หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WPS-LELN-008B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล ความรู้เกี่ยวกับการประเมินเบื้องต้น การเดินสำรวจ การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง การจัดทำรายงานประเมินความเสี่ยง สามารถชี้บ่งและประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นของอันตรายในทะเบียนจากข้อมูลการเดินสำรวจและข้อมูลเกี่ยวข้องที่มีอยู่ และจัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25542.    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3.    กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 4.    ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 5.    ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 6.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒7.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย8.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย9.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน10.    ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๕๓

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A301.1 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

1. กำหนดวัตถุประสงค์การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้

A301.1.01 147525
A301.1 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

2. ระบุข้อมูลที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้

A301.1.02 147526
A301.1 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

3. สืบค้นข้ออันตรายต่อสุขภาพจากข้อมูลวิจัย วรรณกรรมอื่นๆ หรือจากสถานประกอบกิจการลักษณะเดียวกัน

A301.1.03 147527
A301.1 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

4. ระบุขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้

A301.1.04 147528
A301.1 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

5. กำหนดเทคนิค วิธีการที่ใช้ในประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้

A301.1.05 147529
A301.1 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

6. เลือกใช้เครื่องมือ ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้

A301.1.06 147530
A301.2 ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

1. วิเคราะห์ความเสี่ยงและอันตรายด้านความปลอดภัยได้

A301.2.01 147531
A301.2 ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

2. ระบุรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้

A301.2.02 147532
A301.2 ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

3. ระบุโอกาสในการเกิดอันตรายที่ชี้บ่งไว้ทั้งหมดได้

A301.2.03 147533
A301.2 ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

4. ระบุความรุนแรงของอันตรายที่ชี้บ่งไว้ทั้งหมดได้

A301.2.04 147534
A301.2 ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

5. ระบุผลลัพธ์ในการประเมินความเสี่ยงจากโอกาส และความรุนแรงของอันตรายที่ชี้บ่งไว้ทั้งหมดได้

A301.2.05 147535
A301.2 ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

6. ระบุระดับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้

A301.2.06 147536
A301.3 จัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

1. รวบรวมผลการประเมินความเสี่ยงได้

A301.3.01 147537
A301.3 จัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

2. ระบุแนวทางในการป้องกันเสี่ยงด้านความปลอดภัย

A301.3.02 147538
A301.3 จัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

3. สรุปผลการประเมินความเสี่ยงงด้านความปลอดภัยได้

A301.3.03 147539
A301.3 จัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

4. ตรวจสอบความถูกต้องของผลการประเมินความเสี่ยงได้

A301.3.04 147540
A301.3 จัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

5. นำเสนอผลการประเมินความเสี่ยงกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้

A301.3.05 147541
A301.4 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. กำหนดวัตถุประสงค์การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

A301.4.01 147542
A301.4 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. ระบุข้อมูลที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

A301.4.02 147543
A301.4 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุข้อมูลลักษณะการรับสัมผัสปัจจัยอันตรายแต่ละประเภท

A301.4.03 147544
A301.4 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. สืบค้นข้ออันตรายต่อสุขภาพจากข้อมูลวิจัย วรรณกรรมอื่นๆ หรือจากสถานประกอบกิจการลักษณะเดียวกัน

A301.4.04 147545
A301.4 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

5. ระบุขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

A301.4.05 147546
A301.4 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

6. กำหนดเทคนิค วิธีการที่ใช้ในประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

A301.4.06 147547
A301.4 วางแผนประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

7. เลือกใช้เครื่องมือ ประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

A301.4.07 147548
A301.5 ดำเนินประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

1. เลือกเทคนิคในการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้

A301.5.01 147549
A301.5 ดำเนินประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

2. อธิบายเกณฑ์และขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้ถูกต้อง

A301.5.02 147550
A301.5 ดำเนินประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

3. ระบุอันตรายและระดับความถี่ในการรับสัมผัสปัจจัยอันตรายได้ถูกต้องตามลักษณะการปฏิบัติงาน

A301.5.03 147551
A301.5 ดำเนินประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

4. ระบุระดับความเข้มข้นจากข้อมูลการตรวจวัดด้านอาชีวสุขศาสตร์ได้

A301.5.04 147552
A301.5 ดำเนินประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

5. ระบุระดับความรุนแรงของแต่ละประเภทอันตรายได้

A301.5.05 147553
A301.5 ดำเนินประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

6. ระบุระดับการรับสัมผัสอันตรายแต่ละประเภทได้

A301.5.06 147554
A301.5 ดำเนินประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์

7. ระบุระดับความเสี่ยงของอันตรายแต่ละประเภทได้

A301.5.07 147555
A301.6 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

1. ระบุระดับเสี่ยงต่อสุขภาพจากผลการประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้

A301.6.01 147556
A301.6 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

2. ระบุกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงเหมือนหรือคล้ายคลึงกันของแต่ละปัจจัยอันตรายได้

A301.6.02 147557
A301.6 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

3. เปรียบเทียบระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีการรับสัมผัสในลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันของแต่ละปัจจัยอันตรายได้

A301.6.03 147558
A301.6 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

4. จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงได้

A301.6.04 147559
A301.6 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

5. สรุปผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในแต่ละปัจจัยอันตรายได้

A301.6.05 147560
A301.7 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

1. จัดเตรียมข้อมูลรายงานผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพเบื้องต้นได้

A301.7.01 147561
A301.7 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

2. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้

A301.7.02 147562
A301.7 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

3. จัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นพร้อมระบุความถี่ในการประเมินซ้ำที่เหมาะสมกับอันตรายแต่ละประเภท

A301.7.03 147563
A301.7 รายงานผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น

4. สื่อสารผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้

A301.7.04 147564

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

และกฎหมายด้านอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 

1.    พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒

2.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

3.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

4.    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน

5.    ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๕๓


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการเป็นผู้นำการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างละเอียดครอบคลุมทุกด้าน (Leading comprehensive risk assessments)

2.    ทักษะในการเป็นผู้นำการวิเคราะห์ภัยคุกคามและจุดอ่อน (Leading threat and vulnerability assessments)

3.    ทักษะในการวิเคราะห์อันตรายในการทำงาน และวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน (job safety analyses and task analyses)

4.    ทักษะในการค้นหาจุดอ่อน ข้อบกพร่อง ทั้งจากภายในและภายนอก (external and internal threats) ที่จะมีผลกระทบต่อสถานประกอบการ ระบบควบคุม กระบวนการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือ

5.    ทักษะในการอำนวยการในการวิเคราะห์อันตรายด้านกระบวนการผลิตทางเคมี (Facilitating chemical process hazard analyses)

6.    ทักษะในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่รากเหง้าของปัญหา (Conducting root cause analyses)

7.    ทักษะในการประมาณความเสี่ยงต่อองค์กร (Estimating organizational risk)

8.    ทักษะในการประมาณความเสี่ยงต่อสาธารณะ (Estimating public risk)

9.    ทักษะในการประมาณความเสี่ยงที่เกิดจากความผิดพลาดของคน (Estimating the risk of human error)

10.    ทักษะในการใช้สถิติเพื่อประมาณความเสี่ยง (Using statistics to estimate risk)

11.    ทักษะในการตีความ ทำความเข้าใน แผน ข้อกำหนด แบบแปลน และแผนผังการผลิต (Interpreting plans, specifications, technical drawings, and process flow diagrams

12.    เทคนิคและวิธีการวัด (measurement) การชักตัวอย่าง (sampling) และการวิเคราะห์ (analysis)

13.    Work routines/work environments 

14.    Education and training 

15.    Work practices 

16.    Community exposure 

17.    Business impacts, sustainability and product stewardship 

18.    Exposure guidelines

19.    Impact of the environment and people on the controls selected

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ในวิธีการการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ นิรนัย และอุปนัย (Qualitative, quantitative, deductive, and inductive risk assessment methods)

2.    เทคนิคและวิธีการประเมินโรงงาน สิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก (facilities) ผลิตภัณฑ์ (products)ระบบ (systems) กระบวนการผลิต (processes) และอุปกรณ์เครื่องมือ

3.    วิธีการการเกิดเหตุการณ์ (Root cause analysis methods)

4.    ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กายวิภาค ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ สรีรวิทยา (Basic sciences: anatomy, biology, chemistry, physics, physiology)

5.    พฤติกรรมองค์กรและพฤติกรรมศาสตร์ (Organizational and behavioral sciences)

6.    ความรู้ด้านการเปรียบเทียบและมาตรฐานการดำเนินงาน (Benchmarks and performance standards)

7.    ความรู้มาตรฐานระบบบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมและระบบการตรวจประเมินเช่น ISO14001 และ OHSAS 18001 และ OSHA-VPP (Safety, health, and environmental management and audit systems (e.g., ANSI/AIHA Z10, ISO 14000 series, OHSAS 18000 series, ISO 19011, U.S. Occupational Safety and Health Administration Voluntary Protection Programs)

8.    การวิเคราะห์งาน Job safety analysis and task analysis methods

9.    Hierarchy of controls 

10.    Ventilation design (local exhaust, dilution and HVAC) 

11.    Basic math and sciences 

12.    Aerosol science 

13.    Industrial processes and unit operations 

14.    Controls of biological, chemical, physical and ergonomic hazards 

15.    Hazardous material and remediation response 

16.    Principles of radiation and other physical energy protection (time, distance, shielding) 

17.    Principles of noise and noise abatement 

18.    Principles of thermal stressor control 

19.    PPE (protection factors, protective clothing, permeability/degradation, NRR) 12. Toxicology and routes of entry 

20.    Physiology and anatomy 

21.    Physical properties and chemical incompatibility


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายความสำคัญและเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและ

2.    สามารถอธิบายความสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยและแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และด้านสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้

3.    สามารถอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ของประเทศไทยได้

4.    มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ

5.    มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ



คำอธิบายรายละเอียด

ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถใช้เทคนิควิธีการต่อไปนี้ในการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นของอันตรายในทะเบียน

1.    การประเมินเบื้องต้น

2.    การเดินสำรวจ

3.    การชี้บางอันตราย

4.    การประเมินความเสี่ยง

5.    การจัดทำรายงานประเมินความเสี่ยง

     โดยในการการประเมินความเสี่ยง เป็นข้อกำหนดที่สำคัญของมาตรฐานการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างถูกต้องและเหมาะสม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ในมาตรา มาตรา 32 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ 

    1) จัดให้มีการประเมินอันตราย

    2) ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง

    3) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

    4) ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดำเนินงานและแผนการควบคุมตาม (1) (2) และ (3) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ประเภทกิจการ ขนาดของกิจการที่ต้องดำเนินการ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและได้รับการรับรองผลจากผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน



“ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วย มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการตรวจประเมินความปลอดภัยกระบวนการผลิต ในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559” กำหนดในข้อ 29/12 ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดทำการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตทั้งหมด วิธีการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตให้เป็นระบบและเหมาะสมต่อความซับซ้อนของกระบวนการผลิต โดยสามารถชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ครอบคลุมถึงการจัดเก็บ การใช้ การผลิต และการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายร้ายแรงได้ดังต่อไปนี้ 

    1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องลำดับความสำคัญของอันตราย และจัดทำเอกสารสำหรับวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต โดยให้พิจารณาจากขอบเขตของอันตรายในกระบวนการผลิต จำนวนพนักงานที่อาจได้รับผลกระทบ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องจักร และกระบวนการผลิต ตลอดจนประวัติการเดินเครื่องจักรในกระบวนการผลิต 

    2) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องใช้อย่างน้อยหนึ่งวิธีตามความเหมาะสม เพื่อชี้บ่งอันตราย วิเคราะห์และประเมินอันตรายกระบวนการผลิต ดังนี้ 

1. What-if 

2. Checklist 

3. What-if/Checklist

4. Hazard and Operability Study (HAZOP) 

5. Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) 

6. Fault Tree Analysis 

7. วิธีอื่นที่เทียบเท่าหรือดีกว่าตามความเหมาะสม 

    3) การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม อย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 

1. อันตรายจากกระบวนการผลิตและการทางานที่เกี่ยวข้อง

2. การชี้บ่งอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง หรือผลกระทบที่สำคัญต่อพนักงานและสถานประกอบการ 

3. การควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการที่ใช้ควบคุมการเกิดอันตราย และสิ่งที่เกี่ยวกับอันตราย เช่น วิธีการที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการตรวจจับเพื่อเตือนเหตุล่วงหน้า วิธีการในการตรวจจับที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งอาจรวมถึงการเฝ้าระวังกระบวนการผลิต และการควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสัญญาณเตือนและอุปกรณ์ในการตรวจจับ เช่น เครื่องตรวจจับไฮโดรคาร์บอน เป็นต้น

4. ผลจากความล้มเหลวของการควบคุมทางด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการ 

5. การวางตำแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ เครื่องจักร และอาคารทั้งหมดของผังโรงงาน

6. ปัจจัยด้านบุคคล เช่น ข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ความไม่สมบูรณ์ด้านสุขภาพ ของพนักงาน

7. การประเมินผลกระทบเชิงคุณภาพด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพที่อาจจะ เกิดขึ้นกับพนักงานในสถานประกอบการในกรณีที่การควบคุมล้มเหลว 

    4) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีคณะทำงานวิเคราะห์อันตรายอย่างน้อย 3 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต พนักงานที่มี ความรู้และประสบการณ์ด้านกระบวนการวิเคราะห์และประเมินอันตราย และพนักงานที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

    5) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดให้มีระบบในการจัดการกับสิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะทำงานวิเคราะห์อันตราย เพื่อให้ข้อเสนอแนะนั้นได้รับการแก้ไขได้ทันเวลา และมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุถึงแผนการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบและกำหนดวันแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังจะต้องแจ้งให้ฝ่ายปฏิบัติการบำรุงรักษาและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ที่อาจได้รับ ผลกระทบจากคำแนะนำและการดําเนินงานนั้นด้วย 

    6) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องปรับปรุงข้อมูลการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตให้เป็นปัจจุบัน โดยให้ดําเนินการอย่างน้อยทุก 5 ปี หรือเมื่อมีการขยายหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิม ที่มีอยู่ ทั้งนี้ การปรับปรุงข้อมูลการวิเคราะห์อันตรายให้จัดทำโดยคณะทำงานวิเคราะห์อันตรายตาม (4) 

    7) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องจัดเก็บเอกสารการวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิตไว้ตลอด ระยะเวลาที่กระบวนการผลิตนั้นยังใช้งานอยู่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการวางแผนประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.2  เครื่องมือประเมินการดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมินการจัดทำรายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมินการวางแผนประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.5 เครื่องมือประเมินการดำเนินประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวสุขศาสตร์ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.6 เครื่องมือประเมินการสรุปผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์

18.7 เครื่องมือประเมินการรายงานผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. ผลข้อสอบข้อเขียน

    2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ