หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดมาตรการและดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-DDNL-038B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดมาตรการและดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักอาชีวสุขศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องและทักษะเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการและดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ สามารถประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ สามารถประเมินแนวทางในการป้องกัน และควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ สามารถดำเนินโครงการ ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย รวมไปถึงการสรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3. พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25624. พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 25585. กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.25566. กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 7. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 25638. กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 25599. กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้  พ.ศ. 254710. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 256111. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 256112. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 255813. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ลักษณะของสถานที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครอง และการดำเนินการเกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 256114. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 255015. ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B404.1 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

1. ระบุข้อมูลคุณลักษณะของอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ประเภทต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานรับสัมผัสได้อย่างถูกต้อง

B404.1.01 149198
B404.1 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลรายงานการตรวจวัดการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ได้

B404.1.02 149199
B404.1 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. ระบุระดับการรับสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ประเภทต่างๆ ของผู้ปฏิบัติงานได้

B404.1.03 149200
B404.1 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

4. ระบุระดับความรุนแรงของอันตรายทางด้านอาชีวสุขศาสตร์ ประเภทต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานรับสัมผัสได้

B404.1.04 149201
B404.1 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

5. ระบุระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานจากการรับสัมผัสอันตรายทางด้านอาชีวสุขศาสตร์ ประเภทต่างๆ ได้

B404.1.05 149202
B404.1 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

6. ระบุกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีระดับความเสี่ยงเหมือนหรือคล้ายคลึงกันในการรับสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ได้

B404.1.06 149203
B404.1 ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

7. จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงจากการรับสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ได้

B404.1.07 149204
B404.2 เลือกแนวทางในการป้องกัน และควบคุมอันตรายทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

1. กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบในการวางแผน โครงการการป้องกัน ติดตาม และควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ที่เหมาะสมได้

B404.2.01 149205
B404.2 เลือกแนวทางในการป้องกัน และควบคุมอันตรายทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2. ระบุเกณฑ์ในการพิจารณาลำดับการดำเนินโครงการ การป้องกัน ติดตาม และควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ที่เหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงได้

B404.2.02 149206
B404.2 เลือกแนวทางในการป้องกัน และควบคุมอันตรายทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. ระบุปัจจัยสาเหตุที่มีผลต่อการรับสัมผัสอันตรายทางด้านอาชีวสุขศาสตร์ ของผู้ปฏิบัติงานได้

B404.2.03 149207
B404.2 เลือกแนวทางในการป้องกัน และควบคุมอันตรายทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

4. วิเคราะห์แนวทางในการป้องกันอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ที่สามารถจัดการปัจจัยสาเหตุของปัญหาและเหมาะสมกับบริบทขององค์กรได้

B404.2.04 149208
B404.3 ดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

1. จัดทำแผนงานการดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ โดยระบุผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาการดำเนินการของแต่ละกิจกรรมได้

B404.3.01 149209
B404.3 ดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2. ระบุวิธีการป้องกันอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ที่แหล่งกำเนิดอันตราย ด้วยเทคโนโลยีหรือเทคนิคที่เหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B404.3.02 149210
B404.3 ดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. ระบุวิธีการในการป้องกันอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ที่ทางผ่านของอันตราย ด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B404.3.03 149211
B404.3 ดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

4. ระบุวิธีการในการป้องกันอันตรายทางด้านอาชีวสุขศาสตร์ ที่ตัวผู้ปฏิบัติงานได้ ด้วยเทคนิคหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติงานได้

B404.3.04 149212
B404.4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

1. ระบุตัวชี้วัดในการประเมินผลสำเร็จของโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตรายทางด้านอาชีวสุขศาสตร์ ได้

B404.4.01 149213
B404.4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2. ระบุวิธีในการประเมินและติดตามผลสำเร็จของโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ได้

B404.4.02 149214
B404.4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. ระบุความถี่หรือระยะเวลาในการประเมินและติดตามผลสำเร็จของโครงการที่เหมาะสมกับขั้นตอนการดำเนินงานโครงการได้

B404.4.03 149215
B404.4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

4. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ  เปรียบเทียบกับตัวชี้วัดและแผนการดำเนินงานได้

B404.4.04 149216
B404.4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

5. ระบุข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ได้

B404.4.05 149217
B404.5 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

1. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการได้ 

B404.5.01 149218
B404.5 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

2. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการสรุปโครงการได้

B404.5.02 149219
B404.5 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม

3. นำเสนอรายงานผลการดำเนินโครงการต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้

B404.5.03 149220

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะและความรู้ในเรื่องการวิเคราะห์ผลการประเมินความเสี่ยงและอันตรายทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม ที่เกี่ยวข้องกับ ความสั่นสะเทือน เสียง ความเย็น รังสีไม่ก่อไอออน การสัมผัสอันตรายทางเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ผ่านทางการหายใจ การสัมผัสอันตรายด้านเคมีทางผิวหนัง ผลกระทบทางด้านการยศาสตร์ สภาพแวดล้อมในการทำงานอื่นๆที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2561 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2558 และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการบริหารทรัพยากรของโครงการ

2.    ทักษะการบูรณาการแผนงานด้านอาชีวสุขศาสตร์เข้ากับแผนธุรกิจ

3.    ทักษะการทำความเข้าใจเหตุผลและการประยุกต์ใช้ปริมาณสูงสุดที่สามารถรับสัมผัสทางอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

4.    ทักษะการสื่อสารมาตรฐานและให้คำแนะนำ 

5.    ทักษะการกำหนดระบบการตรวจประเมินผลการดำเนินงาน

6.    ทักษะการดำเนินและวิเคราะห์โครงการ

7.    ทักษะดำเนินการแก้ไขอันตรายทางชีวภาพ เคมี กายภาพและการยศาสตร์

8.    ทักษะการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีอันตราย

9.    ทักษะการจำแนกความเสี่ยง

10.    ทักษะการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรายที่ไม่รู้จัก

11.    ทักษะการประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

12.    ทักษะการกำหนดความถี่ โอกาส และความรุนแรงของการได้รับสัมผัส

13.    ทักษะการประยุกต์ใช้ลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (Hierarchy of Controls)

14.    ทักษะการใช้กลยุทธ์การประเมินการรับสัมผัสเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

15.    ทักษะการจัดลำดับความสำคัญของอันตรายเพื่อการประเมินความเสี่ยง

16.    ทักษะการประเมินคุณภาพข้อมูล (ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ลำดับขั้นของการควบคุม 

2.    การออกแบบระบบระบายอากาศ (การระบายอากาศเฉพาะที่, การระบายอากาศเพื่อเจือจาง และระบบปรับอากาศ)

3.    คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

4.    ความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับละอองฝอย (aerosol)

5.    กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม และหน่วยปฏิบัติการ

6.    การควบคุมอันตรายทางชีวภาพ, เคมี, กายภาพ และการยศาสตร์

7.    อันตรายของวัสดุและวิธีจัดการกับวัสดุ

8.    หลักการของรังสีและการป้องกันพลังงานทางกายภาพอื่น ๆ เช่น เวลา ระยะทาง การกำบัง

9.    หลักการของเสียงและการลดเสียงรบกวน

10.    หลักการการควบคุมความเค้นเนื่องจากอุณหภูมิ 

11.    PPE (ปัจจัยป้องกัน(protection factors), ชุดป้องกัน, การซึมผ่าน / การเสื่อมสภาพ, NRR)

12.    พิษวิทยาและเส้นทางการเข้าสู่ร่างกาย

13.    สรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์

14.    คุณสมบัติทางกายภาพและความเข้ากันไม่ได้ของสารเคมี

15.    งานประจำ / สภาพแวดล้อมการทำงาน

16.    การศึกษาและฝึกอบรม

17.    วิธีปฏิบัติงาน

18.    กลุ่มคนที่ได้รับการสัมผัส

19.    ผลกระทบทางธุรกิจความยั่งยืนและรักษาผลิตภัณฑ์

20.    แนวทางการรับสัมผัส

21.    ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคนที่มีการควบคุมการรับสัมผัส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

กำหนดมาตรการและดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ครอบคลุมการป้องกันอันตรายทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม ที่เกี่ยวข้องกับ ความสั่นสะเทือน เสียง ความเย็น รังสีไม่ก่อไอออน การสัมผัสอันตรายทางเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ผ่านทางการหายใจ การสัมผัสอันตรายด้านเคมีทางผิวหนัง ผลกระทบทางด้านการยศาสตร์ สภาพแวดล้อมในการทำงานอื่นๆที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ     พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2561 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2558 และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอด

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

คำอธิบายรายละเอียด

เทคนิคที่ใช้ การใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล

1. โครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายทางกายภาพ ครอบคลุมถึง

1)    การบ่งชี้อันตรายของผู้ปฏิบัติงานแต่ละกลุ่ม โดยสามารถระบุช่องทางการสัมผัสอันตรายของร่างกาย ผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นตามระดับความเสี่ยงในการสัมผัส เช่น การเกิดการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังจากการทำงาน (Noide induce hearing loss) 

2)    การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายพิจารณาตามความจำเป็น และความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากผลการประเมิน HRA และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยมาตรการพิจารตามลำดับขั้นของการควบคุม (Hierarchy of controls) 

3)    การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย จะพิจารณาร่วมกับปัจจัยต่างๆจากการประเมินสภาพแวดล้อม อาทิ มาตรการควบคุมเดิมที่มีอยู่ การใช้งานมาตรการเดิมมีปัญหาหรืออุปสรรคใดบ้าง การประเมินข้อจำกัดของลักษณะโครงสร้างอาคารต่อการวางมาตรการป้องกัน เช่น การสะท้อนของเสียง การบังแสงของสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

4)    มาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายทางกายภาพ ครอบคลุมถึง การออกแบบฉนวนกันเสียง เพื่อลดการสัมผัสเสียงดังของผู้ปฏิบัติงาน การออกแบบผังและจำนวนของหลอดไฟ เพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอต่อผู้ปฏิบัติงานในงานแต่ละชนิด การเลือกประเภทอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับอันตรายที่สัมผัส การเลือกใช้ค่าระดับการป้องกันที่เหมาะสม เช่น NRR ของอุปกรณ์ลดเสียง

5)    การประเมินประสิทธิผลของโครงการป้องกันและควบคุมอันตราย โดยกำหนดรายละเอียดในการประเมิน และความถี่หรือรอบในการประเมินผลที่เหมาะสม

2. โครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายทางเคมี ครอบคลุมถึง

1)    การบ่งชี้อันตรายของผู้ปฏิบัติงานแต่ละกลุ่ม โดยสามารถระบุช่องทางการรับสัมผัสสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย (Route of exposure) ผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นตามระดับความเสี่ยงในการสัมผัส เช่น การก่อมะเร็ง การก่อภูมิแพ้ การระคายเคือง การหมดสติ การเกิดภาวะปอดอุดกั้น เป็นต้น

2)    การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายพิจารณาตามความจำเป็น และความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากผลการประเมิน HRA และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยมาตรการพิจารตามลำดับขั้นของการควบคุม (Hierarchy of controls) 

3)    การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย จะพิจารณาร่วมกับปัจจัยต่างๆจากการประเมินสภาพแวดล้อม อาทิ มาตรการควบคุมเดิมที่มีอยู่ การใช้งานมาตรการเดิมมีปัญหาหรืออุปสรรคใดบ้าง การประเมินข้อจำกัดของลักษณะโครงสร้างอาคารหรือพื้นที่ปฏิบัติงานต่อการวางมาตรการป้องกัน เช่น ความเป็นไปได้ในการวางระบบท่อลมสำหรับการระบายอากาศ การติดตั้ง Hood ดูดสารเคมีหน้างาน เป็นต้น

4)    มาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายทางเคมี ครอบคลุมถึง การออกแบบระบบระบายอากาศเฉพาะที่ (local exhaust ventilation) การออกแบบระบบระบายอากาศแบบเจือจาง (dilution ventilation) การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายประเภทหน้ากากป้องกันสารเคมี ชุดปิดคลุมทั้งตัว (coverall) ถุงมือกันสารเคมี การอบรมการทำงานอย่างปลอดภัยในการใช้งาน และยกเคลื่อนย้ายสารเคมี การออกแบบระบบอัตโนมัติในการทำงานกับสารเคมีแทนคน เป็นต้น

5)    การประเมินประสิทธิผลของโครงการป้องกันและควบคุมอันตราย โดยกำหนดรายละเอียดในการประเมิน และความถี่หรือรอบในการประเมินผลที่เหมาะสม

3.โครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายทางชีวภาพ ครอบคลุมถึง

1)    การบ่งชี้อันตรายของผู้ปฏิบัติงานแต่ละกลุ่ม โดยสามารถระบุช่องทางการรับสัมผัสสารทางชีวภาพหรือจุลชีพเข้าสู่ร่างกาย (Route of exposure) ผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นตามระดับความเสี่ยงในการสัมผัส เช่น การติดเชื้อ การเกิดรอยโรคหรือแผลที่อวัยวะที่สัมผัส การก่อภูมิแพ้ การเกิดพิษ เป็นต้น

2)    การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายพิจารณาตามความจำเป็น และความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากผลการประเมิน HRA และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยมาตรการพิจารตามลำดับขั้นของการควบคุม (Hierarchy of controls) 

3)    การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย จะพิจารณาร่วมกับปัจจัยต่างๆจากการประเมินสภาพแวดล้อม อาทิ มาตรการควบคุมเดิมที่มีอยู่ การใช้งานมาตรการเดิมมีปัญหาหรืออุปสรรคใดบ้าง การประเมินข้อจำกัดของลักษณะโครงสร้างอาคารหรือพื้นที่ปฏิบัติงานต่อการวางมาตรการป้องกัน เช่น ความเป็นไปได้ในการวางระบบท่อลมสำหรับติดตั้งระบบดูดอากาศ การออกแบบห้องแยกเชื้อหรือการควบคุมระดับความดันอากาศของห้องที่มีความเสี่ยง เป็นต้น

4)    มาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายทางชีวภาพ ครอบคลุมถึง การออกแบบระบบชีวนิรภัยตามมาตรฐาน การออกแบบระบบดูดอากาศสำหรับการทำงานกับเชื้อก่อโรค การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การอบรมการทำงานอย่างปลอดภัยกับสารทางชีวภาพ เป็นต้น

5)    การประเมินประสิทธิผลของโครงการป้องกันและควบคุมอันตราย โดยกำหนดรายละเอียดในการประเมิน และความถี่หรือรอบในการประเมินผลที่เหมาะสม

4. โครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายทางการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม ครอบคลุมถึง

1)    การบ่งชี้อันตรายของผู้ปฏิบัติงานแต่ละกลุ่ม โดยสามารถระบุท่าทางการทำงาน สถานีงาน หรือลักษณะการจัดสภาพงานที่มีความเสี่ยงได้ รวมถึง ระบุผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นตามระดับความเสี่ยง เช่น การเกิดอาการ carpal turnal syndrome การเกิดอาการ Sick building syndrome การเกิดความเครียดจากการทำงาน เป็นต้น 

2)    การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายพิจารณาตามความจำเป็น และความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากผลการประเมิน HRA และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยมาตรการพิจารตามลำดับขั้นของการควบคุม (Hierarchy of controls) 

3)    การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย จะพิจารณาร่วมกับปัจจัยต่างๆจากการประเมินสภาพแวดล้อม อาทิ มาตรการควบคุมเดิมที่มีอยู่ การใช้งานมาตรการเดิมมีปัญหาหรืออุปสรรคใดบ้าง การประเมินข้อจำกัดของลักษณะโครงสร้างอาคารหรือพื้นที่ปฏิบัติงานต่อการวางมาตรการป้องกัน เช่น ความเป็นไปได้ในการออกแบบสถานีงานใหม่ การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยยกหรือเครื่องทุ่นแรงต่างๆ เป็นต้น

4)    มาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายทางการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม ครอบคลุมถึง การออกแบบสถานีงาน การปรับพื้นที่การทำงานเพื่อลดท่าทางการทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการยศาสตร์ การอบรมการยกเคลื่อนย้ายวัตถุอย่างถูกต้อง การออกแบบตารางการทำงานกะ การพัฒนาระบบที่ปรึกษา (Counseling) สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเครียดหรือมีปัญหาอื่นๆ เป็นต้น

5)    การประเมินประสิทธิผลของโครงการป้องกันและควบคุมอันตราย โดยกำหนดรายละเอียดในการประเมิน และความถี่หรือรอบในการประเมินผลที่เหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอันตรายด้านกายภาพ

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการประเมินแนวทางในการป้องกัน และควบคุมอันตรายด้านกายภาพ

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตรายทางด้านอาชีวสุขศาสตร์

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ การป้องกันและควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.5 เครื่องมือประเมินการสรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการการป้องกัน ติดตามและควบคุมอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ