หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดมาตรการและดำเนินโครงการป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-UHCQ-016B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดมาตรการและดำเนินโครงการป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องการกำหนดมาตรการและดำเนินโครงการป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย สามารถกำหนดมาตรการและนำเสนอมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กร สามารถดำเนินการตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กร และการติดตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กร รวมไปถึงการรายงานความก้าวหน้ามาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 2.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 3.    ISO 22301 : มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ 4.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 5.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A402.1 กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

1. ระบุระดับความเสี่ยงที่ต้องจัดการตามเกณฑ์การจัดการระดับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ได้

A402.1.01 148218
A402.1 กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

2. ระบุมาตรการจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกับสาเหตุการเกิดได้ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ

A402.1.02 148219
A402.1 กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

3. ระบุผู้รับผิดชอบและกำหนดระยะเวลาในการจัดการความเสี่ยงที่ตรงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบได้

A402.1.03 148220
A402.1 กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

4. บันทึกการจัดการความเสี่ยงลงในแบบฟอร์มแผนการจัดการความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

A402.1.04 148221
A402.2 นำเสนอมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

1. นำเสนอมาตรการจัดการความเสี่ยงตามแบบฟอร์มแผนการจัดการความเสี่ยงให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้

A402.2.01 148222
A402.2 นำเสนอมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

2. ปรับปรุงมาตรการจัดการความเสี่ยงตามแบบฟอร์มแผนการจัดการความเสี่ยงตามที่ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องได้

A402.2.02 148223
A402.2 นำเสนอมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

3. ประชุมชี้แจงมาตรการจัดการความเสี่ยงตามแบบฟอร์มแผนการจัดการความเสี่ยงที่ได้รับอนุมัติให้ผู้ที่รับผิดชอบในการนำแผนไปปฏิบัติได้

A402.2.03 148224
A402.3 ดำเนินการตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

1. ปฏิบัติตามมาตรการจัดการความเสี่ยงที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มแผนการจัดการความเสี่ยงให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

A402.3.01 148225
A402.3 ดำเนินการตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

2. แจ้งปัญหาอุปสรรคที่พบจากการดำเนินการตามมาตรการจัดการความเสี่ยงที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มแผนการจัดการความเสี่ยง

A402.3.02 148226
A402.4 ติดตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

1. กำหนดแผนในการติดตามความก้าวหน้าของมาตรการจัดการความเสี่ยงที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มแผนการจัดการความเสี่ยง

A402.4.01 148227
A402.4 ติดตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

2. ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าของมาตรการจัดการความเสี่ยงตามความถี่ที่กำหนดไว้ในแผน

A402.4.02 148228
A402.4 ติดตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

3. ตรวจสอบประสิทธิผลของมาตรการจัดการความเสี่ยงที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มแผนการจัดการความเสี่ยง

A402.4.03 148229
A402.4 ติดตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

4. แก้ไข ปัญหาอุปสรรคที่พบจากการติดตามความก้าวหน้ามาตรการจัดการความเสี่ยง

A402.4.04 148230
A402.5 รายงานความก้าวหน้า มาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

1. สรุปผลการติดตามความก้าวหน้าของมาตรการจัดการความเสี่ยง

A402.5.01 148231
A402.5 รายงานความก้าวหน้า มาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

2. จัดทำรายงานความก้าวหน้ามาตรการจัดการความเสี่ยง

A402.5.02 148232
A402.5 รายงานความก้าวหน้า มาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

3. นำเสนอรายงานความก้าวหน้ามาตรการจัดการความเสี่ยงให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทราบ

A402.5.03 148233
A402.5 รายงานความก้าวหน้า มาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

4. สื่อสารรายงานความก้าวหน้ามาตรการจัดการความเสี่ยงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

A402.5.04 148234

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 22301 : มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการเป็นผู้นำการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างละเอียดครอบคลุมทุกด้าน (Leading comprehensive risk assessments)

2.    ทักษะในการเป็นผู้นำการวิเคราะห์ภัยคุกคามและจุดอ่อน (Leading threat and vulnerability assessments)

3.    ทักษะในการอำนวยการในการวิเคราะห์อันตรายด้านกระบวนการผลิตทางเคมี (Facilitating chemical process hazard analyses)

4.    ทักษะในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่รากเหง้าของปัญหา (Conducting root cause analyses)

5.    ทักษะในการประมาณความเสี่ยงต่อองค์กร (Estimating organizational risk)

6.    ทักษะในการประมาณความเสี่ยงต่อสาธารณะ (Estimating public risk)

7.    ทักษะในการใช้สถิติเพื่อประมาณความเสี่ยง (Using statistics to estimate risk)

8.    ทักษะในการตีความ ทำความเข้าใน แผน ข้อกำหนด แบบแปลน และแผนผังการผลิต (Interpreting plans, specifications, technical drawings, and process flow diagrams

9.    ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอรายงาน (Using business software to present reports) 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การวางแผนความต่อเนื่องของธุรกิจและแผนสำรอง (Business continuity and contingency planning)

2.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

3.    เทคนิคและวิธีการวัด (measurement) การชักตัวอย่าง (sampling) และการวิเคราะห์ (analysis)

4.    แหล่งข้อมูลในการค้นหาอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) เช่นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ (published literature)

5.    การหาแหล่งข้อมูลเรื่องอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

6.    แหล่งของข้อมูลด้านกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานการทำงานที่เป็นที่ยอมรับ (Sources of related to local laws, regulations, and consensus codes and standards)information

7.    ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กายวิภาค ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ สรีรวิทยา (Basic sciences: anatomy, biology, chemistry, physics, physiology)

8.    ความปลอดภัยภาคเกษตรกรรม รวมทั้งความปลอดภัยด้านการผลิตอาหาร (Agriculture safety - including food supply safety)

9.    ระบบความคุมความปลอดภัย (System safety)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคง อันตรายจากการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินสาธารณะหรือทรัพย์สินขององค์กร จากการดำเนินการของโรงงาน หรือจากสินค้าที่ผลิตโดยบริษัท หรือระบบ กระบวนการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ โดยวิธีการประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ภัยคุกคามและจุดอ่อน 



คำอธิบายรายละเอียด

วิเคราะห์ชี้บ่งมาตรการป้องกัน ความเสี่ยงของธุรกิจ (Business Risk Assessment) ได้แก่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง ด้านอันตรายจากการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินสาธารณะหรือทรัพย์สินขององค์กร และความเสี่ยงจากการดำเนินการของโรงงาน หรือจากสินค้าที่ผลิตโดยบริษัท หรือระบบ กระบวนการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือการบริการ เป็นส่วนที่สำคัญของบูรณาการงานด้านอาชีวอนามัยและการบริหารองค์กร

กำหนดมาตรการและดำเนินโครงการป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย ครอบคลุมการดำเนินการจำนวน 6 ด้าน ได้แก่

1. ความเสี่ยงทางกลยุทธ์ (Strategic Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงานและนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก

2. ความเสี่ยงการดำเนินงาน (Operational Risk) คือ ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือขาดธรรมาภิบาลในองค์กรและขาดการควบคุมที่ดี ประเภทความเสี่ยงปฏิบัติการ ได้แก่

1)    ความเสี่ยงจากบุคลากร (People Risk)

2)    ความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงาน (Process Risk)

3)    ความเสี่ยงทางเทคโนโลยี (Technology Risk)

4)    ความเสี่ยงจากเหตุปัจจัยภายนอก (External)

3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) 

4. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (Compliance Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นอุปสรรคการปฏิบัติงาน

5. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหรือสมมติฐานทางธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อความสามารถการแข่งขัน โดยเฉพาะความเสี่ยงในการลงทุน

6. ความเสี่ยงทางชื่อเสียง (Reputation Risk) เกิดจากการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรเช่น การร้องเรียนเรื่องคุณภาพสินค้าหรือการไม่ยอมรับของชุมชน 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2    เครื่องมือประเมินการนำเสนอมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการดำเนินการตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการ ติดตามมาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.5 เครื่องมือประเมินการรายงานความก้าวหน้ามาตรการจัดการความเสี่ยงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัย

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ