หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คาดการณ์เพื่อระบุผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-WCLD-023B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คาดการณ์เพื่อระบุผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถรวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระบุคุณลักษณะของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 3.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B101.1 รวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

1. ระบุข้อมูลที่แสดงลักษณะเฉพาะของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานแต่ละประเภทได้

B101.1.01 148951
B101.1 รวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2. ระบุแหล่งสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานแต่ละประเภทได้

B101.1.02 148952
B101.1 รวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3. วิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นจากคุณลักษณะเฉพาะของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานแต่ละประเภทได้

B101.1.03 148953
B101.2 ระบุคุณลักษณะของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

1. ระบุสถานะและลักษณะการกระจายตัวของสารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานแต่ละประเภทได้

B101.2.01 148954
B101.2 ระบุคุณลักษณะของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

2. ระบุช่องทางการรับสารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานเข้าสู่ร่างกายได้

B101.2.02 148955
B101.2 ระบุคุณลักษณะของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

3. ระบุอวัยวะเป้าหมายและผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้ถูกต้อง

B101.2.03 148956
B101.3 คาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

1. ระบุผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานแต่ละประเภทได้

B101.3.01 148957
B101.3 คาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2. ประเมินระดับความรุนแรงต่อสุขภาพของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานแต่ละประเภทได้

B101.3.02 148958
B101.3 คาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3. เปรียบเทียบระดับความรุนแรงต่อสุขภาพของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานแต่ละประเภทได้

B101.3.03 148959

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ทักษะการแยกข้อมูลที่สำคัญจากวรรณกรรม มาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.ทักษะการรวบรวมสิ่งที่เป็นอันตราย 

3.ทักษะการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดของระบาดวิทยา

4.ทักษะการประเมินข้อมูล

5.ทักษะการประเมินคุณภาพข้อมูล (ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่)

6.ทักษะการคาดการณ์การรับสัมผัส 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.    ความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์

3.    ความรู้เกี่ยวกับอันตรายทางชีวภาพ / เคมี / กายภาพ / การยศาสตร์

4.    ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม / สภาพแวดล้อมการทำงาน

5.    ความรู้เกี่ยวกับพิษวิทยา

6.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน / แนวปฏิบัติ

7.    ความรู้เกี่ยวกับระบาดวิทยา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ได้

- คุณลักษณะจำเพาะของสารเคมี รังสี และปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานทุกด้าน

- ข้อมูลการขึ้นทะเบียนสารเคมีและวัตถุอันตราย

- ข้อมูลคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมี (จุดเดือด จุดหลอมเหลว สถานะ ความดันไอ ความถ่วงจำเพาะ ความหนาแน่นไอ 

- ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี 

- Route of exposure

- ผลกระทบสุขภาพ และเกิดโรค

- ความรุนแรงของการเกิดโรค ใช้ความรู้และทักษะดังต่อไปนี้ ในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการรวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการระบุคุณลักษณะของปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2. ผลข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ