หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียงและรังสีก่อไอออนของผู้ปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-YXTE-027B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียงและรังสีก่อไอออนของผู้ปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถกำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง และรังสีก่อไอออนของผู้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงานได้  สามารถตรวจวัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง และรังสีก่อไอออน  รวมถึงสรุปผลการดำเนินการตรวจวัดการประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายของผู้ปฏิบัติงานได้  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 25624.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 5.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 25596.    กฎกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 25617.    กฎกระทรวงแรงงานฯ  กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 25478.    กฎกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความมั่นคงปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 25619.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ พ.ศ. 256110.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน พ.ศ. 2561  11.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง พ.ศ. 256112.    ประกาศคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ เรื่อง เกณฑ์ปลอดภัย พ.ศ. 256213.    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4439 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม14.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B301.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน

1.ระบุกฎหมาย มาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง  และรังสีก่อไอออนได้


B301.1.01 148993
B301.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน

2. วิเคราะห์ข้อมูลจากการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น เพื่อใช้กำหนดวิธีตรวจวัดที่เหมาะสม

B301.1.02 148994
B301.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน

3. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพอันตราย ด้านความร้อน แสง เสียง และรังสีก่อไอออนได้

B301.1.03 148995
B301.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน

4. กำหนดกลยุทธ์และกลวิธีการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง และรังสีก่อไอออนได้

B301.1.04 148996
B301.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน

5. จัดทำแผนงานในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง และรังสีก่อไอออนได้

B301.1.05 148997
B301.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน

6. ระบุแนวทางในการคัดเลือกผู้ดำเนินการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมได้

B301.1.06 148998
B301.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน

7. กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาเสร็จสิ้นในการดำเนินการของแต่ละกิจกรรมในแผนการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพได้

B301.1.07 148999
B301.1 กำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงาน

8. นำเสนอแผนการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้บริหารได้

B301.1.08 149000
B301.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่างสารเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง

1. กำหนดเทคนิคที่ใช้ในการตรวจวัดได้เหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อมการทำงาน

B301.2.01 149001
B301.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่างสารเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง

2. เลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การตรวจวัด และการปรับเทียบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการได้

B301.2.02 149002
B301.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่างสารเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง

3. ระบุหลักการและวิธีในการตรวจวัดทางกายภาพได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

B301.2.03 149003
B301.2 ตรวจวัด เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่างสารเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง

4. ติดตั้ง ตรวจสอบ และดำเนินการตรวจวัดอันตรายทางกายภาพ ทั้งแบบพื้นที่และแบบติดตัวบุคคลได้

B301.2.04 149004
B301.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงาน

1. ระบุช่องทางการรับสัมผัส ความถี่และความรุนแรงในการรับสัมผัสของอันตรายทางกายภาพได้

B301.3.01 149005
B301.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงาน

2. คำนวณระดับปริมาณของอันตรายทางกายภาพที่ตรวจวัดได้

B301.3.02 149006
B301.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงาน

3. เปรียบเทียบผลการตรวจวัดกับค่ามาตรฐานตามกฎหมายหรือค่าแนะนำอื่นๆได้

B301.3.03 149007
B301.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงาน

4. วิเคราะห์และประเมินการรับสัมผัสอันตรายทางกายภาพได้

B301.3.04 149008
B301.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงาน

5. วางแผนการตรวจติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ โดยกำหนดความถี่ในการประเมินซ้ำได้ถูกต้องตามกฎหมายและเหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยง

B301.3.05 149009
B301.3 ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายด้านเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงาน

6. ตรวจติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ตามความจำเป็นและกำหนดเวลาที่ได้วางแผนไว้

B301.3.06 149010
B301.4 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดอันตรายทางเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน

1. สรุปผลและจัดทำรายงานการตรวจวัดการสัมผัสอันตรายทางกายภาพได้

B301.4.01 149011
B301.4 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดอันตรายทางเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน

2. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการสรุปผล

B301.4.02 149012
B301.4 สรุปและรายงานผลการดำเนินการตรวจวัดอันตรายทางเคมี ในสถานะก๊าซและของแข็ง ของผู้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน

3. นำเสนอรายงานผลการตรวจวัดและผลการตรวจติดตามการสัมผัสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้บริหารทราบได้

B301.4.03 149013

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะเลือกและการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องตรวจมือวัด การวิเคราะห์ผล และการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

2.    ทักษะการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับการเก็บตัวอย่างที่ผ่านมา มาตรการควบคุมที่มีอยู่ รายการวัสดุ กระบวนการทบทวนและการปฏิบัติงาน

3.    ทักษะการใช้เครื่องมือและการสอบเทียบเครื่องมือ

4.    ทักษะการระบุวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสม

5.    ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บตัวอย่าง

6.    ทักษะการเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการเก็บตัวอย่างกับมาตรฐาน และแนวทางการปฏิบัติที่ดี

7.    ทักษะการตรวจวัดเสียงและการสั่นสะเทือน

8.    ทักษะการตรวจวัดปริมาณรังสี

9.    ทักษะการตรวจวัดค่าความร้อน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.    ความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์

3.    ความรู้เกี่ยวกับอันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

4.    ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม / สภาพแวดล้อมการทำงาน

5.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

6.    ความรู้พื้นฐานทางสถิติ

7.    ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบการศึกษา

8.    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

9.    ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการตรวจวัด (ระบบระบายอากาศ รังสี เสียง ความร้อน ความสั่นสะเทือน)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ได้

การตรวจวัดอันตรายทางกายภาพด้วยวิธีการทางอาชีวสุขศาสตร์ 

1.    วิเคราะห์ข้อมูลการชี้บ่งอันตราย ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น ข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบกิจการ ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ผ่านมา (ถ้ามี) และข้อมูลจากการคาดการณ์อันตรายอื่นๆ เพื่อวางแผนการตรวจวัด 

2.    วางแผนกลยุทธ์และกลวิธีในการตรวจวัดอันตรายทางกายภาพแต่ละประเภท โดยต้องครอบคลุม การกำหนดวัตถุประสงค์การตรวจวัด การแบ่งกลุ่มที่สัมผัสสารเหมือนหรือใกล้เคียงกัน (SEG/HEG) การกำหนดพื้นที่ตรวจวัดและจำนวนจุดตรวจวัด  

3.    เทคนิคการตรวจวัดแสงที่เหมาะสมกับการใช้อาคารและผังระบบแสงสว่าง แบ่งเป็นแบบพื้นที่ แบบเฉพาะจุด การทำ Zeroing Meter ก่อนการตรวจวัด ระดับความสูงของ Sensor กับแนวระนาบ

4.    เทคนิคการตรวจวัดเสียงประเภทต่างๆ อาทิ Noise contour การตรวจเสียงพื้นที่ และการตรวจปริมาณเสียงสะสม การตั้งค่าการตอบสนองเครื่องมือแบบ fast/slow การเลือก weighting network (A/B/Z) การเลือก parameter ในการตรวจวัด (TWA, Leq, Min, Max,Peak)

5.    เทคนิคการตรวจวัดความร้อน WBGT และการคำนวณภาระงานของผู้ปฏิบัติงาน ระดับความสูงในการติดตั้งอุปกรณ์ ระยะเวลาในการอ่านค่า 

6.    เทคนิคการตรวจรังสี่ก่อไอออน การเลือก file badge สำหรับติดตัวบุคคล และการตรวจปริมาณรังสี่แบบพื้นที่

7.    การเตรียมเครื่องมือตรวจวัดและการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration) 

การประเมินและติดตามการรับสัมผัสอันตรายทางกายภาพของผู้ปฏิบัติงาน

1.    การคำนวณค่าระดับความเข้มแสงแบบพื้นที่ และการเลือกตารางหรือรายละเอียดของค่ามาตรฐานแสงสว่าง

2.    การคำนวณระดับความดังเสียงเป็น %Dose TWA เพื่อเทียบกฎหมาย

3.    การคำนวณค่า WBGT ทั้งแบบ indoor และ outdoor

4.    การประเมินการรับสัมผัส หรือประเมินความเสี่ยงสุขภาพทางด้านการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ (HRA) 

5.    ให้ข้อเสนอแนะในการวางแผนการควบคุมอันตราย การตรวจวัดซ้ำ ตามระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ประเมินได้

6.    สรุปรายงานผลการตรวจวัดตามกฎหมายได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการกำหนดแผนงานและกลวิธีในการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง และรังสีก่อไอออนของผู้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง 

และรังสีก่อไอออนตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง และรังสีก่อไอออนของผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการสรุปผลการดำเนินการตรวจวัด และประเมินการสัมผัสอันตรายทางกายภาพ ด้านความร้อน แสง เสียง และรังสีก่อไอออน ของผู้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงาน  

ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ