หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงอันตรายจากปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-PEYQ-035B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงอันตรายจากปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ระบุทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน และประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25624.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25495.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 25586.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B401.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุง

1. รวบรวมข้อมูลรายงานผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงานประเภทต่างๆ ได้

B401.1.01 149149
B401.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุง

2. วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงานประเภทต่างๆ ได้

B401.1.02 149150
B401.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุง

3. ระบุระดับความเสี่ยงที่ต้องได้รับการดำเนินการแก้ไข ตามมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้

B401.1.03 149151
B401.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุง

4. ระบุรายการปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงได้

B401.1.04 149152
B401.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุง

5. จัดทำทะเบียนรายการความเสี่ยง พร้อมจำแนกระดับความจำเป็นในการจัดการความเสี่ยงของแต่ละปัจจัยได้

B401.1.05 149153
B401.2 ระบุทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

1. ระบุแนวทางในการขจัดหรือตัดความเสี่ยงออกจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานได้

B401.2.01 149154
B401.2 ระบุทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2. ระบุแนวทางในแทนที่ความเสี่ยงที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยอันตรายได้

B401.2.02 149155
B401.2 ระบุทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3. ระบุแนวทางในการควบคุมทางวิศวกรรมที่เหมาะสมกับแต่ละปัจจัยอันตรายได้

B401.2.03 149156
B401.2 ระบุทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

4. ระบุแนวทางในการควบคุมด้วยการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับแต่ละปัจจัยอันตรายได้

B401.2.04 149157
B401.2 ระบุทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

5. ระบุแนวทางในการควบคุมด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับแต่ละปัจจัยอันตรายได้

B401.2.05 149158
B401.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

1. กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบในการประเมินทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม

B401.3.01 149159
B401.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2. ระบุปัจจัยสาเหตุที่มีผลต่อการรับสัมผัสอันตรายของผู้ปฏิบัติงาน จากปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงานที่ถูกขึ้นทะเบียนรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงได้

B401.3.02 149160
B401.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3. วิเคราะห์แนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่สามารถจัดการปัจจัยสาเหตุของปัญหาในแต่ละปัจจัยอันตรายได้

B401.3.03 149161
B401.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

4. ระบุข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของแนวทางในการจัดการความเสี่ยงแต่ละประเภทได้

B401.3.04 149162
B401.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

5. สรุปแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับลักษณะอันตรายและบริบทของสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B401.3.05 149163
B401.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

6. นำเสนอแนวทางที่เลือกใช้ในการจัดการและควบคุมความเสี่ยงจากการสัมผัสอันตรายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบได้

B401.3.06 149164

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการเลือกใช้ PPE ที่เหมาะสม

2.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีในการลดการรับสัมผัส

3.    ทักษะการแปรผลทางด้านวิศวกรรมและการให้ข้อเสนอแนะทางวิศวกรรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานระบบบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมและระบบการตรวจประเมิน เช่น ISO14001 และ OHSAS 18001 และ OSHA-VPP 

2.    ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นในการควบคุมอันตราย 

3.    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบระบบระบายอากาศ (การระบายอากาศแบบเฉพาะที่, การระบายอากาศแบบเจือจาง และระบบปรับอากาศแบบ HVAC)

4.    ความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

5.    ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับละอองลอยในอากาศ

6.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและหน่วยการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม

7.    ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอันตรายด้านชีวภาพ, เคมี, กายภาพ และการยศาสตร์

8.    ความรู้เกี่ยวกับการตอบโต้และการฟื้นฟูจากวัตถุอันตราย

9.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการด้านรังสี และการป้องกันพลังงานทางกายภาพอื่น ๆ

10.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการลดเสียงรบกวน

11.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการควบคุมความเครียดจากความร้อน

12.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

13.    ความรู้เกี่ยวกับพิษวิทยาและการเส้นทางสัมผัส

14.    ความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์

15.    ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพและความเข้ากันไม่ได้ของสารเคมี

16.    ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

17.    ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาและการอบรม

18.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงาน

19.    ความรู้เกี่ยวกับการรับสัมผัสของชุมชน

20.    ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจ ความยั่งยืน และการรักษาผลิตภัณฑ์

21.    ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการสัมผัส (Exposure guild line)

22.    ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและประชาชนในการควบคุมที่เลือก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายการประเมินทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงอันตรายจากปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน

1.    การบ่งชี้ความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการป้องกันควบคุม หรือจำเป็นต้องมีแผนรองรับความเสี่ยง

2.    การระบุแนวทางที่ใช้ในการจัดการและควบคุมตามหลัก Hierarchy of Control ได้แก่ การขจัด (Elimination) การแทนที่ (Substitution) การควบคุมด้วยวิธีทางวิศวกรรม (Engineering Control) การบริหารจัดการ (Administration) และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) ตามแต่ลักษณะงาน

3.    การประเมินความเหมาะสมของการใช้แนวทางในการจัดการและควบคุมปัญหาด้านอาชีวสุขศาสตร์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการกำหนดแผนงานการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ