หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-KSXM-017B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องการกำหนดวิธีการหรือช่องทางในการสื่อสาร การอบรม การแนะนำกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านความปลอดภัย สามารถชี้บ่งประเภทข้อมูลด้านความปลอดภัย และจัดทำสื่อด้านความปลอดภัย รวมไปถึงการตรวจสอบประสิทธิผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 5.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. กำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสาร

A403.1.01 148847
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. ระบุแหล่งข้อมูลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้

A403.1.02 148848
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. รวบรวมข้อมูลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับการสื่อสารทั้งหมดได้

A403.1.03 148849
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4. อธิบายลักษณะข้อมูลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับการสื่อสารได้

A403.1.04 148850
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. ระบุช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการได้

A403.1.05 148851
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

6. ระบุผู้รับข้อมูลได้

A403.1.06 148852
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

7. ระบุความถี่ในการสื่อสารได้

A403.1.07 148853
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

8. ระบุงบประมาณค่าใช้จ่ายในการสื่อสารได้

A403.1.08 148854
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ระบุข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นจากการสื่อสารได้

A403.1.09 148855
A403.1 วางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

10. สรุปวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการได้

A403.1.10 148856
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. ระบุรูปแบบสื่อสำหรับการสื่อสารได้

A403.2.01 148857
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. ออกแบบสื่อสำหรับการสื่อสารได้

A403.2.02 148858
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. กำหนดเนื้อหาของสื่อสำหรับการสื่อสารได้

A403.2.03 148859
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4. สร้างสื่อสำหรับการสื่อสารได้

A403.2.04 148860
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. เลือกใช้เทคนิคการแสดงสื่อสำหรับการสื่อสาได้

A403.2.05 148861
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

6. ระบุหลักการและแนวทางการสื่อสารได้

A403.2.06 148862
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

7. ระบุรายละเอียดของข้อมูลสำหรับการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้

A403.2.07 148863
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

8. ระบุรายละเอียดของเทคนิควิธีการสื่อสารได้

A403.2.08 148864
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. เลือกวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องได้

A403.2.09 148865
A403.2 ดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

10. สื่อสารข้อมูลตามช่องทางและความถี่ให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยได้

A403.2.10 148866
A403.3 อบรมพนักงานผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

1. ระบุกำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรมได้ (Training need analysis) 

A403.3.01 148867
A403.3 อบรมพนักงานผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

2. ระบุแผนการฝึกอบรมได้ (Training plan)

A403.3.02 148868
A403.3 อบรมพนักงานผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

3. กำหนดหัวข้อ (Topic) และเนื้อหา (Content) การฝึกอบรมได้

A403.3.03 148869
A403.3 อบรมพนักงานผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

4. ระบุแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A403.3.04 148870
A403.3 อบรมพนักงานผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

5. สาธิตวิธีการหรือแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A403.3.05 148871
A403.4 ตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสาร

1. ระบุวิธีการตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสารได้

A403.4.01 148872
A403.4 ตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสาร

2. ระบุช่วงเวลาการตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสารได้

A403.4.02 148873
A403.4 ตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสาร

3. รวบรวมสรุปผลการสื่อสารได้

A403.4.03 148874
A403.4 ตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสาร

4. ตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสารได้

A403.4.04 148875
A403.4 ตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสาร

5. นำเสนอสรุปผลประสิทธิผลของการสื่อสารได้

A403.4.05 148876

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย"


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการวิเคราะห์อันตราย (hazard analyses)

2.    การสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา (Communicating with subject matter experts)

3.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Internet)

4.     ทักษะทำการวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม (Performing training needs assessments

5.     ทักษะพัฒนาแผนการอบรม (Developing training programs)

6.     ทักษะพัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินการฝึกอบรม (Developing training assessment instruments

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    วิธีการการวิเคราะห์ อันตราย (Hazard analysis methods)

2.    การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Qualitative, quantitative) การประเมินความเสี่ยง เชิงนิรนัยและอุปนัย (deductive, and inductive risk assessment methods)

3.    เทคนิคและวิธีการประเมินโรงงาน สิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก (facilities) ผลิตภัณฑ์ (products)ระบบ (systems) กระบวนการผลิต (processes) และอุปกรณ์เครื่องมือ

4.    โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

5.     การสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Communicating with subject matter experts)

6.     พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

7.    พฤติกรรมกลุ่ม (Group dynamics)

8.    วิธีการอบรม (Training methods)

9.    เครื่องมือประเมินการอบรม เช่น ข้อสอบ และการประเมินทักษะ (Training assessment instruments e.g., written tests, skill assessments)

10.    วิธีการจัดการการศึกษาและการอบรม (Education and training methods)

11.     การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal communications)

12.     ความรู้ด้านกลยุทธ์การนำเสนอ (Presentation strategies) การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน ภาวะวิกฤติ และหายนะ (Emergency/crisis/disaster management)"


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย 

สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงให้เห็นถึงทักษะและความรู้ในการฝึกสอน (Coaching) พนักงานผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการโน้มน้าวให้นำวิธีการจัดการความเสี่ยงมาใช้โดยใช้การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal communications) โดยในการอบรมและการสื่อสารจะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง โดยการสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบถึงภาระความรับผิดชอบเหล่านี้ และจัดการอบรมแก่ผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกคน เทคนิคการนำเสนองาน การอบรม สอนงาน โดยใช้เทคนิคดังต่อไปนี้

1. Self-analysis questionnaires

2. Facilitation & debriefs :

3. Story Teller :

4. One-to-one and group discussions

5. Brainstorming :

6. Workshop :

7. Group Activity

8. Videos :

9. Exercises & Games

10. Individual reflection

11. Case study analysis

12. Individual action plans


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการวางแผนการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2 สอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2 สอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการอบรมพนักงานผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

        2 สอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบประสิทธิผลของการสื่อสารตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

     2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ