หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-PJQT-010B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล ความรู้เกี่ยวกับการประเมินเบื้องต้น สมารถจัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และดำเนินการประเมินและติดตาม รวมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 5.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A303.1 จัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. รวบรวมมาตรการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์จากแบบฟอร์มการสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ได้

A303.1.01 147588
A303.1 จัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. รวบรวมมาตรการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานได้

A303.1.02 147589
A303.1 จัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. ระบุสิ่งที่ต้องประเมินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A303.1.03 147590
A303.1 จัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4. จัดทำทะเบียนการติดตามการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A303.1.04 147591
A303.2 ดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1. "ระบุวิธีการประเมินผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ได้"

A303.2.01 147592
A303.2 ดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. ดำเนินการติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ตามกำหนดระยะเวลากำหนดเสร็จได้

A303.2.02 147593
A303.2 ดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. ระบุการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ที่มีประสิทธิผลให้ผู้ที่รับผิดชอบได้เข้าใจได้

A303.2.03 147594
A303.2 ดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4. ระบุการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน ให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจได้

A303.2.04 147595
A303.2 ดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. ตรวจสอบหลักฐานของผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A303.2.05 147596
A303.2 ดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

6. ระบุรายละเอียดผลการติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันลงในทะเบียนการติดตามการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A303.2.06 147597
A303.2 ดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

7. จัดเก็บทะเบียนผลการติดตามการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

A303.2.07 147598
A303.3 รายงานผลการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือกรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

1. "รวบรวมผลการติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action)

A303.3.01 147599
A303.3 รายงานผลการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือกรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

2. และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้"

A303.3.02 147600
A303.3 รายงานผลการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือกรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

3. จัดทำรายงานผลการวิเคราะห์การติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของทั้งบริษัท ได้

A303.3.03 147601
A303.3 รายงานผลการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือกรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

4. นำเสนอรายงานผลการวิเคราะห์การติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของทั้งบริษัทให้ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องได้

A303.3.04 147602

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการนำการสืบค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ (incident investigations)

2.     ทักษะในการสัมภาษณ์ ถามคำถามผู้เห็นเหตุการณ์ (Interviewing witnesses to incidents)

3.    ทักษะในการทำความเข้าใจ (Interpreting) แผนงาน ข้อกำหนด (specifications) แบบ (drawings) และผังแสดงกระบวนการผลิต (process flow diagrams)

4.    การหาแหล่งข้อมูลเรื่องอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

5.    ทักษะในการพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานของโครงการ (Developing systems to track project implementation)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities)

2.    ความรู้ด้านเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Electronic (data logging and monitoring equipment)

3.    โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล (Data management software)

4.    ความรู้ด้านวิธีการย้ายข้อมูล Electronic และทางเลือกในการเก็บข้อมูล (data storage options

5.     การป้องกันข้อมูล (Information security) และข้อกำหนดด้านเก็บความลับ (confidentiality)

6.    กลยุทธ์ในการนำเสนอ (Presentation strategies)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย 

สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

การประเมินความเสี่ยง เป็นข้อกำหนดที่สำคัญของมาตรฐานการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างถูกต้องและเหมาะสม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ในมาตรา มาตรา 32 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ 

    1) จัดให้มีการประเมินอันตราย

    2) ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง

    3) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

    4) ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดำเนินงานและแผนการควบคุมตาม (1) (2) และ (3) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ประเภทกิจการ ขนาดของกิจการที่ต้องดำเนินการ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและได้รับการรับรองผลจากผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    “ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วย มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการตรวจประเมินความปลอดภัยกระบวนการผลิต ในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559” กำหนดในข้อ 29/12 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดทำการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตทั้งหมด วิธีการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตให้เป็นระบบและเหมาะสมต่อความซับซ้อนของกระบวนการผลิต โดยสามารถชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ครอบคลุมถึงการจัดเก็บ การใช้ การผลิต และการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายร้ายแรงได้ดังต่อไปนี้ 

    1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องลำดับความสำคัญของอันตราย และจัดทำเอกสารสำหรับวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต โดยให้พิจารณาจากขอบเขตของอันตรายในกระบวนการผลิต จำนวนพนักงานที่อาจได้รับผลกระทบ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องจักร และกระบวนการผลิต ตลอดจนประวัติการเดินเครื่องจักรในกระบวนการผลิต 

    2) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องใช้อย่างน้อยหนึ่งวิธีตามความเหมาะสม เพื่อชี้บ่งอันตราย วิเคราะห์และประเมินอันตรายกระบวนการผลิต ดังนี้ 

1. What-if 

2. Checklist 

3. What-if/Checklist

4. Hazard and Operability Study (HAZOP) 

5. Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) 

6. Fault Tree Analysis 

7. วิธีอื่นที่เทียบเท่าหรือดีกว่าตามความเหมาะสม 

    3) การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม อย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 

1. อันตรายจากกระบวนการผลิตและการทางานที่เกี่ยวข้อง

2. การชี้บ่งอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง หรือผลกระทบที่สำคัญต่อพนักงานและสถานประกอบการ 

3. การควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการที่ใช้ควบคุมการเกิดอันตราย และสิ่งที่เกี่ยวกับอันตราย เช่น วิธีการที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการตรวจจับเพื่อเตือนเหตุล่วงหน้า วิธีการในการตรวจจับที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งอาจรวมถึงการเฝ้าระวังกระบวนการผลิต และการควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสัญญาณเตือนและอุปกรณ์ในการตรวจจับ เช่น เครื่องตรวจจับไฮโดรคาร์บอน เป็นต้น

4. ผลจากความล้มเหลวของการควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการ 5. การวางตําแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ เครื่องจักร และอาคารทั้งหมดของผังโรงงาน

6. ปัจจัยด้านบุคคล เช่น ข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ความไม่สมบูรณ์ด้านสุขภาพ ของพนักงาน

7. การประเมินผลกระทบเชิงคุณภาพด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพที่อาจจะ เกิดขึ้นกับพนักงานในสถานประกอบการในกรณีที่การควบคุมล้มเหลว 

    4) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีคณะทำงานวิเคราะห์อันตรายอย่างน้อย 3 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต พนักงานที่มี ความรู้และประสบการณ์ด้านกระบวนการวิเคราะห์และประเมินอันตราย และพนักงานที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

    5) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีระบบในการจัดการกับสิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะทำงานวิเคราะห์อันตราย เพื่อให้ข้อเสนอแนะนั้นได้รับการแก้ไขได้ทันเวลา และมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุถึงแผนการดําเนินงาน ผู้รับผิดชอบและกําหนดวันแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังจะต้องแจ้งให้ฝ่ายปฏิบัติการบำรุงรักษาและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ที่อาจได้รับ ผลกระทบจากคำแนะนำและการดําเนินงานนั้นด้วย 

    6) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องปรับปรุงข้อมูลการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตให้เป็นปัจจุบัน โดยให้ดําเนินการอย่างน้อยทุก 5 ปี หรือเมื่อมีการขยายหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิม ที่มีอยู่ ทั้งนี้ การปรับปรุงข้อมูลการวิเคราะห์อันตรายให้จัดทำโดยคณะทำงานวิเคราะห์อันตรายตาม (4) 

    7) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดเก็บเอกสารการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตไว้ตลอด ระยะเวลาที่กระบวนการผลิตนั้นยังใช้งานอยู่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมินการจัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.2    เครื่องมือประเมินการดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการรายงานผลการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือกรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ