หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-JICN-034B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถกำหนดแผนงานการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25494.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงภายในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 25615.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B308.1 กำหนดแผนงานการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ระบุข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามกฎหมายได้

B308.1.01 149134
B308.1 กำหนดแผนงานการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. ระบุรายการข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามกฎหมายได้

B308.1.02 149135
B308.1 กำหนดแผนงานการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุผู้มีหน้าที่รับผิดชอบและระยะเวลาในการดำเนินการส่งรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามกฎหมายได้ถูกต้อง

B308.1.03 149136
B308.1 กำหนดแผนงานการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. สืบค้นแบบฟอร์มตามกฎหมายหรือแบบฟอร์มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B308.1.04 149137
B308.1 กำหนดแผนงานการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

5. จัดทำแผนงานในการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามกฎหมาย พร้อมกำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาแล้วเสร็จในแต่ละขั้นตอน

B308.1.05 149138
B308.2 รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ระบุเกณฑ์การรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B308.2.01 149139
B308.2 รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. รวมรวมผลการดำเนินงานทางอาชีวสุขศาสตร์ด้านต่างๆ ที่ดำเนินการในช่วงระยะเวลาที่ต้องรายงานผลได้

B308.2.02 149140
B308.2 รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. เปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์กับเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้

B308.2.03 149141
B308.2 รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. ระบุแนวทางในการแก้ไขป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสมกับผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้ พร้อมกำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาแล้วเสร็จ

B308.2.04 149142
B308.2 รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

5. ติดตามผลการดำเนินการแก้ไขป้องกันความเสี่ยงได้

B308.2.05 149143
B308.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. ระบุขอบเขตของการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B308.3.01 149144
B308.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานได้

B308.3.02 149145
B308.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุข้อเสนอแนะจากผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ที่เหมาะสมกับบริบทองค์กรได้

B308.3.03 149146
B308.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B308.3.04 149147
B308.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

5. รายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบได้

B308.3.05 149148

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสารองค์ประกอบด้านอาชีวสุขศาสตร์ รวมถึงการเขียนรายงานและการนำเสนอ

2.    ทักษะการสื่อสารกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

3.    ทักษะการกำหนดระบบการตรวจประเมินผลการดำเนินงาน

4.    ทักษะการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการโครงการ

5.    ทักษะการระบุผู้ชมเป้าหมายที่เหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานระบบบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมและระบบการตรวจประเมิน เช่น ISO14001 และ OHSAS 18001 และ OSHA-VPP 

2.    ความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และสถิติ 

3.    ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กายวิภาค ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ สรีรวิทยา ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทำวิจัยเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายการรายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวสุขศาสตร์

1.    การวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาประเมินเป็นตัวเลขโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และสถิติ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) ซึ่งไม่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น ความรู้สึก และความคิด

2.    การนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการแก้ไขด้านอาชีวสุขศาสตร์ ตามหลักลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (Hierarchy of Control) ได้

3.    การรายงานผลการดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น แบบรายงาน รสส. แบบรายงานสารเคมีอันตราย แบบรายงานผลการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น

4.    การเลือกรูปแบบการรายงานผลการดำเนินงาน เช่น การรายงานด้วยวาจา การรายงานด้วยเอกสาร 

5.    การรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการระบุทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ