หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบโครงการ การเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-DDNL-038B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบโครงการ การเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักอาชีวสุขศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการออกแบบโครงการการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สามารถระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน สามารถระบุแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน รวมไปถึงการประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25624.    กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25495.    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 25636.    ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง ข้อแนะนำการเฝ้าระวังสุขภาพจากพิษสารเคมี กรณีดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีสำหรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices: Thai BEIs) พ.ศ. 25587.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B403.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจวัด ประเมินและติดตามการสัมผัสอันตรายจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงาน

B403.1.01 149180
B403.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

2. ระบุเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้

B403.1.02 149181
B403.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

3. ระบุรายการปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่จำเป็นต้องดำเนินการดำเนินการเฝ้าระวังได้

B403.1.03 149182
B403.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

4. ระบุกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังสุขภาพได้

B403.1.04 149183
B403.1 ระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

5. จัดทำทะเบียนรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้

B403.1.05 149184
B403.2 ระบุแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระดับความเสี่ยงของปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ถูกขึ้นทะเบียนรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงาน

B403.2.01 149185
B403.2 ระบุแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

2. ระบุพื้นที่หรือบริเวณที่จำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานได้

B403.2.02 149186
B403.2 ระบุแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

3. ระบุความถี่ที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานได้

B403.2.03 149187
B403.2 ระบุแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

4. ระบุกลไกการก่ออันตราย การรับและขับออกจากร่างกายของปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ต้องเฝ้าระวังได้

B403.2.04 149188
B403.2 ระบุแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

5. ระบุตัวชี้วัดการรับสัมผัสและการเกิดผลกระทบสุขภาพของปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ต้องเฝ้าระวังได้

B403.2.05 149189
B403.2 ระบุแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

6. ระบุข้อจำกัดของแต่ละประเภทตัวชี้วัดการรับสัมผัสและการเกิดผลกระทบสุขภาพได้

B403.2.06 149190
B403.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

1. กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบในการกำหนดโครงการการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

B403.3.01 149191
B403.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

2. วิเคราะห์แนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานของปัญหาของแต่ละปัจจัยได้

B403.3.02 149192
B403.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

3. สืบค้นข้อมูล กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้

B403.3.03 149193
B403.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

4. ระบุแนวทางและเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ดำเนินการเฝ้าระวังสุขภาพที่เหมาะสมได้

B403.3.04 149194
B403.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

5. สรุปแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับลักษณะอันตรายและบริบทของสภาพแวดล้อมการทำงานได้

B403.3.05 149195
B403.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

6. ระบุแนวทางในการดำเนินการในกรณีที่ผลการเฝ้าระวังอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง

B403.3.06 149196
B403.3 ประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

7. นำเสนอโครงการการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบได้

B403.3.07 149197

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง ข้อแนะนำการเฝ้าระวังสุขภาพจากพิษสารเคมี กรณีดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีสำหรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices: Thai BEIs) พ.ศ. 2558 และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการออกแบบการควบคุมอันตราย (การระบายอากาศ เสียง การสั่นสะเทือน รังสี และ PPE)

2.    ทักษะการเลือกใช้ PPE ที่เหมาะสม

3.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีในการลดการรับสัมผัส

4.    ทักษะการออกแบบระบบควบคุม

5.    ทักษะการแปรผลทางด้านวิศวกรรมและการให้ข้อเสนอแนะทางวิศวกรรม

6.    ทักษะการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากเทคโนโลยีการควบคุม

7.    ทักษะการพัฒนานโยบาย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การควบคุมอันตรายทางชีวภาพ, เคมี, กายภาพ และการยศาสตร์

2.    เทคโนโลยีการผ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

3.    กลุ่มคนที่ได้รับการสัมผัส

4.    แนวทางการรับสัมผัส

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กฎกระทรวงแรงงานฯ กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง ข้อแนะนำการเฝ้าระวังสุขภาพจากพิษสารเคมี กรณีดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีสำหรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices: Thai BEIs) พ.ศ. 2558 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

คำอธิบายรายละเอียด

เทคนิคที่ใช้ การใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล

โครงการการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม

1.    การระบุปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจัดทำโครงการเฝ้าระวังทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

2.    การกำหนดมาตรการเฝ้าระวังทางสุขภาพที่เหมาะสม เช่น รายการตรวจสุขภาพที่จำเป็น  biological of effect ของแต่ละปัจจัยอันตราย ระยะเวลาหรือความถี่ในการตรวจติดตาม รายการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงที่กฎหมายกำหนด

3.    การกำหนดมาตรการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น parameter ที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง วิธีการในการเฝ้าระวัง หรือตรวจติดตาม รวมถึงความถี่ในการเฝ้าระวัง

4.    การนำโครงการเฝ้าระวังทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การออกแบบมาตรการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการระบุรายการความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการระบุแนวทางในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการประเมินแนวทางที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ