หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆ

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-BEFY-029B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักอาชีวสุขศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้และทักษะในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ จากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆของผู้ปฏิบัติงาน สามารถกำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ สามารถตรวจวัดสิ่งแวดล้อมด้านอาชีวสุขศาสตร์ และการประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ของผู้ปฏิบัติงาน รวมไปถึงสามารถสรุปผลการดำเนินการตรวจวัด และประเมินการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ของผู้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร4.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.25445.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3)  พ.ศ.25516.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 7.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25628.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549  9.    กฎกระทรวงแรงงานฯ  กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.255610.    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 256311.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2559 12.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย  พ.ศ. 256013.    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.255614.    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4439 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม15.    ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง ข้อแนะนำการเฝ้าระวังสุขภาพจากพิษสารเคมี กรณีดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีสำหรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices: Thai BEIs) พ.ศ. 255816.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B303.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

1. ระบุกฎหมาย มาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆได้

B303.1.01 149034
B303.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

2. วิเคราะห์ข้อมูลจากการชี้บ่งอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น เพื่อใช้กำหนดวิธีตรวจวัดที่เหมาะสมได้

B303.1.02 149035
B303.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

3. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการตรวจวัด ประเมินและติดตามการจากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆได้

B303.1.03 149036
B303.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

4. กำหนดกลยุทธ์และกลวิธีการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆได้

B303.1.04 149037
B303.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

5. จัดทำแผนงานในการตรวจวัด การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่าง ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆได้

B303.1.05 149038
B303.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

6. ระบุแนวทางในการคัดเลือกผู้ดำเนินการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานได้

B303.1.06 149039
B303.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

7.  กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาเสร็จสิ้นในการดำเนินการของแต่ละกิจกรรมในแผนการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆได้

B303.1.07 149040
B303.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

8. นำเสนอแผนการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้บริหารได้

B303.1.08 149041
B303.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ผลการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

1. กำหนดเทคนิคที่ใช้ในการตรวจวัดได้เหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B303.2.01 149042
B303.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ผลการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

2. กำหนดรูปแบบ วิธีการเก็บตัวอย่างด้านอาชีวสุขศาสตร์ ได้เหมาะสมตามหลักวิชาการได้

B303.2.02 149043
B303.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ผลการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

3. กำหนดพื้นที่ ช่วงเวลา ที่ใช้ในการตรวจวัดและเก็บตัวอย่างด้านอาชีวสุขศาสตร์ ได้เหมาะเหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B303.2.03 149044
B303.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ผลการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

4. เลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การตรวจวัด เก็บตัวอย่าง  และการปรับเทียบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการได้

B303.2.04 149045
B303.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ผลการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

5. ระบุหลักการวิธีในการตรวจวัดและเก็บตัวอย่างด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการได้

B303.2.05 149046
B303.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ผลการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

6. ติดตั้ง ตรวจสอบ และดำเนินการตรวจวัดอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ทั้งแบบพื้นที่และแบบติดตัวบุคคลได้

B303.2.06 149047
B303.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางด้านกายภาพ และเคมี

1. ระบุชนิดของอันตรายที่สัมผัส ช่องทางการรับสัมผัส และกลไกการตอบสนองของร่างกายได้

B303.3.01 149048
B303.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางด้านกายภาพ และเคมี

2. ระบุระดับความเข้มข้นของตัวชี้วัดด้านอาชีวสุขศาสตร์ของการสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานได้

B303.3.02 149049
B303.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางด้านกายภาพ และเคมี

3. เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์จากการตรวจวัดและผลการวิเคราะห์ตัวอย่างกับค่ามาตรฐานหรือกฎหมายได้

B303.3.03 149050
B303.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางด้านกายภาพ และเคมี

4. วิเคราะห์และประเมินการรับสัมผัสอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงานได้

B303.3.04 149051
B303.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางด้านกายภาพ และเคมี

5. วางแผนการตรวจติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ โดยกำหนดความถี่ในการประเมินซ้ำได้ถูกต้องตามกฎหมายและเหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงได้

B303.3.05 149052
B303.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางด้านกายภาพ และเคมี

6. ตรวจติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ตามความจำเป็นและกำหนดเวลาที่ได้วางแผนไว้ได้

B303.3.06 149053
B303.4 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

1. สรุปผลและจัดทำรายงานการประเมินการรับสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

B303.4.01 149054
B303.4 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

2. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการสรุปผลได้

B303.4.02 149055
B303.4 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ และเคมี

3. นำเสนอรายงานผลรายงานการประเมินการรับสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้บริหารทราบได้

B303.4.03 149056

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะและความรู้ในเรื่องการตรวจวัดการสัมผัสอันตรายการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการสัมผัสอันตราย การเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ตัวอย่างด้านกายภาพ และเคมี ได้แก่  การสัมผัสอันตรายทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับ ความสั่นสะเทือน ความเย็น รังสีไม่ก่อไอออน การสัมผัสอันตรายด้านเคมีทางการหายใจ การสัมผัสอันตรายด้านเคมีทางผิวหนังและทางอื่นๆ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2544 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3)  พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2556 ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง ข้อแนะนำการเฝ้าระวังสุขภาพจากพิษสารเคมี กรณีดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีสำหรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices: Thai BEIs) พ.ศ. 2558 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4439 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะเลือกและการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องตรวจมือวัด การวิเคราะห์ผล และการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

2.    ทักษะการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับการเก็บตัวอย่างที่ผ่านมา มาตรการควบคุมที่มีอยู่ รายการวัสดุ กระบวนการทบทวนและการปฏิบัติงาน

3.    ทักษะการใช้เครื่องมือและการสอบเทียบเครื่องมือ

4.    ทักษะการระบุวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสม

5.    ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บตัวอย่าง

6.    ทักษะการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการเก็บตัวอย่างกับมาตรฐาน และแนวทางการปฏิบัติที่ดี

7.    ทักษะการกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและวัสดุชีวภาพ

8.    ทักษะการตรวจวัดเสียงและการสั่นสะเทือน

9.    ทักษะการตรวจวัดปริมาณรังสี

10.    ทักษะการตรวจวัดค่าความร้อน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.    อันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

3.    ความรู้อุตสาหกรรม / สภาพแวดล้อมการทำงาน

4.    กระบวนการผลิตและหน่วยการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม

5.    พิษวิทยา

6.    พิษวิทยาและการเส้นทางสัมผัส

7.    สรีรวิทยาและกายวิภาค

8.    มาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

9.    ระบาดวิทยา

10.    กระบวนการใหม่ / การประเมินสารเคมีใหม่

11.    สถิติ

12.    การสื่อสารความเสี่ยง

13.    วิธีการเก็บตัวอย่างและการใช้เครื่องมือ

14.    การวิเคราะห์ทางเคมี

15.    การออกแบบรูปแบบการศึกษา

16.    เทคโนโลยีการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

17.    วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับละอองลอยในอากาศ

18.    การประยุกต์ใช้ค่าแนะนำของการรับสัมผัส

19.    พิษวิทยาและการเส้นทางสัมผัส

20.    แนวปฏิบัติในการสัมผัส 

21.    การเก็บตัวอย่างอากาศ (สารเคมีและสารชีวภาพ)

22.    เทคนิคในการตรวจวัด (ระบบระบายอากาศ รังสี เสียง ความร้อน ความสั่นสะเทือน)

23.    ค่ามาตรฐานหรือค่าเสนอแนะของการรับสัมผัส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

การตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ ครอบคลุมการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านกายภาพ และเคมี ที่เกี่ยวข้องกับ ความสั่นสะเทือน ความเย็น รังสีไม่ก่อไอออน การสัมผัสอันตรายทางเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ผ่านทางการหายใจ การสัมผัสอันตรายด้านเคมีทางผิวหนังและทางอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2544 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3)  พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวงแรงงานฯ  กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2559 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย  พ.ศ. 2560 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2556 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4439 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม  ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

คำอธิบายรายละเอียด

เทคนิคที่ใช้ การใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล

1.    ตรวจวัด ประเมินอันตรายทางกายภาพ

-    การตรวจวัดอันตรายทางกายภาพด้วยวิธีการทางอาชีวสุขศาสตร์ 

1)    วิเคราะห์ข้อมูลการชี้บ่งอันตราย ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น ข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบกิจการ ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ผ่านมา (ถ้ามี) และข้อมูลจากการคาดการณ์อันตรายอื่นๆ เพื่อวางแผนการตรวจวัด 

2)    วางแผนกลยุทธ์และกลวิธีในการตรวจวัดอันตรายทางกายภาพแต่ละประเภท โดยต้องครอบคลุม การกำหนดวัตถุประสงค์การตรวจวัด การแบ่งกลุ่มที่สัมผัสสารเหมือนหรือใกล้เคียงกัน (SEG/HEG) การกำหนดพื้นที่ตรวจวัดและจำนวนจุดตรวจวัด  

3)    เทคนิคการตรวจวัด ที่ครอบคลุมการเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจวัด การตั้งค่าการตรวจวัดต่างๆ เช่น การเลือกใช้อุปกรณ์วัดแรงสั่นสะเทือนที่สอดคล้องกับแหล่งกำเนิดแรงสั่นสะเทือนและการส่งผ่านแรงตามแนวแกน ตำแหน่งการติดตั้ง pick up 

4)    การเตรียมเครื่องมือตรวจวัดและการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration) 

-    การประเมินและติดตามการรับสัมผัสอันตรายทางกายภาพของผู้ปฏิบัติงาน

1)    การประเมินการรับสัมผัส หรือประเมินความเสี่ยงสุขภาพด้านการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ (HRA) 

2)    ให้ข้อเสนอแนะในการวางแผนการควบคุมอันตราย การตรวจวัดซ้ำ ตามระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ประเมินได้

3)    สรุปรายงานผลการตรวจวัดตามกฎหมายได้

2.    การสัมผัสอันตรายด้านเคมี

-    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การตรวจวัดอันตรายทางเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ผ่านทางการหายใจ ทางผิวหนังและทางอื่น ๆ ด้วยวิธีการทางอาชีวสุขศาสตร์ 

1)    วิเคราะห์ข้อมูลการชี้บ่งอันตราย ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น ข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบกิจการ ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางเคมีที่ผ่านมา (ถ้ามี) และข้อมูลจากการคาดการณ์อันตรายอื่นๆ เพื่อวางแผนการตรวจวัด 

2)    วางแผนกลยุทธ์และกลวิธีในการตรวจวัดสารเคมีชนิดต่างๆ โดยต้องครอบคลุม การกำหนดวัตถุประสงค์การตรวจวัด การแบ่งกลุ่มที่สัมผัสสารเหมือนหรือใกล้เคียงกัน (SEG/HEG) การกำหนดพื้นที่ตรวจวัด การสุ่มจำนวนจุดตรวจวัดตามหลักสถิติ   

3)    การระบุวิธีการตรวจวัดมาตรฐาน เช่น NIOSH Method, OSHA Method หรือวิธีการอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับ

4)    หลักในการตรวจวัดสารเคมีและการเลือก Media ในการตรวจวัด: หลักการกรอง โดยกระดาษกรอง (filter) ประเภทต่างๆ เช่น PVC, MCE หลักการดูดซับสาร เช่น charcoal tube, silica gel tube และหลักการดูดซึมสาร เช่น Impinger และ Media ประเภทอื่นๆ เช่น Sampling bag

5)    เทคนิคการตรวจวัดสารเคมี ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์บริเวณ Breathing Zone ของผู้ปฏิบัติงาน การติดอุปกรณ์แบบพื้นที่และติดตัวบุคคล ข้อควรระวังในการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือ

6)    การเตรียมเครื่องมือตรวจวัดและการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration) ครอบคลุมหลักการและการเลือกอุปกรณ์สอบเทียบเครื่องมือ เช่น bubble meter, wet test, dry gas, rotameter เป็นต้น

7)    การขนส่งตัวอย่าง ไปยังห้องปฏิบัติการ

8)    วิธีมาตรฐานในการวิเคราะห์สารเคมี

-    การประเมินและติดตามการรับสัมผัสอันตรายทางเคมีของผู้ปฏิบัติงาน

1)    การคำนวณระดับความเข้มข้นของสารเคมีที่ผู้ปฏิบัติได้รับในกรณีต่างๆ เช่น TWA จากผลการตรวจวัดแบบพื้นที่ การคำนวณระดับความเข้มข้นสารเคมีในกรณีการทำงานล่วงเวลา การแปลงหน่วยเพื่อเทียบค่ามาตรฐานตามกฎหมาย หรือค่าเสนอแนะต่างๆ

2)    การประเมินการรับสัมผัส หรือประเมินความเสี่ยงสุขภาพด้านการสัมผัสอันตรายทางเคมี (HRA) 

3)    ให้ข้อเสนอแนะในการวางแผนการควบคุมอันตราย การตรวจวัดซ้ำ ตามระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ประเมินได้

4)    สรุปรายงานผลการตรวจวัดตามกฎหมายได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการกำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ จากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆ

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ผลด้านอาชีวสุขศาสตร์ จากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆ

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์ จากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆ

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการสรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดอันตรายด้านอาชีวสุขศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมการทำงานด้านอื่นๆ

        1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ