 148570

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

A101 ถ่ายภาพเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

          1. การใช้กล้องดิจิตอลและอุปกรณ์ถ่ายภาพ

          2. การปรับตั้งและการควบคุมปริมาณแสง 

          3. การใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ ในการถ่ายภาพ

          4. การใช้อุปกรณ์ชุดไฟสตูดิโอหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสงเพื่อควบคุมทิศทางของแสง 

          5. การจัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ (Composition)

          6. ใช้เทคนิคสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพมาโคร

          7. การเลือกและใช้อุปกรณ์เสริมถ่ายภาพมาโคร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

          1. หลักการถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร

          2. หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ และแนวคิดเชิงศิลป์

          3. หลักการถ่ายภาพมาโคร และภาพหุ่นนิ่ง (Still Life)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) 



     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง หรือ

          2. ผลงานประกอบการประเมิน หรือ ผลงานภาพถ่ายมาโคร หรือ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) หรือ

          4. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน



     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการเรียนรู้หรือผลการอบรม หรือ

          2. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ 

          3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์



     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการถ่ายภาพมาโคร โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านการเลือกใช้เทคนิคสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้สอดคล้องกับงานถ่ายภาพมาโคร และการเลือกใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพมาโคร



     (ง) วิธีการประเมิน

          1. ให้พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

          2. ให้พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

     สภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพมาโคร การใช้เลนส์มาโคร และการจัดองค์ประกอบของวัตถุ พร้อมจัดแสงให้เหมาะสม

     (ก) คำแนะนำ 

          1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องถ่ายภาพมาโครและใช้อุปกรณ์ที่ถ่ายภาพมาโครได้ตามวัตถุประสงค์

          2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องถ่ายภาพให้ได้ปริมาณแสง ความสว่าง ความคมชัด คุณภาพแสงและ

เงาได้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน

          3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องส่งผลงานภาพถ่ายพร้อมไฟล์ภาพที่มีคุณภาพใช้งานได้อย่างน้อย 10 ภาพ เพื่อใช้ในการประเมิน ขนาด 8 x 12 นิ้ว 

          4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดองค์ประกอบภาพตามหลักศิลปะ (Composition)



     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ภาพถ่ายมาโคร (Macro) หรือภาพระยะใกล้ (Close up) หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุให้มีอัตราขยายสูง (Magnification) และอัตราส่วนภาพสูง (Image Ratio) กว่าปกติ

          2. อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพมาโคร ได้แก่ เลนส์มาโคร,Extension tube , แฟลซวงแหวง, แฟลซแยก Close up Filter

          3. ไฟล์ภาพที่ปรับแต่งพร้อมภาพถ่ายที่อัดขยายสำหรับใช้ประกอบการประเมิน

          4. ภาพถ่ายและไฟล์ภาพถ่ายที่ได้ต้องเป็นภาพที่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์หรือใช้ในการสื่อสารได้ โดยไฟล์ภาพต้องบันทึกด้วยฟอร์แมต RAW, TIFF หรือ JPEG


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     18.1 เครื่องมือการประเมิน

          1. แบบฟอร์มการตอบคำถามในการสัมภาษณ์

          2. แบบฟอร์มการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

          3. ผลงานภาพถ่าย

     18.2 เครื่องมือการประเมิน

          1. แบบฟอร์มการตอบคำถามในการสัมภาษณ์

          2. แบบฟอร์มการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ