หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สำรวจเบื้องต้นเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-QHZI-025B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สำรวจเบื้องต้นเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถจัดทำแผนการสำรวจเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน สำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเบื้องต้น และจัดทำรายงานผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงจากการสำรวจเบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.25444.    พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3)  พ.ศ.25515.    พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.25356.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 7.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B103.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

1. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการคาดการณ์ปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นเพื่อกำหนดแนวทางในการสำรวจ

B103.1.01 148970
B103.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

2. ระบุข้อมูลที่ต้องการในการสำรวจเบื้องต้น และจัดทำแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลการสำรวจได้

B103.1.02 148971
B103.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

3. กำหนดพื้นที่ กระบวนการผลิต/กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ และความถี่ในการเข้าสำรวจ

B103.1.03 148972
B103.1 จัดทำแผนการสำรวจเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

4. ระบุแนวทางการสำรวจเบื้องต้น และรูปแบบการบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มเก็บข้อมูลการสำรวจได้

B103.1.04 148973
B103.2 สำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเบื้องต้น

1. ระบุอันตรายและความเสี่ยงจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานในแต่ละกระบวนการผลิต/กิจกรรมได้

B103.2.01 148974
B103.2 สำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเบื้องต้น

2. ระบุข้อสังเกตที่จำเป็นในการเดินสำรวจเบื้องต้นได้

B103.2.02 148975
B103.2 สำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเบื้องต้น

3. ระบุความเสี่ยงในการเดินสำรวจเบื้องต้นซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขโดยด่วน  และรายงานต่อหน่วยงานที่ผิดชอบได้

B103.2.03 148976
B103.2 สำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเบื้องต้น

4. สรุปผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานจากการสำรวจเบื้องต้นได้

B103.2.04 148977
B103.3 จัดทำรายงานผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงจากการสำรวจเบื้องต้น

1. อธิบายข้อมูลลักษณะการรับสัมผัสอันตรายและความเสี่ยงจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่พบจากการสำรวจเบื้องต้นได้

B103.3.01 148978
B103.3 จัดทำรายงานผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงจากการสำรวจเบื้องต้น

2. จัดทำทะเบียนคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงจากการสำรวจเบื้องต้นได้

B103.3.02 148979
B103.3 จัดทำรายงานผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงจากการสำรวจเบื้องต้น

3. "นำเสนอรายงานผลการคาดการณ์อันตรายและความเสี่ยงจากการสำรวจเบื้องต้นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้"


B103.3.03 148980

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ทักษะการแยกข้อมูลที่สำคัญจากวรรณกรรม มาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.ทักษะการรวบรวมสิ่งที่เป็นอันตราย 

3.ทักษะการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดของระบาดวิทยา

4.ทักษะการประเมินข้อมูล

5.ทักษะการประเมินคุณภาพข้อมูล (ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่)

6.ทักษะการสำรวจการปฏิบัติงานและพื้นที่ปฏิบัติงาน

7.ทักษะการคาดการณ์การรับสัมผัส 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.    ความรู้เกี่ยวกับอันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

3.    ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม / สภาพแวดล้อมการทำงาน

4.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

5.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและหน่วยการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม

6.    ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยชุมชน)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายแนวทางและหลักการในการสำรวจเบื้องต้นต่อไปนี้ได้

- Walk through survey

- การระบุลักษณะการรับสัมผัสโดยหลัก 4W1H

- หลักการจำแนกปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงาน

- การใช้เครื่องมืออ่านค่าทันทีประกอบการสำรวจเบื้องต้น เช่น เครื่องวัดแสง เครื่องวัดเสียง เครื่องวัดความเร็วลม

- การระบุ SEG/HEG

- หลักการการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการจัดทำแผนการสำรวจเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการสำรวจสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อยืนยันผลการระบุปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ผลการสำรวจอันตรายและความเสี่ยงเบื้องต้นตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ