หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-CPRV-021B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องกฎหมาย การกำหนดแผนประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมาย การประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมาย และการรายงานการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายทางด้านความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 5.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A407.1 กำหนดแผนประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย

1. จัดทำรายการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายได้

A407.1.01 148917
A407.1 กำหนดแผนประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย

2. กำหนดทีมหรือผู้รับผิดชอบในการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายได้

A407.1.02 148918
A407.1 กำหนดแผนประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย

3. กำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายได้

A407.1.03 148919
A407.1 กำหนดแผนประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย

4. กำหนดหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบที่จะรับการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายได้

A407.1.04 148920
A407.1 กำหนดแผนประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย

5. กำหนดแบบฟอร์มใช้ในการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายได้

A407.1.05 148921
A407.2 ดำเนินการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. ระบุแหล่งข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ งานวิจัย หรือวรรณกรรมได้

A407.2.01 148922
A407.2 ดำเนินการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. ระบุกฎหมาย มาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A407.2.02 148923
A407.2 ดำเนินการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. ระบุรายละเอียดของกฎหมาย มาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A407.2.03 148924
A407.2 ดำเนินการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4. ระบุบทลงโทษ ตามข้อกำหนดกฎหมายได้

A407.2.04 148925
A407.2 ดำเนินการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. เปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติภายในสถานประกอบการเปรียบเทียบกับกฎหมายหรือมาตรฐานที่กำหนดได้

A407.2.05 148926
A407.2 ดำเนินการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

6. นำเสนอผลการตรวจประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายแก่ผู้เกี่ยวข้องที่เข้ารับการตรวจประเมิน

A407.2.06 148927
A407.3 รายงานการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย

1. รวบรวมรายงานผลการตรวจประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A407.3.01 148928
A407.3 รายงานการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย

2. จัดทำรายงานผลการตรวจประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A407.3.02 148929
A407.3 รายงานการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย

3. นำเสนอผลการตรวจประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A407.3.03 148930

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 และISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Internet)

2.    ทักษะการคำนวณทางสถิติจากแหล่งข้อมูล (Calculating statistics from data sources)

3.    ทักษะในการใช้โปรแกรมการจัดการข้อมูล (Using data management software)

4.    ทักษะการใช้สถิติเพื่อกำหนดการเปรียบเทียบและมาตรฐานการดำเนินงาน (Using statistics to define benchmarks and performance standards)

5.    ทักษะในการวิเคราะห์ข้อกำหนด กฎหมาย (Evaluate regulatory requirements) 

6.    ทักษะในการตีความข้อกำหนด กฎหมาย (Interpreting law and regulations)

7.    ทักษะในการชี้บ่งอันตรายโดยการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Qualitative, quantitative) การประเมินความเสี่ยงเชิงนิรนัยและอุปนัย (deductive, and inductive risk assessment methods

8.    ทักษะในการทำความเข้าใจ (Interpreting) แผนงาน ข้อกำหนด (specifications) แบบ (drawings) และผังแสดงกระบวนการผลิต (process flow diagrams)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and statistics)

2.    โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

3.    ความรู้ด้านวิธีการย้ายข้อมูล Electronic และทางเลือกในการเก็บข้อมูล (data storage options

4.    ความรู้ด้านเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Electronic (data logging and monitoring equipment)

5.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย 

สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

การปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการนำวิธีการปฏิบัติที่ดีด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมมาบูรณาการอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาความปลอดภัย ในสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิผล

โดยผู้เข้ารับการประเมินจะต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายเกี่ยวกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัย 

สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้เทคนิคในการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย ดังนี้

1.การตรวจประเมิน audits

2.การทบทวนเอกสาร บนทัก document and/or records review,

3.การตรวจสอบสถานประกอบการ facility inspections,

4.การสัมภาษณ์ interviews,

5.การทบทวนงาน โครงการ project or work reviews,

6.การสุ่มทดสอบ/การวิเคราะห์ ต่างๆ

7.การเข้าสำรวจสถานประกอบการ หรือ

8.สังเกตโดยตรง facility tour and/or direct observation



เทคนิคการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอาชีวสุขศาสตร์ โดยใช้เทคนิค

1.การตรวจประเมิน 

2.การทบทวนเอกสาร 

3.การตรวจสอบสถานประกอบการ 

4.การสัมภาษณ์ 

5.การทบทวนงานหรือโครงการ 

6.การสุ่มทดสอบ/การวิเคราะห์ผลต่าง ๆ

7.การเข้าสำรวจสถานประกอบการ หรือการสังเกตการณ์ทำงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการกำหนดแผนประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการรายงานการประเมินความสอดคล้องของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ